การรักษาโรค PTSD

โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีการตรวจอย่างไร รักษาอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

การรักษาโรค PTSD ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะช่วยบรรเทาอาการของโรคและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้

โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (Post-traumatic stress disorder; PTSD) เป็นภาวะทางจิตเวชที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยจะมีการตอบสนองต่อการรักษาได้หลากหลายรูปแบบ

ผู้ป่วยโรค PTSD บางคนหายจากโรคนี้หลังได้รับการรักษาเพียงหกเดือน ในขณะที่บางคนจะมีอาการของโรคนี้ไปตลอดชีวิตโดยส่วนมาก โรค PTSD มักรักษาด้วยการให้ยา การทำจิตบำบัด หรือการทำทั้งสองอย่างควบคู่กัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้ยาเพื่อรักษาโรค PTSD          

ยาที่มักใช้ในการรักษา PTSD ได้แก่

ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressants)ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลโดยยาที่มักใช้ในการรักษาโรค PTSD ได้แก่ Paxil (paroxetine) และ Zoloft (sertraline) ซึ่งยาสองตัวนี้อาจส่งให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ ง่วงซึม กระสับกระส่าย หรือความต้องการทางเพศลดลง การรักษาด้วยยาประเภทนี้จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงของการคิดฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็ก กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยหนุ่มสาวได้

  • ยารักษาภาวะวิตกกังวล (Anti-anxiety drugs) ยาจำพวกนี้สามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกวิตกกังวลและความเครียด และมักจะไม่ใช้ในระยะยาว เพราะอาจทำให้มีการใช้ยาในทางที่ผิด
  • ยาระงับอาการทางจิต (Antipsychotics)บางครั้งอาจมีการจ่ายยาจำพวกนี้ให้กับผู้ป่วย PTSD เพื่อควบคุมอาการที่รุนแรงบางอย่าง ซึ่งยาระงับอาการทางจิตอาจเพิ่มความเสี่ยงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาวะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ ,ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
  • Minipress (prazosin)บางครั้งอาจมีการจ่ายยาตัวนี้เพื่อลดอาการฝันร้ายต่อเนื่องหรืออาการนอนไม่หลับโดยอาการข้างเคียงของยาตัวนี้ได้แก่ ง่วงซึม อ่อนเพลีย ปวดหัว และคลื่นไส้

การทำจิตบำบัดโรค PTSD โดยการพูดคุย

การทำจิตบำบัด หรือการบำบัดโดยการพูดคุย เป็นวิธีการรักษาที่พบบ่อย โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะใช้วิธีการพูดคุยเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งการบำบัดวิธีนี้มีทั้งที่เป็นการพูดคุยแบบตัวต่อตัว และแบบกลุ่ม

ผู้ป่วยอาจเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีการแบบเดียว หรือแพทย์อาจเลือกใช้วิธีการหลายแบบผสมกันก็ได้ โดยวิธีการต่างๆ ของการทำจิตบำบัด ได้แก่

  • การให้เผชิญกับภาวะที่กลัว(Exposure therapy) การบำบัดวิธีนี้จะให้ผู้ป่วยได้เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
  • การใช้จินตภาพ(Mental imagery) การเขียน หรือการกลับไปยังสถานที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งอาจช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญหน้าและควบคุมความกลัวของตนเองได้
  • ผู้ป่วยอาจใช้เครื่อง Virtual reality (สภาวะเสมือนจริงจำลอง) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปยังสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังกล่าว
  • การปรับเปลี่ยนความคิด(Cognitive restructuring)การบำบัดวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเห็นเหตุการณ์รุนแรงดังกล่าวได้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น ซึ่งอาจช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความทรงจำบางอย่างที่เข้าใจยาก
  • การฝึกการป้องกันความเครียด(Stress inoculation training)การรักษาวิธีนี้จะสอนให้ผู้ป่วยลดอาการวิตกกังวลโดยการมองกลับไปยังความทรงจำในด้านบวก
  • Eye movement desensitization and reprocessing (EMDR) การรักษาวิธีนี้เป็นการผสมผสาน exposure therapy เข้ากับการกลอกตาไปมาซ้ำๆเป็นชุดๆ โดยเป้าหมายคือการช่วยให้ผู้ป่วยประมวลความทรงจำที่รุนแรงและเปลี่ยนแปลงการตอบสนองต่อความทรงจำเหล่านั้น

วิธีอื่น ๆ ในการรักษาโรค PTSD

วิธีการต่อไปนี้อาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองเพื่อรับมือกับอาการของโรค PTSD ได้ดีขึ้น

  • ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี โดยรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามหลีกเลี่ยงนิโคตินและคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารที่อาจทำให้อาการของโรค PTSD แย่ลงกว่าเดิม
  • เข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือ (Support group) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดี โดยใช้วิธีการทำความรู้จักกับคนอื่นๆ ที่อาจมีประสบการณ์หรือพบเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์ของผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาด้วยตนเอง เพราะการใช้ยาด้วยตนเองหรือการใช้แอลกอฮอล์อาจจะขัดขวางการรักษาอาการของผู้ป่วยและอาจนำไปสู่ปัญหาเพิ่มเติมในอนาคต
  • ทำตามแผนการรักษา โดยอาจจะต้องใช้เวลาสักพักก่อนที่การทำจิตบำบัดหรือการใช้ยาจะช่วยบรรเทาอาการของโรค PTSD ได้ และอย่าลืมทำอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอาจจะไม่เห็นผลทันใจอย่างที่ต้องการก็ตาม

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Post-traumatic stress disorder (PTSD) - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/post-traumatic-stress-disorder-ptsd/treatment/)
PTSD: Five effective coping strategies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319824)
Post-traumatic stress disorder (PTSD) - Diagnosis and treatment. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/post-traumatic-stress-disorder/diagnosis-treatment/drc-20355973)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป