ป้องกันเพื่อตัวคุณเอง!

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 12 นาที
ป้องกันเพื่อตัวคุณเอง!

ทุกคนต่างเป็นผู้รับผิดชอบต่อสุขภาพและพฤติกรรมทางเพศของตน 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน ซึ่งหมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปากโดยไม่ สวมใส่ถุงยางอนามัย คุณไม่อาจแน่ใจได้ตลอดเวลาว่า คู่นอนของคุณมีสุขภาพดีหรือไม่ แม้เขาหรือเธออาจกล่าวอ้างเช่นนั้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายโรคอาจไม่แสดงอา การใดๆ เลย ดังนั้น ผู้ที่เป็นพาหะอาจไม่รู้ตัวว่าเขาหรือเธอมีเชื้ออยู่ 

หากมีความเป็นไปได้ว่าคุณจะติดเชื้อ ควรหาโอกาสเข้ารับการตรวจวินิจฉัย โรคกลุ่ม STD นี้สามารถวินิจฉัยได้ผ่านการตรวจเท่านั้น และโปรดจำาไว้ว่า คู่นอนของคุณจะต้อง เข้ารับการตรวจด้วยเช่นกัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคกลุ่ม STD ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ มากมาย เช่น การ ติดเชื้อต่างๆ ปัญหาข้อต่อกระดูก และการเป็นหมันในชายและหญิง

ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ! สิ่งสำาคัญ เกี่ยวกับเรื่องนี้คือจะต้องหาถุงยางอนามัยที่เหมาะกับคุณและคู่นอน วิธีเดียวที่จะทราบ ได้ว่าถุงยางอนามัยแบบใดที่เหมาะสม คือ ผ่านการลองผิดลองถูก หากถุงยางอนามัยมีขนาดใหญ่เกินไปอาจลื่นหลุดได้ง่าย ถุงยางอนามัยที่เล็กเกินไปฉีกขาดง่าย ถุงยางอนามัยมีจำาหน่ายในหลากหลายขนาด รูปร่าง และรสชาดตามร้านค้า ร้านค้าออนไลน์ และร้านขายยา

คุณควรใช้เจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคนกับถุงยางอนามัย สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความสุขสมและช่วยให้ถุงยางและเยื่อบุผิวเกาะติดกัน การป้องกันตัวจากโรค STD ขณะมีเพศสัมพันธ์ทางปากเป็นสิ่งสำาคัญไม่แพ้กัน ถุงยางอนามัยจะปกป้องคุณจากการติดเชื้อระหว่างการอมอวัยวะเพศชาย คุณควรใช้อุปกรณ์ป้องกันสำาหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก เช่น แผ่นยางอนามัย หากคุณทำาการเลียอวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนัก (การใช้ปากเพื่อกระตุ้นช่องคลอดหรือทวารหนัก) อุปกรณ์ป้องกันสำาหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางปากสามารถหาซื้อได้ 

นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำาอุปกรณ์ป้องกันสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางปากด้วยตนเองได้โดยใช้ถุงยางอนามัย :

  1. ใช้กรรไกรตัดส่วนปลายของถุงยางอนามัยออก
  2. สอดกรรไกรลงในถุงยางและตัดให้แผ่ออก 
  3. คลี่ถุงยางออกเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม
  4. วางแผ่นยางบนช่องคลอดหรือทวารหนักก่อนจะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ทางปาก

วิธีการใช้ถุงยางอนามัย:

  1. ตรวจดูอายุการใช้งาน
  2. เปิดห่อถุงยางอนามัยด้วยความระมัดระวังตามภาพตัวอย่าง ดูให้แน่ใจว่าคุณคลี่ถุงยางออกในทิศทางที่ถูกต้อง
  3. จับให้หนังหุ้มปลายองคชาติเลื่อนไปด้านหลัง ใช้นิ้วมือบีบไล่ฟองอากาศออกจากกระเปาะตรงปลายถุงยาง รูดถุงยางอนามัยลงสวมอวัยวะเพศที่แข็งตัวแล้ว ห้ามสวมถุงยางอนามัย 2 ถุงพร้อมกัน ตรวจดูอายุการใช้งาน
  4. ใช้เจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคน หากจำาเป็น นี่เป็นสิ่งที่ต้องทำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  5. สวมถุงยางอนามัยตลอดระยะเวลาที่มีเพศสัมพันธ์และห้ามนำกลับมาใช้ซ้ำ
  6. เลื่อนอวัยวะเพศออกทันทีหลังจากการหลั่งน้ำเชื้อ จับถุงยางอนามัยไว้ขณะเลื่อนอวัยวะเพศออกเพื่อป้องกันถุงยางหลุด ซึ่งจะทำให้น้ำเชื้อเข้าสู่ร่างกายของคู่นอนได้
  7. ทิ้งถุงยางอนามัยพร้อมกับขยะภายในบ้านได้ตามปกติ  อย่าทิ้งถุงยางลงในโถชักโครก

เอชไอวีและเอดส์

เอชไอวี (HIV) หรือ ฮิวแมน อิมมูโนเดฟิเชียนซี ไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์อ่อนแอลง ฮิวแมน อิมมูโนเดฟิเชียนซี ไวรัสตัวนี้จะบุกรุกเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดและทำลายเซลล์เหล่านั้น เนื่องจากสามารถกลายพันธุ์ได้ ทำให้ไวรัสนี้กำจัดโดยการรักษาด้วยยาได้ยาก เมื่อผู้ป่วยมีผลตรวจ HIV เป็น positive ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาจะค่อยๆ อ่อนแอลงและหากไม่ได้รับยารักษา ก็สามารถพัฒนาเป็นโรคอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้โดยง่าย 

หากไม่ใช้ยารักษาเชื้อ HIV สามารถพัฒนาไปเป็นโรคเอดส์ได้ (กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม) เอชไอวีและเอดส์เป็นคนละสิ่งกัน คือ ไม่ใช่ทุกการติดเชื้อเอชไอวีที่พัฒนาไปเป็นเอดส์ มีการกล่าวไว้ว่า ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีจะเป็นโรคเอดส์เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาถูกทำาลายอย่างร้ายแรงและพัฒนาไปเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเอชไอวีที่ร้ายแรง เช่น โรคปอดบวมหรือการติดเชื้อทางปอดชนิดอื่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ การติดเชื้อที่ต่อมน้ำาลาย หรือการติดเชื้อราที่หลอดอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดสำหรับเชื้อเอชไอวี แต่่การรักษาทางการแพทย์สามารถหยุดหรือชะลอการแพร่กระจายของไวรัสในร่างกายและพยุงระบบภูมิคุ้มกันได้ หมอจะตรวจและประเมินอาการของผู้ป่วยแต่ละรายก่อนระบุวิธีการรักษา การรักษาทางการแพทย์สำหรับเชื้อเอชไอวีจะต้องทำต่อเนื่องตลอดชีวิต

การรับเชื้อเอชไอวีเกิดขึ้นได้อย่างไร?

HIV หรือฮิวแมน อิมมูโนเดฟิเชียนซี ไวรัส เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ยาก ไวรัสชนิดนี้ไม่แพร่กระจายทางอากาศหรือการสัมผัส แต่ติดต่อผ่านของเหลวในร่างกายหรือเลือด

ช่องทางการติดเชื้อเอชไอวีหลัก:

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนักกับผู้ที่ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน การมีเพศสัมพันธ์ทางปากกับผู้ที่ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน
  • ผู้ร่วมมีเพศสัมพันธ์รับเอาน้ำคัดหลั่งจากช่องคลอด อสุจิ หรือน้ำเลี้ยงอสุจิเข้าไปในปากของเขาหรือเธอทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ การถ่ายเลือดหรือการปลูกถ่ายอวัยวะที่มีการปนเปื้อน
  • การใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา หรืออุปกรณ์ฉีดยาอื่นๆ ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อ HIV positive
  • จากแม่สู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ คลอดบุตร หรือให้นมบุตรด้วยน้ำนมแม่่

การตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีี

เชื้อเอชไอวีวินิจฉัยด้วยการทดสอบสารภูมิต้านทานต่อเอชไอวี (HIV antibody test) เชื้อจะตรวจพบได้ภายใน 1-3 เดือนหลังจากมีการติดต่อ โดยการเจาะตัวอย่างเลือดจาก ปลายนิ้วหรือแขนข้างใดข้างหนึ่ง ในฟินแลนด์ มีบริการตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีโดยศูนย์สุขภาพทุกแห่ง มูลนิธิเอชไอวี และสภากาชาดฟินแลนด์ หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีเชื้อเอชไอวี เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจ! การรับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดหลังจากติดเชื้อทำให้คุณดูแลสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้นและป้องกันไม่ให้ติดต่อไปยังผู้อื่น การรับรู้ว่ามีเชื้อเอชไอวีอาจทำให้เกิดความกลัวตาย การเป็นหมัน การเสียใบอนุญาตขอมีถิ่นที่อยู่ หรือการถูกปฏิเสธจากครอบครัวหรือชุมชน  

ในประเทศฟินแลนด์ การติดเชื้อเอชไอวีไม่มีผลกระทบต่อใบอนุญาตขอมีถิ่นที่อยู่

การรักษา

การติดเชื้อเอชไอวีเป็นอาการป่วยต่อเนื่องที่จำเป็นต้องรับการรักษาและควบคุมดูแล การรักษาการติดเชื้อเอชไอวี คือ การใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งมักประกอบด้วยยาต้านไวรัสที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ยาจะชะลอการขยายจำานวนของไวรัสและป้องกันเซลล์ที่มีสุขภาพดีจากการติดเชื้อ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันกลับเป็นปกติและหยุดการเจริญเติบโตของโรค

การรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันมักประสบความสำเร็จในการลดปริมาณการแพร่เชื้อและจัดการกับการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีโอกาสพัฒนาเป็นเอดส์ การรักษาจะทำให้อายุยืนยาวขึ้นรวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ยาที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถกำจัดไวรัสออกจากร่างกายได้อย่างสมบูรณ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคหนองในเทียม (CHLAMYDIA)

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

โรคหนองในเทียมติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และทางปากซึ่งไม่มีการป้องกัน โรคนี้ติดต่อจากอวัยวะเพศไปยังดวงตาได้โดยผ่านมือสัมผัสอาการของโรค

อาการของโรค

ผู้ป่วยอาจพบอาการภายใน 10-14 วันหลังการติดเชื้อ แต่บ่อยครั้งที่หนองในเทียมจะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยมากหรือไม่แสดงอาการเลย 

อาการที่อาจพบในเพศหญิง: ตกขาวไม่ปกติ ปวดแสบขณะปัสสาวะ ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ และเจ็บท้องหรือหลังช่วงล่าง 

อาการที่อาจพบในเพศชาย: ปวดแสบขณะปัสสาวะ น้ำอสุจิจากท่อปัสสาวะเป็นสีเทา และเจ็บท้องหรืออัณฑะ

หนองในเทียมที่ไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบในเพศหญิง และเป็นสาเหตุของภาวะข้อต่ออักเสบและอาการเป็นหมันทั้งในเพศชายและเพศหญิง

คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?

ประมาณ 1-2 สัปดาห์ตั้งแต่รับเชื้อ

หนองในเทียมตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างปัสสาวะ โปรดทราบ! หนองในเทียมที่ทวารหนักหรือลำคอ ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้จากตัวอย่างปัสสาวะ หากผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ทาง ทวารหนักหรือทางปากโดยไม่ป้องกัน ต้องเก็บตัวอย่างหนองในเทียมจากทวารหนักหรือช่องคอ

การรักษา

ยาปฏิชีวนะและการตรวจติดตามผล

การป้องกัน

ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัยจะช่วยปกป้องคุณระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางปาก สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก คุณควรเสริมประสิทธิภาพการใช้ถุงยางอนามัยด้วยเจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคน

โรคหนองใน (Gonorrhoea)

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

โรคหนองในติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และทางปากซึ่งไม่มีการป้องกัน โรคนี้ติดต่อจากอวัยวะเพศไปยังดวงตาได้ผ่านมือ

อาการของโรค

อาการจะปรากฏภายใน 2-14 วันหลังการติดเชื้อ แต่ก็อาจไม่แสดงอาการใดๆ ได้เช่นกัน 

อาการของโรคหนองในอาจมีความปวดแสบขณะปัสสาวะ เป็นต้น ผู้หญิงอาจเจ็บปวดจากอาการต่างๆ เช่น ตกขาวมากขึ้นและมีอาการปวดหน้าท้องส่วนล่าง ขณะที่ผู้ชายอาจรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น น้ำอสุจิมีสีเหลืองเข้ม และมีอาการปวดเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัว 

โรคหนองในสามารถทำให้เยื่อบุตาอักเสบมีการติดเชื้อผ่านทางมือสัมผัส โรคหนองในที่ไม่มีการป้องกันสามารถทำให้เป็นหมันได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิ

คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?

ประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ 

โรคหนองในตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างปัสสาวะ โปรดทราบ! โรคหนองในที่ทวารหนักหรือ ลำคอไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้จากตัวอย่างปัสสาวะ หากผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือทางปากโดยไม่ป้องกัน ต้องเก็บตัวอย่างหนองในจากทวารหนักหรือช่องคอ

การรักษา

ยาปฏิชีวนะและการตรวจติดตามผล

การป้องกัน

ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัยจะช่วยปกป้องคุณระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางปาก สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก คุณควรเสริมประสิทธิภาพการใช้ถุงยางอนามัยด้วยเจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคน

โรคซิฟิลิส (SYPHILIS)

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

โรคซิฟิลิสติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก และทางปากซึ่งไม่มีการป้องกัน

อาการของโรค

อาการระยะเริ่มต้นจะปรากฏภายใน 3-6 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ แต่บางคนอาจไม่มีอาการที่เห็นได้ชัดในระยะเริ่มต้น 

อาการระยะเริ่มต้นของโรคซิฟิลิสคือเกิดแผลเปื่อยขอบแข็งโดยไม่รู้สึกเจ็บบริเวณที่เชื้อเข้าไป เช่น อวัยวะเพศ ในปาก หรือทวารหนัก และต่อมน้ำเหลืองโตตรงที่ติดเชื้อ อาการเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ

อาการระยะที่สองจะปรากฏภายใน 2-4 เดือนหลังจากเริ่มอาการระยะแรก โดยจะมีอาการไข้ ต่อมน้ำาเหลืองโต ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาการบนผิวหนังหลายแบบ 

อาการระยะที่สองของโรคซิฟิลิสจะปรากฏอยู่ประมาณ 6 เดือนหากปล่อยไว้ไม่รักษา และนำไปสู่ระยะแอบแฝง ผู้ป่วยหลายรายมีอาการระยะที่สามนานหลายปีหลังจากติดเชื้อ

โรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษาจะนำไปสู่โรคซิฟิลิสระยะที่สามในกลุ่มผู้ป่วย 20-30% ซึ่งทำลายระบบประสาทส่วนกลางและระบบการไหลเวียนต่างๆ 

คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?

ประมาณ 3-6 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ

การรักษา

ยาปฏิชีวนะและการตรวจติดตามผล

การป้องกัน

ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัยจะช่วยปกป้องคุณระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางปาก สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก คุณควรเสริมประสิทธิภาพการใช้ถุงยางอนามัยด้วยเจลหล่อลื่นชนิดน้ำหรือซิลิโคน

โรคหูดหงอนไก่ (GENITAL WARTS)  

โรคหูดหงอนไก่เกิดจากไวรัสพาพิลโลมาในมนุษย์ (Human Papillomavirus; HPV)

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

โรคหูดหงอนไก่ติดต่อผ่านการสัมผัสทางเพศและเยื่อบุผิว ความเสี่ยงในการติดเชื้อลดลงได้ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย

อาการของโรค

เม็ดหูดใสเล็กๆ บนเยื่อบุผิวของอวัยวะเพศซึ่งอาจเพิ่มโตขึ้นเป็นกระจุกคล้ายดอกกระหล่ำาขนาดใหญ่ อาการต่างๆ อาจรวมไปถึงความปวดแสบขณะปัสสาวะ มีเลือดออกทางปัสสาวะ ผิวบวมหรือเยื่อบุผิวเป็นเมือก และมีอาการคัน

ระยะแอบแฝงจากการติดเชื้อไปจนถึงการแสดงออกของอาการต่างๆ อาจใช้เวลาหลายเดือนจนถึงหลายปี

คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?

เมื่อเริ่มมีอาการ

การรักษา

ไม่มีการรักษาให้หายขาดสำหรับไวรัสพาพิลโลมาในมนุษย์ (HPV) วัตถุประสงค์ของการรักษาคือ เพื่อทำลายอาการของเชื้อที่มองเห็นและช่วยระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัส วิธีการรักษารวมไปถึงสารและครีมที่มีในประเทศ การศัลยกรรมด้วยความเย็นจัดโดยใช้ไนโตรเจนเหลว และการตัดด้วยเลเซอร์

การป้องกัน

มีวัคซีนต้านทานไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ชนิดที่พบมากที่สุด วัคซีนนี้มีจำหน่ายที่ร้านขายยาตามคำสั่งแพทย์ วัคซีนนี้ใช้ไม่ได้ผลหากคุณติดเชื้อแล้ว ด้วยเหตุนี้ คุณจึงต้องรับวัคซีนก่อนที่จะมีการสัมผัสทางเพศครั้งแรก นอกจากนี้ การใช้ถุงยางอนามัยเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันที่แนะนำ 

ไวรัสพาพิลโลมาบางชนิดอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ในบริเวณปากมดลูกของเพศหญิง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกหากปล่อยไว้โดยไม่รับการรักษา ด้วยเหตุนี้ การตรวจคัดกรองโรคแบบ Pap smear จึงสำคัญสำหรับผู้หญิงที่มีเชื้อ HPV 

โรคเริม (HERPES) 

โรคเริมจะแสดงอาการที่ริมฝีปากหรือที่อวัยวะเพศ ทั้งสองชนิดเกิดจากเฮอร์เปส ซิมเพล็ กซ์ ไวรัส (Herpes simplex virus; HSV) 

HSV 1 โดยส่วนใหญ่มักเป็นสาเหตุของโรคเริมบนริมฝีปาก ขณะที่ HSV 2 บ่อยครั้งมักนำไปสู่โรคเริมที่อวัยวะเพศ

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

โรคเริมติดต่อผ่านการสัมผัสกับรอยแผล สะเก็ดแผล หรือแผลพุพอง 

ไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้เมื่อจูบหรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าระหว่างอวัยวะเพศ กับอวัยวะเพศหรือระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนัก ในการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก โรคเริมบนริมฝีปากสามารถแพร่เชื้อไปยังอวัยวะเพศและเริมที่อวัยวะเพศก็แพร่เชื้อไปยังปากได้ 

ไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้ทุกระยะ แม้ช่วงที่ไม่แสดงอาการ แต่จะแพร่เชื้อมากที่สุดเมื่อเริ่มมีแผลพุพอง 

อาการของโรค

อาการของโรคเริมจะปรากฏภายใน 2-12 วันหลังการติดเชื้อ อาการที่พบโดยมาก คือ ปวดและคันบริเวณที่ติดเชื้อ แผลพุพองจะปรากฏในบริเวณที่เป็น แตกและตกสะเก็ดภายในเวลาไม่กี่วัน

คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?

เมื่อเริ่มมีอาการ

การรักษา

ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดสำาหรับไวรัส HSV ไวรัสตัวนี้จะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิตในลักษณะเชื้อแฝง ยาต้านไวรัสสามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสขยายพันธุ์ ลดระยะเวลาของอาการ เร่งการรักษา และป้องกันอาการไม่ให้เกิดซ้ำ อาการของโรคเริมอาจปรากฏซ้ำ เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด การแพ้ระคายเคือง การติดเชื้อแทรกซ้อน หรือระหว่างการมีประจำเดือนสำหรับเพศหญิง

การป้องกัน

ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ติดเชื้อในระยะที่แสดงอาการ ถุงยางอนามัยจะปกป้องคุณจากการติดโรคเริม หากสวมใส่ให้ครอบคลุมบริเวณที่มีแผลพุพอง หรือรอยแผลทั้งหมด 

ในระยะที่แสดงอาการ โรคเริมสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกระหว่างการคลอด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณควรแจ้งให้โรงพยาบาลและคลินิก

ผดุงครรภ์ของคุณทราบเสมอเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อ หรืออาการต่างๆ ของโรค

โรคตับอักเสบ B (HEPATITIS B)

การติดเชื้อที่ตับเกิดจากเฮพาติทิส บี ไวรัส (Hepatitis B virus; HBV)

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

โรคตับอักเสบ B สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปากซึ่งไม่มีการป้องกัน รวมถึงทางหลอดเลือดดำ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

อาการของโรค

การติดเชื้อโรคตับอักเสบ B แบบเฉียบพลันโดยมากจะไม่แสดงอาการ ประมาณ 40% ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะเริ่มมีอาการ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียนหรือปวดท้อง ดีซ่าน และบางครั้งอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ อาการเหล่านี้โดยปกติจะคงอยู่ในระยะ 2-3 สัปดาห์ 

การติดเชื้อโรคตับอักเสบ B โดยมากจะหายเอง แต่ผู้ป่วย 3-5% จะยังคงเป็นพาหะเรื้อรังของเชื้อไวรัส การติดเชื้อโรคตับอักเสบ B เรื้อรังอาจนำไปสู่โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี 

คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?

โรคตับอักเสบ B จะตรวจพบได้เร็วที่สุด 8-12 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ

การรักษา

โรคตับอักเสบ B ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่โรคตับอักเสบ B แบบเฉียบพลันมักจะหายไปเอง ยาต้านไวรัสบางชนิดและอินเตอร์เฟียรอนสามารถใช้รักษาโรคตับอักเสบ B แบบเรื้อรังได้

การป้องกัน

มีวัคซีนต้านโรคตับอักเสบ B นอกจากนี้ ถุงยางอนามัยยังช่วยปกป้องการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และการใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดจะช่วยป้องกันการติดเชื้อที่เป็นผลจากการฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำ

โรคตับอักเสบ C (HEPATITIS C) 

การติดเชื้อโรคตับแบบเรื้อรังเกิดจากเฮพาติทิส ซี ไวรัส (Hepatitis C virus; HCV)

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

ไวรัสชนิดนี้ติดต่อผ่านทางเลือด โดยมากเป็นผลมาจากการใช้เข็มฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำร่วมกัน โรคตับอักเสบ C ยังสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันได้ด้วย ความเสี่ยงของการติดเชื้อมีมากขึ้นในกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

อาการของโรค

การติดเชื้อโรคตับอักเสบ C มักแสดงอาการเพียงเล็กน้อย ผู้ติดเชื้อเพียง 25% เท่านั้นที่จะมีอาการในระยะเริ่มต้น ได้แก่ ดีซ่าน คลื่นไส้ และปวดท้อง

ผู้ป่วยประมาณ 70% จะยังคงเป็นพาหะนำโรคแบบเรื้อรัง การติดเชื้อโรคตับอักเสบ C แบบเรื้อรังสามารถนำไปสู่โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี

คุณควรเข้ารับการตรวจเมื่อใด?

โรคตับอักเสบ C ตรวจพบได้ประมาณ 10 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ

การรักษา

การรักษาโรคตับอักเสบ C ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การรักษาด้วยการฉีดอินเตอร์เฟอรอน เข้าสู่หลอดเลือดดำที่ใช้ในปัจจุบันกำาลังเปลี่ยนมาเป็นการรับประทานยาต้านไวรัสแทน

การป้องกัน

ไม่มีวัคซีนต้านทานโรคตับอักเสบ C ดังนั้น การใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดช่วยป้องกันการติดเชื้อผ่านการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ และถุงยางอนามัยช่วยป้องกันการติดต่อของเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ตัวโลน (CRAB LICE)

ตัวโลนคือแมลงสีเนื้อตัวแบน ยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ซึ่งดูดเลือดผ่านผิวหนังและวางไข่ตามขนในที่ลับ

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

โลนจะแพร่กระจายผ่านผ้าปูที่นอน การสัมผัสทางผิวหนัง และการมีเพศสัมพันธ์

อาการของโรค

โลนทำให้เกิดอาการคันในบริเวณที่มีขนลับ และอาจรวมถึงในบริเวณขนรักแร้และขน หน้าอก อาการต่างๆ จะปรากฏภายใน 1-3 วันหลังการติดเชื้อ โลนจะทิ้งรอยกัดสีเทาซึ่งมองเห็นได้บริเวณที่มีขนดก และยังมองเห็นตัวแมลงตามขนได้ด้วยตาเปล่า

การรักษา

การติดโลนกำจัดได้ด้วยแชมพูยา ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยา ควรทำาการรักษาซ้ำๆ ใน ช่วง 2-3 สัปดาห์ ควรซักและเปลี่ยนชุดชั้นในและผ้าปูที่นอนควบคู่กับการรักษา

โรคหิด (SCABIES)

หิดเกิดจากแมลง Sarcoptes scabiei ขนาด 0.3-0.5 มิลลิเมตรหรือตัวไรคัน

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

ตัวไรคันจะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสของผิวหนังอย่างใกล้ชิด และสามารถแพร่เชื้อได้ทางเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนและผ้าเช็ดตัว และระหว่างมีเพศสัมพันธ์์

อาการของโรค

อาการคันจะเกิดหลังการติดเชื้อ 3-6 สัปดาห์ รูไรเล็กๆ และแผลพุพองจะปรากฏบนผิวหนัง การเกาอาจทำาให้ผิวและแผลพุพองติดเชื้อโรคได้

การรักษา

การติดเชื้อตัวไรคันกำจัดได้ด้วยการใช้ยารักษา ซึ่งมีจำาหน่ายตามร้านขายยา คู่นอนและผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันทุกคนต้องรับการรักษาพร้อมกัน แม้ยังไม่มีอาการ ควร ทำาการรักษาซ้ำาภายใน 1 สัปดาห์ ควรซักและเปลี่ยนชุดชั้นในและผ้าปูที่นอนควบคู่กับ การรักษา

โรคพยาธิไตรโคโมนีเอซิส (TRICHOMONIASIS)

โรคพยาธิไตรโคโมนีเอซิสเกิดจากเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

โรคพยาธิไตรโคโมนีเอซิสติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน

อาการของโรค

ผู้ป่วยอาจประสบกับอาการต่างๆ ภายใน 2-3 วัน ไปจนถึง 4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ แต่โรคนี้มักก่อให้เกิดอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย 

อาการที่พบในเพศหญิง: ช่องคลอดอักเสบ; ตกขาวไหลมาก มีฟองเป็นสีเขียว และมีกลิ่นเหม็น และมีอาการแสบร้อนที่เยื่อเมือก

อาการที่พบในเพศชาย: ท่อปัสสาวะอักเสบ

การรักษา

การใช้ยาปฏิชีวนะสักระยะหนึ่ง คู่นอนต้องรับการรักษาด้วย

โรคแผลริมอ่อน (CHANCROID)

โรคแผลริมอ่อนเกิดจากแบคทีเรียตัวใดตัวหนึ่งระหว่าง Haemophilus ducreyi หรือ Chlamydia trachomatis (LGV chlamydia) 

โรคแผลริมอ่อนพบได้ยากในประเทศฟินแลนด์ และกรณีส่วนมากอยู่ในแอฟริกาและเอเชีย และระบาดเป็นครั้งคราวในยุโรป อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีนี้ อัตราการติดเชื้อ LGV chlamydia ในประเทศฟินแลนด์เพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ชายกับชาย

การรับเชื้อเกิดขึ้นอย่างไร?

ผ่านการมีเพศสัมพันธ์

อาการของโรค

โรคแผลริมอ่อนมักแสดงอาการภายใน 1 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ 

อาการ: ต่อมน้ำเหลืองโต แผลเปื่อย และมีแผลบนเยื่อเมือก

การรักษา

ยาปฏิชีวนะ

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยเอชไอวีี

มูลนิธิเอชไอวีมีส่วนร่วมในการป้องกันเชื้อเอชไอวีและให้บริการแก่ผู้ที่ติดเชื้อหรือได้รับผลกระทบจากเชื้อเอชไอวี รวมถึงผู้ที่เชื่อว่าพวกเขาอาจเริ่มเป็นโรคดังกล่าว
มูลนิธิของเราให้บริการที่เข้าถึงง่าย เช่น บริการตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวีแบบทันใจและการให้คำแนะนำปรึกษาทางโทรศัพท์และออนไลน์
การตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไอวี มีให้บริการ ณ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยเอชไอวีทุกแห่ง ติดต่อสายให้คำปรึกษาเพื่อนัดหมายขอเข้ารับการตรวจ
สายให้คำาปรึกษาให้บริการ จันทร์-พฤหัสบดี เวลา 10.00 - 15.30 น. โทร. +358 207 465 705
และติดต่อรับบริการทางออนไลน์ได้ที่  www.hivtukikeskus.fi   /   www.aidscouncil.fi
นอกจากนี้ มูลนิธิเอชไอวี ยังให้คำาปรึกษาและการช่วยเหลือฉุกเฉิน รวมถึง การช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
มูลนิธิเอชไอวีมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ Helsinki, Tampere, Turku และ Oulu


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Protect against STIs use a condom | Protect against STIs use a condom. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/protect-against-stis-use-a-condom/home)
Prevention - STD Information from CDC. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/std/prevention/default.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)