CUREL
ชื่อผู้สนับสนุน
CUREL

เสริมเซราไมด์เพื่อผิวแข็งแรง สู้ฝุ่น PM 2.5

ฝุ่น PM 2.5 มลภาวะที่เป็นอันตรายต่อผิว โดยเฉพาะผู้ที่แพ้ฝุ่น หรือผิวไม่แข็งแรง การเลือกใช้ Skin care ที่เหมาะสม จะสามารถเสริมให้ผิวแข็งแรงขึ้น และไม่แพ้ง่ายเมื่อเจอฝุ่น
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เสริมเซราไมด์เพื่อผิวแข็งแรง สู้ฝุ่น PM 2.5

มลภาวะทางอากาศที่ทุกคนรู้จักกันดีในช่วงไม่กี่ปีนี้ หรืออาจเคยประสบกับตัวเอง คงหนีไม่พ้นฝุ่น PM 2.5 ละอองอนุภาคเล็กจิ๋วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมครอน เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ คือขนาดเล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จะสังเกตได้ก็เมื่อรวมกันหนาแน่นจนดูเหมือนเป็นหมอกขมุกขมัว

เมื่อสูดหายใจเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าไป มลภาวะนี้จะส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากระบบดังกล่าวแล้ว ฝุ่น PM 2.5 ยังมีอันตรายต่อผิวหนัง ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของคนเรา เช่น ทำให้เซลลผิวหนังทำงานไม่ปกติ เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ทำให้ผิวอ่อนแอ ฯลฯ การหลีกเลี่ยงฝุ่นอาจดูเหมือนเป็นวิธีป้องกันผิวหนังถูกทำร้ายได้ดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัติแล้วทำได้ไม่ง่ายนัก ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์ Skin care จำพวกครีมสำหรับผิวแพ้ง่าย มีส่วนผสมของเซราไมด์ ช่วยเสริมความแข็งแรงแก่ผิว จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

ฝุ่น PM 2.5 มีผลต่อผิวหนังอย่างไร?

หลายคนนึกถึงผิวพรรณในแง่ความงาม ผิวที่เนียนนุ่ม กระจ่างใส อาจสะท้อนถึงความอ่อนเยาว์และความใส่ใจของเจ้าของผิว แต่นอกจากนี้แล้ว ผิวของคนเรายังถือเป็นด่านแรกที่สำคัญ ทั้งป้องกันมลภาวะต่างๆ ป้องกันเชื้อโรคอย่างแบคทีเรียและไวรัส ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น รวมถึงควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ให้ผันแปรตามสิ่งแวดล้อม

ฝุ่น PM 2.5 สร้างทั้งผลกระทบเฉียบพลันและผลระยะยาวได้ ในระยะเฉียบพลันจะทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ ทั้งเรื่องการป้องกันผิวจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และการซ่อมแซมผิวหนัง ส่วนระยะเรื้อรังนั้น มีการศึกษาพบว่านอกจากแสงแดดและการสูบบุหรี่แล้ว การสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 นานๆ นับเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผิวแก่เร็วขึ้น โดยจะทำให้เกิดริ้วรอยบริเวณหางตา หน้าผาก เหนือริมฝีปาก ร่องแก้ม รวมถึงทำให้เกิดจุดด่างดำ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังลดลง

มีการทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งให้ผลสรุปว่า หากสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในระดับสูงเป็นระยะเวลาเกิน 2 ชั่วโมงเป็นต้นไป เซลล์ผิวจะถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนเมื่อถึงชั่วโมงที่ 6 เซลล์ผิวจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากนัก

ทุกคนได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 เท่ากันหรือไม่?

ฝุ่นอนุภาคเล็กยิ่งกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม 20 เท่านี้มีผลทำร้ายเซลล์ผิวดังกล่าวไปแล้ว และในผู้ที่ผิวไม่แข็งแรง แพ้ฝุ่น เมื่อสัมผัสฝุ่นละอองแล้วมีอาการเป็นผื่นแพ้ รวมถึงในคนที่มีภาวะผิวหนังอักเสบอยู่แล้ว จะยิ่งได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ที่มีผิวแข็งแรง โดยอาจมีอาการระคายเคือง เกิดผื่นคัน ผื่นแดง ภาวะผิวหนังที่เป็นอยู่แล้วอาการกำเริบรุนแรงขึ้น

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 แล้วได้รับผลกระทบต่อผิวหนังมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรัง เช่น กลุ่มผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายหรือผิวแห้ง ภูมิแพ้ผิวหนัง แพ้ฝุ่น ลมพิษ สะเก็ดเงิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เลือกครีมสำหรับผิวแพ้ง่าย วิธีหนึ่งเพื่อปกป้องผิวพรรณจากอันตรายของฝุ่น PM 2.5

ช่วงที่ค่ามลพิษฝุ่น PM 2.5 มีความหนาแน่นสูง ทุกคนควรหลีกเลี่ยงการออกไปสัมผัสกับฝุ่นโดยตรง

สำหรับปกป้องทางเดินหายใจ คุณอาจสวมใส่หน้ากากอนามัยที่มีการออกแบบมาโดยเฉพาะได้ แต่การปกป้องผิวพรรณซึ่งเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ การจะต้องสวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกายทั้งหมดอาจทำได้ยาก คำแนะนำที่น่าจะช่วยให้ฝุ่น PM 2.5 สัมผัสผิวน้อยลง ได้แก่ ทำความสะอาดผิวหนังเป็นระยะ และทาโลชันหรือครีมปกป้องผิว

ที่สำคัญ ผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย แพ้ฝุ่น อาจต้องพิถีพิถันกับการเลือกผลิตภัณฑ์เป็นพิเศษ ควรเลือกใช้ครีมสำหรับผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะ มีส่วนผสมของสารที่มีคุณสมบัติช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างสุขภาพผิวให้แข็งแรง ปลดล็อคผิวแพ้ง่าย สร้างเกราะป้องกันผิวให้ทนต่อมลภาวะ และควรเป็นครีมที่เนื้อสัมผัสบางเบา ไม่เหนอะหนะ เพื่อให้เหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทยและใช้ได้ทุกวัน

ตัวอย่างครีมสำหรับผิวแพ้ง่ายที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้มีผิวแพ้ง่าย ได้แก่ คิวเรล อินเทนซีฟ มอยส์เจอร์ แคร์ อินเทนซีฟ มอยส์เจอร์ ครีม (Curel INTENSIVE MOISTURE CARE Intensive Moisture Cream) ครีมสำหรับผิวแพ้ง่าย เวชสำอางอันดับ 1 จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีส่วนผสมเด่นคือ “คิวเรล เซราไมด์ (Curel Ceramide)” สารที่มีคุณสมบัติเสมือนเซราไมด์ธรรมชาติ นวัตกรรมจากญี่ปุ่น

protect-your-skin-from-pm-25-by-curel-ceramide

เซราไมด์ (Ceramide) เป็นสารสำคัญจำพวกไขมันในชั้นผิว โดยเฉพาะผิวหน้า เป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์จากสิ่งแปลกปลอมภายนอก การมีเซราไมด์ที่สมบูรณ์จะช่วยให้ผิวแข็งแรง เนียนนุ่ม ลดการเสียน้ำ ช่วยเสริมพลังผิวให้ผู้มีผิวแพ้ แพ้ฝุ่น ทำให้ผิวไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้น

ตามปกติคนเราจะสูญเสียเซราไมด์ในผิวไปทุกวัน ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวแพ้ง่ายที่ช่วยเสริมและกระตุ้นเซราไมด์ในชั้นผิวจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพผิวอย่างมาก

ผลิตภัณฑ์คิวเรล ซึ่งเป็นครีมสำหรับผิวแพ้ง่าย ที่ช่วยปลดล็อคผิวแพ้ มีรูปแบบเป็นครีมบำรุงผิวหน้าที่คุณประโยชน์เข้มข้น ช่วยให้ความชุ่มชื้น แต่เนื้อครีมบางเบา สูตรอ่อนโยน เพื่อผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะ ไม่เติมน้ำหอม สี แอลกอฮอล์ สูตร pH-balance และ Hypoallergenic ผ่านการทดสอบ Patch-test ผู้มีผิวแพ้ง่ายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง และเป็นผลิตภัณฑ์ที่พิสูจน์แล้วทางคลินิกกับผู้หญิงไทยที่มีผิวแห้งแพ้ง่าย ว่าคิวเรลสามารถช่วยเสริมเกราะป้องกันผิวแข็งแรง 123%* หลังใช้ผลิตภัณฑ์ 4 สัปดาห์

ครีมสำหรับผิวแพ้ง่าย คิวเรล ช่วยเติมเต็มและกระตุ้นเซราไมด์ในชั้นผิวของคุณให้ผิวนุ่มและอิ่มน้ำจากภายใน ลดการระคายเคืองและต้านทานทุกปัจจัยการแพ้ รวมถึงแพ้ฝุ่น PM 2.5 ที่เราน่าจะต้องเผชิญกันไปอีกนาน


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ. พญ. รังสิมา วณิชภักดีเดชา, PM 2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1368), 1 มีนาคม 2562.
พญ. สุพิชญา ไทยวัฒน์, ผิวหนังของเราจะรับมืออย่างไรกับ PM 2.5 (http://www.dst.or.th/Publicly/Articles/1570.23.7/LV6JWf1NAi).
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์, PM 2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง (https://www.hfocus.org/content/2019/01/16775), 22 มกราคม 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป