กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Premature labor)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Premature labor)

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (premature labor หรืออาจรู้จักกันในชื่อ preterm labor) หมายถึงร่างกายของคุณเจ็บครรภ์พร้อมจะคลอดก่อนเวลาที่กำหนดไว้ เราจะถือว่าคลอดก่อนกำหนดเมื่อมีการคลอดก่อนวันครบกำหนดมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป

การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจะทำให้ทารกคลอดออกมาก่อนเวลาครบกำหนดที่คำนวณไว้ แต่ข่าวดีก็คือ แพทย์มีวิธีหลายอย่างในการชะลอการคลอดก่อนกำหนดไว้ได้ ยิ่งทารกเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ของคุณนานใกล้วันครบกำหนดคลอดเท่าใด ยิ่งลดความเสี่ยงของทารกที่จะเกิดปัญหาตามมาหลังจากคลอดได้เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อะไรบ้างที่เพิ่มความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด

มีหลายสิ่งที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด เช่น

  • การสูบบุหรี่
  • น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์มากหรือน้อยเกินไป
  • ไม่ได้รับการดูแลระหว่างการตั้งครรภ์ที่ดีเพียงพอ
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ เสพยาเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
  • มีโรคทางสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง, ครรภ์เป็นพิษ, เบาหวาน, โรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือมีการติดเชื้อ
  • กำลังตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติแต่กำเนิด
  • กำลังตั้งครรภ์ทารกที่ได้จากการทำเด็กหลอดแก้ว (in vitro fertilization)
  • กำลังตั้งครรภ์แฝด (ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป)
  • มีประวัติครอบครัว หรือตนเองเคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน
  • เพิ่งจะคลอดบุตร และมีการตั้งครรภ์ถัดไปเร็วเกินไป

อาการ

ในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด คุณจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าอาการเตือนที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ยิ่งรู้เร็วจะยิ่งยับยั้งการเปลี่ยนแปลงได้ทัน หากมีอาการดังต่อไปให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ได้แก่

  • ปวดหลัง โดยมักจะปวดที่หลังส่วนล่าง ซึ่งอาจปวดอย่างต่อเนื่อง หรือปวดและหายไป แต่ต้องเป็นอาการปวดที่ไม่ดีขึ้นแม้ว่าคุณจะเปลี่ยนท่าทางหรือพยายามทำบางอย่างเพื่อให้รู้สึกสบายแล้วก็ตาม
  • มีอาการมดลูกหดตัว ทุก 10 นาที หรือบ่อยครั้งกว่านั้น
  • มีอาการปวดเกร็งที่ท้องส่วนล่าง หรือปวดคล้ายปวดประจำเดือน และอาจมีความรู้สึกเหมือนมีแก๊สซึ่งอาจพบร่วมกับอาการท้องเสียด้วย
  • มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด
  • อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย ควรปรึกษาแพทย์แม้ว่ามีอาการเพียงเล็กน้อย หากมีอาการมากกว่า 8 ชั่วโมงแล้วยังไม่ดีขึ้น คุณต้องไปพบแพทย์
  • รู้สึก มีแรงดันในเชิงกราน หรือช่องคลอด
  • มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอดอย่างมาก
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด รวมถึงเลือดจางๆ ด้วย

อาการดังที่กล่าวมาข้างต้น บางอาการแยกออกจากอาการปกติได้ยาก เช่น อาการปวดหลัง ทำให้บางครั้งคุณอาจไม่ได้กังวลกับอาการบางอาการ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีสัญญาณเตือนดังกล่าวเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

จะสังเกตการหดตัวของมดลูกได้อย่างไร

การสังเกตการหดตัวของมดลูก คือวิธีสำคัญที่จะรู้ว่าจะมีการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้น

  • วางปลายนิ้วของคุณไว้บนหน้าท้อง
  • ถ้าคุณรู้สึกว่ามดลูกแข็งตัวและอ่อนตัว นั้นคือมีการหดตัว
  • จดเวลาการหัวตัวของมดลูกไว้ โดยจดเวลาที่เริ่มมีการหดตัว และเวลาที่มีการหดตัวครั้งถัดไป
  • ให้ลองพยายามที่จะหยุดการหดตัว โดยการลุกขึ้นยืน เปลี่ยนท่าทาง ผ่อนคลาย ดื่มน้ำ 2 หรือ 3 แก้ว
  • ให้รีบไปพบแพทย์ถ้าคุณยังมีการหดตัวของมดลูกทุก 10 นาที รวมถึงเมื่ออาการต่างๆ แย่ลง หรือมีอาการปวดอย่างรุนแรงและไม่หายไป

แต่อย่าลืมว่าผู้หญิงตั้งครรภ์หลายคนจะมีอาการเจ็บครรภ์เตือน หรือเจ็บครรภ์หลอก ที่เรียกว่า Braxton Hicks contractions ซึ่งอาการปวดนี้เอาแน่เอานอนไม่ได้ ไม่ได้ปวดใกล้ๆ กัน และอาการปวดจะหยุดไปเมื่อคุณเคลื่อนไหวร่างกาย หรือพักผ่อน ซึ่งไม่ใช่อาการเจ็บครรภ์คลอด ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าอาการเจ็บครรภ์ที่เกิดขึ้นเป็นอาการเจ็บครรภ์หลอกหรืออาการเจ็บครรภ์คลอดจริง ให้ไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา

ถ้าหากคุณจำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาล

หากคุณมีการปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาลผดุงครรภ์ทางโทรศัพท์ แล้วพบว่าคุณเข้าข่ายจะคลอดก่อนกำหนดแล้วล่ะก็ คุณจำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาลทันที เมื่อคุณเดินทางมาถึงโรงพยาบาล แพทย์ หรือพยาบาล จะดำเนินการดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ซักประวัติทางการแพทย์ของคุณ ซึ่งรวมถึงยาที่คุณใช้ระหว่างตั้งครรภ์ด้วย
  • วัดชีพจร, ความดันโลหิต และอุณหภูมิร่างกาย
  • นำที่วัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกและการหดตัวของมดลูก มาติดที่หน้าท้องของคุณ
  • ตรวจหาสาร fetal fibronectin จากสารคัดหลั่งในช่องคลอด ซึ่งจะช่วยทำนายว่าคุณกำลังจะคลอดในเร็วๆ นี้หรือไม่
  • ตรวจภายในเพื่อดูการเปิดของปากมดลูก

ถ้าหากคุณได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าคุณกำลังเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา  ดังนี้:

  • การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (IV fluids)
  • ยาเพื่อคลายการหดตัวของมดลูกและยับยั้งการคลอด
  • ยาเพื่อเร่งการพัฒนาของปอดทารก
  • ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย)
  • นอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการ

หากไม่สามารถยับยั้งการคลอดได้ แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์จะเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่กำลังจะมาถึง

ถ้าหากแพทย์ตรวจแล้วพบว่าคุณไม่ได้อยู่ในภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด คุณสามารถเดินทางกลับบ้านได้

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าลูกของฉันคลอดก่อนกำหนด?

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่างๆ

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเจริญเติบโตช้ากว่าทารกที่คลอดครบกำหนด และยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในระยะยาว ได้แก่ ออทิสติก (autism), ความบกพร่องทางสติปัญญา, สมองอาจพิการ, ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของปอด, ปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยิน

ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าใด ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาตามมามากเท่านั้น  ทารกที่คลอดหลังจากครบ 7 เดือนแล้วมักต้องการการดูแลระยะสั้นๆ ในห้องไอซียูของเด็กแรกเกิด (neonatal intensive care unit; NICU) หากทารกคลอดก่อนหน้านี้ จะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งต้องได้รับการดูแลในห้องไอซียูของเด็กแรกเกิดอย่างใกล้ชิด

https://www.istockphoto.com/th/photo/newborn-baby-in-incubator-gm470920398-63227905

 https://www.webmd.com/baby/guide/premature-labor#1


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hay WW, et al., eds. The newborn infant. In: Current Diagnosis & Treatment: Pediatrics. 23rd ed. New York, N.Y.: McGraw Hill Education; 2016. http://accessmedicine.mhmedical.com.
Gabbe SG, et al. Preterm labor and birth. In: Obstetrics: Normal and Problem Pregnancies. 7th ed. Philadelphia, Pa.: Saunders Elsevier; 2017. https://www.clinicalkey.com.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป