กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

คุณแม่กับของเปรี้ยว ทำไมคุณแม่ชอบกินของเปรี้ยว

เผยแพร่ครั้งแรก 18 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณแม่กับของเปรี้ยว ทำไมคุณแม่ชอบกินของเปรี้ยว

ในช่วงระยะเวลาตลอดการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทุกๆ ไตรมาส โดยหนึ่งในอาการที่แสดงออกในไตรมาสแรกนั่นก็คืออาการชอบกินของเปรี้ยว ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้รสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีรสชาติเปรี้ยว จึงทำให้มีคำถามกับหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดอาการแบบนี้ว่า “ทำไมคุณแม่ชอบกินของเปรี้ยว”

ผู้หญิงตั้งครรภ์กับอาการที่เปลี่ยนแปลงในไตรมาสแรก

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรก จะเป็นช่วงที่เรียกว่ากำลังตั้งท้องอ่อนๆ ส่งผลให้ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยในระยะนี้มักพบว่าคุณแม่จะมีอาการเรียกว่า “อาการแพ้ท้อง” หรือ Morning Sickness กล่าวคือ เมื่อตื่นนอนตอนเช้าจะมีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อาเจียน อ่อนเพลีย และความดันต่ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะร่างกายของคุณแม่ได้ผลิตฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ทำให้ระบบประสาทสั่งการให้อยากรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว รวมทั้งมีปฏิกิริยากับกลิ่น รส หรือเสียงที่มากระทบจากภายนอกอย่างเช่นเหม็นกลิ่นอาหารหรือกลิ่นคุณพ่อได้อีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นระบบที่ธรรมชาติได้สร้างมา เพื่อให้คุณแม่พักผ่อนด้วยการรับประทานหรือนอนมากๆ สำหรับรองรับช่วงสำคัญของลูกรักที่ต้องการพัฒนาและเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์นั่นเอง

ทำไมต้องกินของเปรี้ยวแล้วมีประโยชน์อย่างไร?

อาหารรสเปรี้ยวหรือผลไม้ที่มีเปรี้ยวอุดมไปด้วยวิตามินซีจะช่วยลดหรือคลายอาการพะอืดพะอม คลื่นไส้ วิงเวียน เพราะการกินของเปรี้ยวจะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ทำให้เพิ่มความอยากอาหารและต่อมรับรสอาหารทำงานได้ดีขึ้นนั่นเอง

นอกจากการบรรเทาอาการแพ้ท้องแล้ว วิตามินซีในรสเปรี้ยวยังมีประโยชน์กับร่างกายคุณแม่หลายประการ ทั้ง

ในด้านการบรรเทาอาการท้องอืด ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น ต้านโรคหวัด ป้องกันไม่ให้เลือดออกตามไรฟัน อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการขับถ่ายให้สะดวก และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ รวมถึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น

กินของเปรี้ยวแล้วเป็นอันตรายหรือไม่?

รสชาติของอาหารไม่ว่าจะเป็นรสชาติใดๆ ก็ตาม หากรับประทานมากเกินไปย่อมส่งผลเสียกับสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ แม้แต่ของเปรี้ยวก็เช่นกันและผลเสียก็จะขึ้นอยู่ด้วยว่ากินของเปรี้ยวประเภทใดอีกด้วย

1. ผลไม้ธรรมชาติ

ตัวอย่างเช่น มะยม มะม่วง สับปะรด และมะขาม เป็นต้น จะส่งผลดีต่อลูกรักในครรภ์ ถ้าปราศจากสารเคมีและผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรคปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ แต่คุณแม่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะหรือสมดุล ในทางตรงกันข้าม หากรับประทานมากเกินไปย่อมเกิดผลเสียอย่างแน่นอน อาทิเช่น อาการท้องร่วง ปัสสาวะบ่อย เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงไม่ควรกินผลไม้รสเปรี้ยวขณะท้องว่างหรือรับประทานมากจนทำให้รับประทานอาหารหลักได้น้อย เพราะร่างกายจะได้รับสารอาหารชนิดอื่นๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกในครรภ์

2. การหมักดอง

ตัวอย่างเช่น หน่อไม้ดอง แหนม และผลไม้ดองชนิดต่างๆ มักจะไม่ค่อยมีวิตามินซีเท่าไรนัก เนื่องจากมีการสูญเสียคุณค่าทางอาหารในกระบวนการผลิตไปแล้ว อีกทั้งยังมีสารเคมีเจือปนอย่างเช่นสารกันเสีย สารฟอกสี หรือสารกันเชื้อรา ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ในด้านการช่วยขับถ่ายอยู่บ้าง แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ควรรับประทาน โดยหันมาเลือกผลไม้ธรรมชาติจะมีประโยชน์มากกว่า

3. อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด

การรับประทานอาหารที่ปรุงรสเปรี้ยวจัดๆ มักจะได้รสเปรี้ยวจากการใช้สารสังเคราะห์ด้วยวิธีการทางเคมีอย่างเช่นน้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวสังเคราะห์ หากรับประทานบ่อยๆ หรือมากเกินไป จะทำลายผิวเคลือบฟันจนทำให้มีอาการเสียวฟันหรือฟันผุง่าย รวมถึงทำลายกระดูก ซึ่งจะยิ่งไม่เป็นผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจทำให้ทีอาการท้องเสียและร้อนในได้

สุขภาพของลูกในครรภ์จะดีได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมของคุณแม่ด้วย เพราะการกินของเปรี้ยวในระหว่างการตั้งครรภ์ย่อมไม่ส่งผลเสียจนเกิดเป็นอันตรายต่อลูกรักในครรภ์อย่างแน่นอน เมื่อคุณแม่เลือกกินของเปรี้ยวที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั่นเอง


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Eating During Pregnancy: Why You May No Longer Like Certain Foods. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/features/pregnancy-food-cravings-aversions#1)
Food Aversion in Pregnancy: Causes, Common Aversions, and Coping. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/food-aversions)
Schactman, TR, et al. (2016). Psychological factors in food aversions, nausea, and vomiting during pregnancy. DOI: (https://doi.org/10.12691/jfnr-4-10-8)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม