กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตั้งครรภ์กับโรคลมชัก-ภาพรวม

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตั้งครรภ์กับโรคลมชัก-ภาพรวม

การตั้งครรภ์กับโรคลมชัก-ภาพรวม

ผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคลมชักสามารถมีบุตรได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะยากันชักหลายรายการมีผลทำให้เกิดความผิดปกติของทารกได้ หากคุณเป็นโรคลมชักและบังเอิญตั้งครรภ์ขึ้นมา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนยาที่ใช้เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคลมชักสามารถมีลูกที่มีสุขภาพแข็งแรงได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามโรคลมชักในมารดาจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารก การตายของทารกในครรภ์ และพบปัญหาที่สัมพันธ์กับอาการชักสูงกว่าปกติในเด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคลมชัก ยากันชักโดยส่วนใหญ่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความปกติของทารก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าคุณเป็นโรคลมชักและมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น การหยุดยากันชักไม่ใช่วิธีที่ดีในการแก้ปัญหา เพราะหากไม่รักษาแล้วปล่อยให้มารดาเกิดอาการชักระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ และการตั้งครรภ์จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นภายในร่างกายมารดาอาจทำให้เพิ่มความถี่ของการชักด้วย

ข้อมูลด้านล่างต่อจากนี้เป็นข้อมูลที่อ้างอิงมาจากแนวทางการรักษาโรคของ American Academy of Neurology ประเทศสหรัฐอเมริกา

ก่อนการตั้งครรภ์

ก่อนการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาโรคลมชักของคุณ ยากันชักอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์โดยเฉพาะช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ก่อนที่คุณจะรู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ด้วยซ้ำ แพทย์จะพิจารณาว่าคุณยังมีโอกาสที่จะเกิดอาการชักหรือไม่ หรือการใช้ยากันชักต่อไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์มากน้อยเพียงใด เพื่อพิจารณาเลือกแนวทางการรักษาโรคลมชักให้เหมาะสมกับคุณมากที่สุด

โดยทั่วไปแล้ว จะแนะนำให้ใช้ยากันชักเพียง 1 รายการ และให้ใช้ขนาดยาน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากยานี้ โดยยาอาจไม่ส่งผลเสียต่อทารกมากเท่ากับการปล่อยให้มารดามีอาการชักเกิดขึ้น

ถ้าคุณยังไม่ได้ตั้งครรภ์ในขณะนี้ แต่วางแผนที่จะตั้งครรภ์ การพิจารณาหยุดยาอาจเป็นทางเลือกหนึ่งหากคุณไม่มีอาการชักติดต่อกันหลายปีแล้ว โดยแพทย์อาจแนะนำให้ทดลองหยุดยากันชักก่อนที่จะตั้งครรภ์ โดยการทดลองนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ โดยทั้งคุณและแพทย์จะสังเกตเห็นได้ว่าผลของการหยุดยาเป็นอย่างไร สามารถควบคุมอาการชักได้หรือไม่ แต่ถ้าระหว่างหยุดยาไปแล้วมีอาการชักเกิดขึ้น คุณอาจจำเป็นต้องกลับมารับประทานยากันชักอีกครั้ง

ขณะกำลังตั้งครรภ์

ถ้าคุณยังจำเป็นต้องรับประทานยากันชักระหว่างการตั้งครรภ์อยู่ แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนการรักษาบางอย่างเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความปกติของทารกในครรภ์ โดยสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง เช่น:

  • เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นที่มีความปลอดภัยกับทารกมากกว่า
  • รับประทานยาเพียง 1 ชนิด
  • ปรับเปลี่ยนขนาดยาที่ได้รับ
  • เจาะเลือดไปตรวจวัดระดับยากันชักในเลือดว่ามีระดับที่เหมาะสมแล้วหรือยัง
  • รับประทานกรดโฟลิก (folic acid) และสารอาหารเสริมอื่นๆ ก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างการตั้งครรภ์ (กรดโฟลิกจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติในทารกบางอย่างได้)

คุณอาจทำให้ตัวคุณและทารกในครรภ์มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้ หากคุณปรับเปลี่ยนยา ลดขนาดยา หรือหยุดยาเองขณะตั้งครรภ์โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

ข้อกังวลอื่นๆ

  • ระหว่างการตั้งครรภ์ คุณอาจจำเป็นต้องตรวจติดตามกับแพทย์บ่อยครั้งมากขึ้น เพื่อติดตามสภาวะของทารกและตรวจเลือดเพื่อดูระดับยากันชักในเลือด
  • ภายหลังจากที่เด็กคลอดออกมาแล้ว เด็กทารกรายนั้นอาจจำเป็นต้องได้รับวิตามินเคเสริมเป็นระยะเวลาสั้นๆ (ยากันชักบางรายการทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเลือดในเด็กแรกเกิด ทำให้เลือดไม่สามารถแข็งตัวได้ตามปกติ การให้วิตามินเคเสริมจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้) แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานวิตามินเคระหว่างการตั้งครรภ์ด้วย
  • สำหรับการให้นมบุตรขณะใช้ยากันชักอยู่ โดยทั่วไปพบว่ามีความปลอดภัย แต่ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อกังวลที่คุณมีก่อนเสมอ ถ้าคุณรับประทานยากลุ่มบาร์บิทูเรต (barbiturate) เช่น ฟีโนบาร์บิทอล (phenobarbital) เพื่อควบคุมอาการชัก การให้นมบุตรอาจทำให้ทารกมีอาการง่วงซึม หรือหงุดหงิดได้ เพราะยานี้อาจเข้าสู่น้ำนมแม่ได้

ถ้าคุณเป็นโรคลมชักและพบว่ากำลังตั้งครรภ์ ต้องปรึกษาแพทย์ทันที และอย่าหยุดยากันชักเองก่อนที่จะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์

https://www.webmd.com/baby/tc/pregnancy-and-epilepsy-topic-overview#1


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Management of epilepsy during pregnancy: an update. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4784252/)
Women, Pregnancy, & Epilepsy: Deaing With Periods, PCOS, Seizures, & More. WebMD. (https://www.webmd.com/epilepsy/guide/women-pregnancy-epilepsy#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)