กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปี

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปี

การตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีจะเกี่ยวข้องกับอายุของมารดาด้วย ส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงจะยังตั้งครรภ์หลังอายุ 35 ปี และให้กำเนิดทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงได้ ซึ่งอาจจะได้ถึงอายุ 40 ปี แต่อย่างไรก็ตามคุณควรปฏิบัติตามขั้นตอนที่แนะนำต่างๆ เพื่อให้คุณและทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง

ฉันจะเพิ่มโอกาสที่จะให้กำเนิดทารกที่มีสุขภาพดีได้อย่างไร

การตรวจร่างกายและขอรับคำปรึกษาก่อนตั้งครรภ์:

เมื่อคุณกำลังตัดสินใจว่าคุณพร้อมที่จะตั้งครรภ์แล้ว มีขั้นตอนสำคัญบางอย่างที่คุณต้องทำก่อนการตั้งครรภ์ อันดันแรกคือเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงเพียงพอที่จะตั้งครรภ์ได้ เพื่อให้แพทย์ประเมินว่าสภาพจิตใจของคุณพร้อมที่จะตั้งครรภ์ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์

ช่วงเวลา 8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากๆ ในการเจริญเติบโตของทารก การดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์จะช่วยเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และให้กำเนิดทารกที่สุขภาพแข็งแรง การดูแลนั้นได้แก่ การเข้ารับการตรวจคัดกรองจากแพทย์ การตรวจติดตามตามแพทย์นัด การเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร รวมถึงการขอรับคำปรึกษาและสนับสนุนต่างๆ เพิ่มเติมด้วย

การเข้ารับการดูแลและการดูแลตนเองก่อนคลอดจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี

การเข้าพบแพทย์ในช่วงนี้จะทำให้แพทย์พิจารณาถึงโรคที่มักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุมาก ตัวอย่างเช่น อายุมากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษ (ภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิตสูงร่วมกับพบโปรตีนในปัสสาวะ) ในระหว่างการพบแพทย์เพื่อติดตามก่อนคลอด แพทย์จะตรวจค่าความดันโลหิต ตรวจโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ และตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด เพราะว่าถ้ายิ่งตรวจพบเร็วจะได้เริ่มการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

พิจารณาการตรวจเพิ่มเติมสำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปี

แพทย์อาจแนะนำการตรวจพิเศษสำหรับคุณซึ่งเป็นการตรวจเฉพาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมาก การตรวจนี้จะช่วยประเมินความเสี่ยงของการให้กำเนิดทารกผิดปกติ ดังนั้นให้สอบถามแพทย์เกี่ยวกับการตรวจดังกล่าว คุณสามารถสอบถามถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการตรวจ และตัดสินใจเลือกการตรวจที่เหมาะสมกับคุณ

รับประทานวิตามินขณะตั้งครรภ์

ผู้หญิงทุกคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และพร้อมจะตั้งครรภ์ควรรับประทานวิตามินเสริมสำหรับเตรียมตั้งครรภ์ซึ่งประกอบด้วยกรดโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัม การได้รับกรดโฟลิกทุกวันก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก จะช่วยป้องกันความผิดปกติที่จะเกิดกับสมองและไขสันหลังของทารก สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกเป็นอย่างยิ่ง เพราะอายุมากจะมีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกในครรภ์ที่ผิดปกติสูงขึ้น วิตามินบางชนิดจะประกอบด้วยกรดโฟลิกถึง 800-1,000 ไมโครกรัม ซึ่งยังคงมีความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แท้จริงแล้วหญิงตั้งครรภ์บางรายจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกมากกว่า 400 ไมโครกรัมต่อวันเพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของทารก อย่างไรก็ตามอย่ารับประทานกรดโฟลิกมากกว่า 1,000 ไมโครกรัม (1 มิลลิกรัม) โดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ในหญิงตั้งครรภ์ที่เคยให้กำเนิดทารกที่มีความผิดปกติจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกมากถึง 4,000 ไมโครกรัม

ฉันจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างไร

การดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยให้คุณจัดการกับปัญหาทางสุขภาพที่มีอยู่และป้องกันคุณจากโรคบางอย่างที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ยิ่งคุณมีสุขภาพดีเท่าไรยิ่งดีสำหรับทารกในครรภ์เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ไปพบแพทย์ตามนัด

ถ้าคุณป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง คุณต้องมั่นใจว่าคุณไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ การดูแลรักษาโรคที่เป็นให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ก่อนการตั้งครรภ์จะทำให้คุณและทารกมีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้คุณยังต้องพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและขูดหินปูนเป็นประจำด้วย การดูแลรักษาสุขภาพฟันและเหงือกให้มีสุขภาพดีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

การรับประทานอาหารที่หลากหลายจะช่วยให้คุณได้รับสารอาหารทีจำเป็นอย่างครบถ้วน โดยรับประทานทั้งผักและผลไม้, ธัญพืชไม่ขัดสี, ถั่ว, เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน, และผลิตภัณฑ์จากนมไข่มันต่ำ คุณควรรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่ทำจากนมและอาหารที่มีแคลเซียมสูงอย่างน้อย 4 หน่วยบริโภคต่อวัน เพื่อให้ฟันและกระดูกของคุณยังแข็งแรงอยู่ในขณะที่ทารกในครรภ์กำลังเจริญเติบโต นอกจากนั้นยังต้องรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของกรดโฟลิกด้วย เช่น ผักใบเขียว, ถั่วแห้ง, ตับ, และส้ม

น้ำหนักตัวที่เพิ่มระหว่างตั้งครรภ์ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่แพทย์แนะนำ

พูดคุยกับแพทย์ว่าน้ำหนักตัวของคุณที่ควรเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์คือเท่าใด หากคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ก่อนการตั้งครรภ์แล้วพบว่า ดัชนีมวลกายของคุณอยู่ในช่วงปกติ น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์คือ 11.3 – 15.8 กิโลกรัม ถ้าดัชนีมวลกายของคุณอยู่ในช่วงน้ำหนักเกินมาตรฐาน น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์คือ 6.8-11.3 กิโลกรัม แต่ถ้าดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์อ้วน น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์คือ 5-9 กิโลกรัม การควบคุมการเพิ่มของน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม จะลดความเสี่ยงที่ทารกจะเติบโตช้าและลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดด้วย และยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ด้วย

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้น้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พยายามผ่อนคลาย ลดความเครียด อย่างไรก็ตามคุณต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์ก่อนเสมอ โดยทั่วไปคุณยังสามารถออกกำลังกายได้ระหว่างตั้งครรภ์ แต่แพทย์จะช่วยบอกคุณได้ว่าควรปรับความหนักของการออกกำลังกายและปรับชนิดการออกกำลังกายอย่างไร

หยุดสูบบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์

หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และหยุดสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ การดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดความผิดปกติต่อทารกด้านร่างกายและจิตใจ ส่วนการสูบบุหรี่จะเพิ่มโอกาสที่ทารกจะมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำ ซึ่งจะพบมากในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมาก การหยุดสูบบุหรี่ยังช่วยป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษด้วย

ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาเสมอ

ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่ายาใดที่ปลอดภัยในการใช้ขณะตั้งครรภ์และขณะให้นมบุตร ไม่ว่ายานั้นแพทย์จะสั่งหรือซื้อใช้เองก็ตาม รวมถึงอาหารเสริมและสมุนไพรด้วย

ที่มา : https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-after-35#1


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Getting Pregnant After 35? Here's What You Need to Know. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/getting-pregnant-after-35-heres-what-you-need-to-know-1959920)
Pregnancy after 35: What are the risks?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317861)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม