ยาแก้ปวด...อันตรายถ้าใช้ผิดวิธี

แนะนำวิธีใช้ยาแก้ปวด 4 ชนิดซึ่งแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ เพื่อความปลอดภัย ได้สุขภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาแก้ปวด...อันตรายถ้าใช้ผิดวิธี

ยาแก้ปวด เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดอาการเจ็บปวดและอาการอักเสบ  มีทั้งชนิดที่หาซื้อได้เองและใช้ตามคำสั่งแพทย์ การใช้ยาแก้ปวดบ่อยๆ หรือต่อเนื่องนานๆ มีผลข้างเคียงและข้อควรระวัง โดยหลายคนอาจไม่ทราบถึงผลข้างเคียงดังกล่าว แต่ก่อนจะรู้จักอันตรายของยาแก้ปวด ควรรู้จักประเภทของยาแก้ปวดเสียก่อน

กลุ่มยาแก้ปวด ลดอักเสบสามารถแบ่งประเภทตามกลไกการออกฤทธิ์ได้ 4 ชนิด ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

ยาพาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้านที่เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก แทบทุกบ้านต้องมีติดไว้เพื่อใช้ลดอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ยาพาราเซตามอลสามารถเข้าสู่สมองได้ดี จึงออกฤทธิ์ลดไข้ลดปวดอย่างได้ผล อย่างไรก็ตาม ยาพาราเซตามอลไม่มีฤทธิ์ลดอักเสบ ขนาดยาในการใช้คือ 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยใน 1 วัน ไม่ควรใช้เกิน 4 กรัม ข้อดีของยาพาราเซตามอลคือ ค่อนข้างปลอดภัยในคนทั่วไปที่ไม่ได้มีปัญหาทางสุขภาพ แต่ก็อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบร่างกาย

บุคคลที่ควรระมัดระวังการใช้ยาพาราเซตามอล ได้แก่

  1. ผู้ป่วยโรคโรคตับ อาจทำให้อาการของโรครุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และจำเป็นต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยโรคตับ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  2. ผู้ป่วยโรคไต ทำให้ไตวายหรือเกิดความผิดปกติมากขึ้นได้
  3. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือด ได้แก่ Thrombocytopenia, Leucopenia, Neutropenia, Pancytopenia, Methaemoglobinaemia, Agranulocytosis
  4. ผู้ที่ติดเหล้า
  5. ผู้ที่แพ้ยา

2. ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs: NSAIDs)

ยากลุ่มนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มยาเอ็นเสด (NSAIDs) เป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบในร่างกายได้ จึงช่วยลดปวดและลดบวมแดงไปได้ด้วยในตัว ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs เป็นยาลดอักเสบที่ใช้กันบ่อย เนื่องจากออกฤทธิ์ลดอักเสบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปวดหัว ปวดประจำเดือน ปวดฟัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ยา NSAIDs สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาแต่ต้องจ่ายโดยเภสัชกรเท่านั้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen) ยาไดโคลฟีเน็ก (Diclofenac) ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin)

    ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการปวดท้องเนื่องจากยามีความเป็นกรดทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร และยังมีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลงอีกด้วย จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายในผู้ที่ใช้ต่อเนื่อง หากเกิดอาการเลือดออกในกระเพาะอาหารรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

    วิธีสังเกตว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือไม่ ให้ดูจากสีอุจจาระ หากอุจจาระมีสีดำเข้มแสดงว่าอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ควรพบแพทย์ทันที ดังนั้น ในการให้ยาในกลุ่ม NSAIDs แพทย์จึงอาจลดอาการข้างเคียงดังกล่าวโดยการสั่งจ่ายยาลดกรดร่วมด้วย หรือแพทย์อาจพิจารณาจ่ายแทนยาในกลุ่มเอ็นเสดตัวอื่นๆ ที่ไม่มีผลกัดกระเพาะอาหารแทน 
  • ยาเซเลโคซิบ (Celecoxib) และยาอีโทริโคซิบ (Etoricoxib) เป็นยาในกลุ่มเอ็นเสดที่ไม่มีผลทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้วสามารถใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้มีข้อห้ามใช้ในผู้ที่มีความผิดปกติหรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากทำให้เลือดเกาะกลุ่มกันง่ายมากขึ้น อาจทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตันจนถึงชีวิตได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยทานยา NSAIDs แล้วไม่หาย แพทย์จะสั่งจ่ายยาลดปวดในกลุ่มอื่นแทน เช่น ยาพาราเซตามอล ยากลุ่มโอพิออยด์ (Opioid) แต่แพทย์มักจะไม่ให้ทานยาชนิดอื่นในกลุ่ม NSAIDs ร่วมเพิ่มอีก เนื่องจากนอกจากยาจะไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแล้ว แต่จะทำให้ผลข้างเคียงที่เกิดจากยามากขึ้นได้อีกด้วย

บุคคลที่ควรระมัดระวังการใช้กลุ่มยา NSAIDs

  1. ผู้ป่วยโรคตับและไต
  2. ผู้ที่มีแผล/เป็นโรคกระเพาะอาหาร
  3. ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  4. ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  5. ผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดตีบตัน
  6. หญิงตั้งครรภ์
  7. ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของยาในกลุ่ม NSAIDs

3. ยาเออร์กอต (Ergot) หรือเออร์โกทามีน (Ergotamine)

เป็นยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ออกฤทธิ์รักษาอาการปวดศีรษะ โดยกระตุ้นตัวรับของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ส่งผลให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติเกิดการหดตัวลง ทำให้อาการปวดศีรษะหายไป เนื่องจากเมื่อเส้นเลือดขยายตัว ร่างกายจะรับรู้ความรู้สึกปวดมากกว่าปกติ ขนาดยาเออร์โกทามีน ให้รับประทานครั้งละ 20 มิลลิกรัม เฉพาะเวลามีอาการปวด หากยังไม่หายปวดสามารถรับประทานยาซ้ำได้ทุก 30 นาที แต่ห้ามรับประทานเกิน 6 เม็ด ใน 24 ชั่วโมง

บุคคลที่ควรระมัดระวังการใช้กลุ่มยา NSAIDs:

  1. ผู้ป่วยโรคตับและไต
  2. ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ควบคุมไม่ได้
  3. ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน
  4. ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
  5. ผู้ป่วยโรคไฮเปอร์ไทรอยด์
  6. หญิงตั้งครรภ์
  7. ผู้ที่แพ้ยาเออร์กอต

4. ยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioid)

มีฤทธิ์ช่วยลดสัญญาณความเจ็บปวดที่ส่งมาจากระบบประสาทและยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ดีจึง สามารถลดอาการเจ็บปวดที่รุนแรงได้ แต่มีอาการข้างเคียงสูง เช่น กดการหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ หลอดเลือดขยายตัว คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ สับสน ง่วงนอน เคลิ้มฝัน และอาจเกิดการเสพติดหรือใช้ยาในทางที่ผิดได้ ดังนั้น ยาในกลุ่มนี้ต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยาในกลุ่มโอปิออยด์ เช่น ยามอร์ฟีน (Morphine) ยาออกซิโคโดน (Oxycodone) ยาเฟนตานิล (Phentanyl) เป็นต้น

บุคคลที่ควรระมัดระวังการใช้กลุ่มโอปิออยด์

  1. ผู้ที่มีความผิดปกติของการหายใจ
  2. ผู้ที่เป็นโรคจิตเภทชนิดควบคุมไม่ได้
  3. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง
  4. ผู้ที่ติดยา
  5. ผู้ที่แพ้ยาโอปิออยด์

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ปวดท้องแน่นหน้าอก อาการที่อาจเกิดจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร ไม่ใช่โรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร

หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด อาการเด่นของโรคกระเพาะอาหาร โรคยอดฮิตของคนที่กินอาหารไม่ตรงเวลา

อ่านเพิ่ม
อาการปวดท้อง ปวดท้องแต่ละส่วน มีผลอย่างไร
อาการปวดท้อง ปวดท้องแต่ละส่วน มีผลอย่างไร

แนะนำแนวทางการสังเกตอาการปวดท้องแต่ละส่วน อาการปวดท้องแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์ หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม