การตรวจ PPD skin test

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจ PPD skin test

การตรวจ PPD skin test นั้นเป็นการทดสอบเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อวัณโรคหรือไม่

วัณโรคนั้นเป็นโรคติดเชื้อที่รุนแรงและมักจะเกิดที่ปอด จากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis เชื้อแบคทีเรียนี้จะมีการติดต่อผ่านทางอากาศที่หายใจออกมาจากผู้ที่ติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรียสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายโดยไม่แสดงอาการได้นานหลายปี

เวลาที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นอ่อนแอลง ก็จะทำให้เชื้อนั้นกลับมาออกฤทธิ์และทำให้เกิดอาการได้เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มีไข้
  • น้ำหนักลด
  • ไอ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน

หากวัณโรคนั้นไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ จะเรียกว่าเป็นเชื้อวัณโรคดื้อยาซึ่งเป็นปัญหาที่รุนแรงในด้านสาธารณสุขในประเทศไทย

เวลาที่ร่างกายนั้นมีการติดเชื้อวัณโรค จะทำให้ไวต่อสารบางอย่างของแบคทีเรียเป็นพิเศษซึ่งการตรวจ PPD นี้จะเป็นการตรวจสอบความไวของร่างกายต่อสารดังกล่าว ซึ่งจะช่วยบอกได้ว่าคุณเป็นวัณโรคหรือไม่

ปัจจัยเสี่ยง

วัตโรคนั้นสามารถติดต่อได้ง่าย องค์การอนามัยโลกนั้นได้คาดการณ์ว่าวัณโรคนั้นเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ทั่วโลกมากรองลงมาจากเพียงการติดเชื้อ HIV และเป็นโรคเอดส์เท่านั้น

คุณควรตรวจ PPD skin test หากคุณทำงานในทางด้านสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนจะต้องมีการตรวจคัดกรองโรคนี้เป็นประจำ

คุณยังควรจะตรวจ PPD skin test หากคุณอาศัยอยู่กับผู้ป่วยโรควัณโรค คุณมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากการรับประทานยาบางชนิดเช่น steroid หรือโรคบางโรคเช่นมะเร็ง การติดเชื้อ HIV

วิธีการทดสอบ

แพทย์หรือพยาบาลจะทำการทาแอลกอฮอล์ที่บริเวณท้องแขนด้านใน ก่อนที่จะใช้เข็มขนาดเล็กที่มีสาร PPD ฉีดเข้าไปที่ผิวหนังด้านบน คุณอาจจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย หลังจากนั้นจะเกิดตุ่มขนาดเล็กขึ้นมาซึ่งมักจะหายไปในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หลังจากผ่านไป 48-72 ชั่วโมง คุณจะต้องกลับไปพบแพทย์อีกครั้งเพื่ออ่านผล พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์จะประเมินบริเวณที่ได้รับการฉีด PPD เข้าไปเพื่อดูว่ามีปฏิกิริยาเกิดขึ้นหรือไม่

การทดสอบนี้อาจจะทำให้เกิดอาการบวมแดงที่แขนอย่างรุนแรงได้โดยเฉพาะหากเคยทดสอบแล้วได้ผลบวกมาก่อนและทำการทดสอบซ้ำ แต่พบได้น้อย

ผลการตรวจ

หากบริเวณผิวหนังที่ทำการตรวจนั้นไม่บวมหรือบวมขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่ทำการตรวจไปแล้ว 48-72 ชั่วโมง แสดงว่าได้ผลลบ ซึ่งหมายความว่าคุณน่าจะไม่มีการติดเชื้อวัณโรค ขนาดของอาการบวมที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปในระหว่างเด็ก ผู้ป่วยที่ติดเชื้อHIV ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ

การที่บวมเล็กน้อยที่ตำแหน่งที่ทดสอบ (5-9 มิลลิเมตร) นั้นจะถือว่าเป็นผลบวกในผู้ที่ได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์ ติดเชื้อ HIV ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นวัณโรค มีการเปลี่ยนแปลงในผลเอกซเรย์ที่ช่องอกที่เกิดจากการติดเชื้อวัณโรคผู้ป่วยที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงนั้นอาจจะต้องเข้ารับการรักษา แต่ผลบวกนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็นวัณโรคเสมอไป และอาจจะต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

 การที่บวมมากกว่า 10 มิลลิเมตรนั้นจะถือว่าเป็นผลบวกให้ผู้ที่

  • เคยได้ผลการทดสอบเป็นลบมาก่อนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
  • เป้นโรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์
  • เป็นผู้ที่เสพยาเข้าเส้น
  • เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อวัณโรคสูงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
  • มีอายุน้อยกว่า 4 ปี
  • เป็นทารก เด็ก หรือวัยรุ่นที่อยู่กับผู้ใหญ่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง
  • อาศัยอยู่ในบางสถานที่เช่นคุก สถานรับดูแลผู้ป่วย และที่พักสำหรับคนไร้บ้าน
  • ในผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคมาก่อนจะใช้เกินบวกที่มากกว่า 15 มิลลิเมตร

ผลบวกลวงและผลลบลวง

ผู้ที่เคยได้รับวัคซีน BCG เพื่อป้องกันวัณโรคมาก่อนนั้นอาจจะทำให้เกิดผลบวกลวงจากการทดสอบนี้ได้ ซึ่งวัคซีนนี้เป็นวัคซีนที่มีการให้ในประเทศไทย

แพทย์อาจจะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลบวกด้วยการตรวจเอกซเรย์ช่องอก เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และตรวจเสมหะเพื่อดูเชื้อวัณโรคในปอด

บางคนที่เป็นวัณโรคนั้นอาจจะตรวจได้ผลลบจากการตรวจ PPD skin test ก็ได้ การเป็นโรคเช่นมะเร็งหรือการรับประทานยาเช่นสเตียรอยด์และยาเคมีบำบัดนั้นอาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันนั้นอ่อนแอลงและทำให้เกิดผลลบลวงได้


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
PPD skin test for tuberculosis. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324325)
PPD Skin Test (Tuberculosis Test). Healthline. (https://www.healthline.com/health/ppd-skin-test)
Tuberculosis Skin Test (PPD): Reading, Results, Side Effects & Risks. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/tuberculosis_skin_test_ppd_skin_test/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป