กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป

งูพิษ...ภัยร้ายที่มากับน้ำท่วม

ตารางเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะงูมีพิษกับงูไม่มีพิษ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
งูพิษ...ภัยร้ายที่มากับน้ำท่วม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มักแฝงตัวมากับน้ำท่วม ซึ่งน่ากลัวพอ ๆ กับ โรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก
  • ช่วงน้ำท่วมไม่ควรเดินลุยน้ำเป็นอย่างยิ่ง หากต้องลุยน้ำจริง ๆ ต้องใส่รองเท้าบูททุกครั้งเพื่อป้องกันสัตว์มีพิษและการเหยียบสิ่งของมีคมที่พัดมากับน้ำ
  • งูที่มีพิษ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ งูที่มีพิษต่อระบบประสาท ระบบไหลเวียนเลือด และกล้ามเนื้อ
  • เมื่อถูกงูกัด ไม่ควรใช้ผ้ารัดเหนือบริเวณที่ถูกกัด เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดและอาจเกิดเนื้อตายได้
  • หลังรักษาอาการงูกัดจนหายดี แต่พบอาการแทรกซ้อน ปรึกษาแพทย์ผ่านวิดีโอคอลได้ที่นี่

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน หลายพื้นที่ในประเทศไทยอาจต้องเผชิญกับอุทกภัย เช่น อุบลราชธานีที่ในตอนนี้กำลังได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมากจากภัยน้ำท่วม ผู้ประสบภัยนอกจากต้องระวังโรคที่มาพร้อมกับอุทกภัย เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู โรคตาแดง หรือโรคไข้เลือดออกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังไม่แพ้กัน คือสัตว์มีพิษที่มาพร้อมกับน้ำท่วม เช่น แมงป่อง ตะขาบ และสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะงูพิษที่มีความอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

งูพิษ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  • งูที่มีพิษต่อระบบประสาท เช่น งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา ผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการหนังตาตก กลืนลำบาก กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงจนอาจเสียชีวิตได้
  • งูที่มีพิษต่อระบบโลหิต เช่น งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา แผลบริเวณที่ถูกกัดอาจบวมเป็นตุ่มน้ำ มีเนื้อตาย หรือมีเลือดออกนอกเหนือจากบริเวณที่ถูกกัดได้
  • งูที่มีพิษต่อกล้ามเนื้อ เช่น งูทะเล ผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการกล้ามเนื้อสลายตัว และอาจทำให้ไตวายฉับพลันตามมาได้

ตารางเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะงูมีพิษกับงูไม่มีพิษ

รูปร่างลักษณะงูพิษงูไม่มีพิษ
ดวงตาทรงรีทรงกลม
รูปศีรษะสามเหลี่ยมทรงกลม
สัดส่วนลำตัวเทียบศีรษะลำตัวเล็กกว่าลำตัวขนาดพอๆ กับศีรษะ
ขากรรไกรอ้าได้กว้างกว่าอ้าได้แคบกว่า
เขี้ยวเขี้ยวใหญ่และยาวฟันซี่เล็กๆ
เกล็ดใต้ท้องเรียงตัวขนานต่อกันชั้นเดียวเรียงตัวเป็นสองชั้นคู่กัน

สถานที่ถูกกัดอาจบอกชนิดของงูได้

  • กรุงเทพมหานคร มากกว่า 90% เป็นงูเขียวหางไหม้
  • งูที่อยู่บนต้นไม้ งูเขียวหางไหม้
  • งูในสวนยางพารา งูกะปะ
  • ถูกกัดในบ้านขณะนอนหลับ งูทับสมิงคลา
  • ถูกกัดในทะเลหรือริมทะเล งูทะเล

เมื่อทราบถึงความรุนแรงของงูพิษเหล่านี้แล้ว ในช่วงน้ำท่วมเช่นนี้จึงไม่ควรที่จะเดินลุยน้ำ แต่ถ้าจำเป็นก็ควรสวมรองเท้าที่ยาวปิดขาช่วงล่าง เช่น รองเท้าบูท เพื่อป้องกันสัตว์พิษ แต่หากถูกงูกัด ขอให้ผู้ถูกกัดอย่าตื่นตกใจ รีบตั้งสติ และปฏิบัติตามการปฐมพยาบาลเบื้องต้นต่อไปนี้

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

  • ควบคุมสติตนเอง และขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ใกล้ตัว
  • ไม่ควรตามไปตีงูให้ตาย เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น หรือถูกงูกัดซ้ำได้ 
  • แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาได้แม้จะไม่ทราบชนิดของงูก็ตาม ขอให้ผู้ที่ถูกงูกัดจำลักษณะของงูโดยรวมให้ได้ก็พอ
  • ทำความสะอาดบาดแผลที่ถูกงูกัดด้วยน้ำสะอาดหรือสบู่
  • ไม่ควรใช้มือบีบเค้น หรือใช้ปากดูดบริเวณที่ถูกงูกัด
  • ไม่ควรใช้ผ้ามัดแน่น หรือขันชะเนาะ เพราะจะทำให้เนื้อเยื้อขาดเลือดและเกิดเนื้อตายได้
  • ผู้ถูกงูกัดควรอยู่กับที่ ไม่ควรเคลื่อนไหวมาก
  • หากมีอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดเป็นพาราเซตามอล (Paracetamol) ได้ ห้ามใช้ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง หรือยาที่มีส่วนผสมของแอสไพริน (Aspirin) เด็ดขาด เพราะจะเสริมฤทธิ์ของพิษงูได้
  • จากนั้นให้หาไม้ดามบริเวณที่ถูกกัดและใช้ผ้าพันให้แน่นพอประมาณเพื่อลดการเคลื่อนไหวของบริเวณที่ถูกกัด
  • รีบนำตัวผู้ถูกงูกัดส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หรือโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์เพิ่มเติม

แม้จะมีงูอีกหลายชนิดที่ไม่มีพิษ แต่ผู้ถูกงูกัดก็ไม่ควรละเลยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย, Snake farm (https://www.saovabha.com/en/snakefarm.asp)
Pochanugool C et al., Venomous snakebite in Thailand. II: Clinical experience (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9597849), May 1998

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)