เห็ดพิษอันตราย ที่ห้ามกินเด็ดขาด!

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เห็ดพิษอันตราย ที่ห้ามกินเด็ดขาด!

ในช่วงฤดูที่อากาศชุ่มชื้น เห็ดป่ามักเจริญเติบโตได้ดี กิจกรรมที่ชาวบ้านหรือคนที่อาศัยใกล้ชิดธรรมชาตินิยมทำ ก็คือการเก็บเห็ดป่ามารับประทานนั่นเอง เพราะเห็ดที่ขึ้นตามธรรมชาติมักมีรสชาติอร่อย สด และปราศจากสารเคมี แต่ข่าวที่พบทุกปี คือมีคนจำนวนหนึ่งได้รับอันตราย หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต จากการกินเห็ดพิษเข้าไปโดยไม่ทราบมาก่อน อย่างที่เรารู้กันว่าเห็ดหลายชนิดมีพิษ และไม่ควรรับประทาน แต่การจะแยกเห็ดกินได้และเห็ดมีพิษออกจากกันนั้นเป็นเรื่องยาก บทความนี้ เราจึงมีรายชื่อเห็ดพิษที่พบบ่อย และรูปประกอบ เพื่อให้ทุกคนได้ทราบไว้ ก่อนเลือกเก็บหรือเลือกซื้อเห็ดป่ามารับประทาน

หากกินเห็ดพิษเข้าไปจะเป็นอย่างไร?

สารพิษที่พบได้ในเห็ดนั้นมีหลายชนิด ซึ่งเมื่อเรากินเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติแตกต่างกันไป ตั้งแต่อาการรุนแรงน้อย เช่น ท้องร่วง อาเจียน ไปจนถึงอาการรุนแรงมากและอาจเสียชีวิต ความผิดปกติที่พบได้บ่อยจากการทานเห็ดพิษ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • พิษต่อตับและทางเดินอาหาร เมื่อรับพิษเข้าไประยะแรก จะเกิดทางเดินอาหารอักเสบ ปวดท้องและท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระมีมูกเลือดปน หากไม่รีบรักษาด้วยการให้น้ำเกลืออาจเสียชีวิตในระยะนี้ได้ ระยะต่อมาจะเกิดอาการตับอักเสบ เนื้อเยื่อตับตาย ไตวาย หัวใจวาย เกิดลิ่มเลือดทั่วร่างกาย และมีโอกาสเสียชีวิตสูง
  • พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง คนที่ทานสารพิษกลุ่มนี้เข้าไป ภายใน 24 ชั่วโมง จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นตะคริว หลังจากนั้นจะมีอาการชัก เพ้อ และหมดสติ รวมถึงอวัยวะต่างๆ ทำงานล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้
  • พิษต่อระบบประสารทอัตโนมัติ สารพิษในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์รวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง ทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ม่านตาหดเล็ก หลอดลมหดเกร็ง น้ำตาไหล น้ำลายฟูมปาก อย่างไรก็ตาม สารพิษกลุ่มนี้จะถูกดูดซึมได้น้อย และมักถูกทำลายได้โดยความร้อน
  • พิษต่อไต เห็ดบางชนิดมีสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อไตโดยตรง ทำให้ไตอักเสบ และมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อย และมีภาวะไตวายเรื้อรังในระยะยาวได้

เห็ดพิษที่พบได้บ่อย มีชนิดไหนบ้าง?     

  • เห็ดระโงกเหลืองก้านตัน หรือเห็ดระโงกพิษ ลักษณะเมื่อเป็นดอกตูมจะคล้ายกับเห็ดระโงกขาว หรือเห็ดไข่หานที่สามารถกินได้ แต่เมื่อบานแล้ว เห็ดระโงกพิษจะมีก้านสูงกว่า แกนกลางลำต้นมักจะตัน (ไม่กลวง) และมีกลิ่นเอียน

  • เห็ดระโงกหิน เป็นเห็ดที่ได้ทั่วไปในป่า ลักษณะหมวกมีสีขาว โคนเป็นกระเปาะกว้าง คล้ายกับเห็ดที่กินได้หลายชนิด เป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่มีพิษร้ายแรงที่สุด เมื่อกินเข้าไปสารพิษจะเข้าไปทำลายตับและไตจนทำให้เสียชีวิตได้

  • เห็ดแมลงวัน หรืออะมานิตา มัสคาเรีย (Amanita muscaria) เป็นเห็ดที่พบมากในที่อากาศค่อนข้างหนาวเย็น ในประเทศไทยอาจพบไม่บ่อยนัก มีลักษณะเด่นคือมีหมวกสีแดงสด และมีจุดสีขาวกระจายบนหมวก


  • เห็ดคล้ายเห็ดโคน หรือเห็ดหมากหม่าย มีลักษณะคล้ายเห็ดโคน แต่ก้านจะสั้นหนากว่า และแตกเป็นเส้น ถือเป็นเห็ดเมา เมื่อทานเข้าไปจะมีอาการเมา คลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงเห็ดโคนส้ม (เห็ดโคนที่มีสีส้ม หรือแดง) ก็จัดเป็นเห็ดพิษที่ห้ามกินเช่นกัน

      

  • เห็ดกระโดงตีนต่ำ หรือเห็ดหัวกรวดครีบเขียว เมื่อบานแล้วหมวกจะมีสีขาวคล้ายร่ม และมีเกล็ดสีน้ำตาลรูปสี่เหลี่ยมกระจายออกจากกลางหมวก ถือเป็นเห็ดเมาชนิดหนึ่ง เมื่อกินเข้าไปจะเวียนศีรษะ คลื่นไส้ แต่ไม่รุนแรงถึงขนาดเสียชีวิต
  • เห็ดดอกกระถิน มีหมวกสีขาว มีจุดสีน้ำตาลเล็กๆ กระจายอยู่บนหมวก ก้านเรียวยาว ตรงโคนกว้างออก ภายในก้านตัน (ไม่กลวง) พบได้ทั่วไปตามป่าเขตร้อนชื้น เป็นเห็ดกลุ่มที่มีพิษต่อตับและไต

  • เห็ดขี้ควาย มักพบตามมูลควายแห้ง ลักษณะมีสีซีด บนหมวกมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ จัดเป็นเห็ดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการมึนเมา ประสาทหลอน และทำให้เกิดการเสพติดได้ หากทานมากๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


  • เห็ดไข่หงส์ มีลักษณะค่อนข้างกลม สีเหลืองอมน้ำตาล มีสารพิษที่อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงในบางคน โดยเฉพาะเด็ก หากทานมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ในบางคนที่ทานก็ไม่เกิดอาการผิดปกติ


  • เห็ดคล้ายเห็ดมันปู มีลักษณะดอกเป็นสีเหลืองคล้ายเห็ดมันปู หรือเห็ดขมิ้น ซึ่งสามารถกินได้ แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า และขอบดอกเป็นคลื่นน้อยกว่าเห็ดมันปู

                    เห็ดคล้ายเห็ดมันปู (มีพิษ)                         

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เห็ดมันปู (กินได้)

  • เห็ดแดง หรือเห็ดก่อ เห็ดน้ำหมาก ลักษณะหมวกมีสีแดงสดเหมือนกุหลาบ ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อย ก้านสีขาว มีพิษที่ทำให้ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ถ้านำมาต้มหรือแกงจนสุก สารพิษจะสลายไปได้ แต่เห็ดแดงที่ก้านมีสีแดง ชมพู จะมีพิษร้ายแรงกว่า จึงไม่ควรกิน

 

การปฐมพยาบาลเมื่อเผลอกินเห็ดพิษ

ในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 5 ปี เริ่มแรก ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเพื่อให้เศษอาหารออกมา จากนั้นใช้ผงถ่านผสมน้ำอุ่นให้ผู้ป่วยดื่ม 2 แก้ว เพื่อดูดสารพิษ โดยหลังจากดื่มไปแก้วหนึ่ง ให้ล้วงคอจนอาเจียน ตามด้วยดื่มแก้วที่สอง แล้วล้วงคออีกครั้ง และจึงนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลพร้อมตัวอย่างเห็ดพิษ

 

 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Food Poisoning | Mushroom Poisoning. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/condition/food-poisoning-mushroom-poisoning/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป