การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน

เผยแพร่ครั้งแรก 1 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน

การถ่ายภาพรังสีด้วยการปล่อยโพซิตรอน หรือ PET นั้นถูกใช้เพื่อสร้างภายในร่างกายออกมาเป็นรูปแบบสามมิติ

ภาพที่แสดงออกมาจะแสดงทุกส่วนของร่างกายอย่างชัดเจน ซึ่งแสดงให้เห็นการทำงานจริงของร่างกาย รวมไปถึงพื้นที่ที่เกิดความผิดปรกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 PET มักใช้ผสานกับการถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์ (CT) เพื่อสร้างภาพที่สุดละเอียดออกมา ซึ่งจะเรียกกรรมวิธีนี้ว่าการสแกน PET-CT

อีกทั้งยังสามารถผสานกับการถ่ายภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI ซึ่งจะเรียกว่า PET-MRI

ทำไมจึงมีการใช้ PET สแกน?

ประโยชน์ของ PET ก็เพื่อแสดงให้เห็นการทำงานภายในร่างกายแต่ละส่วน

ซึ่งข้อมูลนี้มักใช้เพื่อตรวจสอบยืนยันการเป็นมะเร็ง หรือเพื่อตรวจว่ามะเร็งนั้นลามไปจุดใดแล้วบ้างและมีการตอบสนองต่อการรักษาอย่างไรบ้าง

บางครั้งการสแกน PET ก็ถูกใช้เพื่อการวางแผนการผ่าตัดอย่างการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือการผ่าตัดสมองรักษาโรคลมชัก เป็นต้น เทคนิคนี้ยังสามารถช่วยวินิจฉัยภาวะบางอย่างที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ ยกตัวอย่างเช่นภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

PET ทำงานอย่างไร?

เครื่องสแกน PET ทำงานโดยการตรวจจับการแผ่รังสีของสารรังสีที่เข้าไปยังทุกภาคส่วนของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในการสแกน PET ส่วนมากจะใช้สารรังสีที่เรียกว่า fluorodeoxyglucose (FDG) ซึ่งเป็นสารที่มีส่วนประกอบคล้ายกลูโคสตามธรรมชาติทำให้ร่างกายของคุณจัดการกับสารนี้เหมือนกับที่ทำกับน้ำตาล

ด้วยการวิเคราะห์การไหลผ่านของสารรังสีดังกล่าวทำให้สามารถชี้ชัดได้ถึงสภาพร่างกายและความผิดปกติต่าง ๆ

ยกตัวอย่างเช่น สาร FDG ในเนื้อเยื่อของร่างกายสามารถช่วยชี้จุดของเซลล์มะเร็งได้เพราะเซลล์เนื้อร้ายดังกล่าวมีการใช้กลูโคสในความเร็วที่มากกว่าเซลล์ปกติ

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการสแกน PET?

การสแกน PET มักดำเนินการกับผู้ป่วยนอก ซึ่งหมายความว่าหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ คุณไม่จำเป็นต้องค้างที่โรงพยาบาล

เนื่องจากสารรังสีที่ใช้ในการสแกนมีอายุการใช้งานที่สั้นมาก หากคุณไปสายกว่าเวลาที่นัดไว้อาจทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้อีก ทำให้ต้องเลื่อนนัดไป

การเตรียมตัว

ในจดหมายแจ้งกำหนดการนัดหมายจะระบุถึงสิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวสำหรับการสแกน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยคุณมักถูกห้ามไม่ให้รับประทานอะไรภายในหกชั่วโมงก่อนการสแกน แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ อีกทั้งแพทย์ยังแนะนำให้คุณเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ก่อนหน้าเวลานัด 24 ชั่วโมง

ควรสวมใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ เนื่องจากคุณอาจต้องสวมใส่เสื้อผ้าดังกล่าวไปตลอดการตรวจ (แต่ก็มีบ้างที่ทางโรงพยาบาลจะเตรียมเสื้อคลุมยาวไว้ให้เปลี่ยน)

พยายามไม่สวมใส่เครื่องประดับหรือเสื้อผ้าที่มีเหล็ก (อย่างเช่น ซิป เป็นต้น) หากมีสิ่งเหล่านี้อยู่ คุณจะถูกขอให้เปลี่ยนหรือถอดสิ่งนั้นออก

การฉีดสารรังสี

ก่อนการสแกนจะมีการฉีดสารรังสีเข้าไปในเส้นเลือดที่แขนหรือขา หลังจากนั้นคุณต้องนั่งรอเงียบ ๆ เป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้สารดังกล่าวถูกเซลล์ในร่างกายดูดซึมเข้าไป

คุณต้องพยายามผ่อนคลายและอยู่ให้นิ่งที่สุดเท่าที่จะทำได้ พยายามไม่พูดคุยระหว่างการนั่งรอ เนื่องจากการเคลื่อนไหวทุกอย่างจะส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของสารรังสีในร่างกายคุณ แต่หากจำเป็นต้องไปห้องน้ำก็สามารถทำได้

การสแกน

สำหรับการสแกนนั้น คุณต้องนอนราบลงบนตียงที่ค่อย ๆ ขยับเข้าไปในเครื่องสแกนที่มีลักษณะเป็นท่อกลมขนาดใหญ่ที่มีรูตรงกลาง

คุณต้องนอนนิ่ง ๆ ในเครื่องโดยไม่พูดจาเพื่อให้เครื่องจับภาพร่างกายของคุณ โดยจะใช้เวลาดำเนินงานประมาณ 30 นาที

การสแกนนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ แต่คุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวเนื่องจากการนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ๆ บนเตียง หากคุณรู้สึกไม่สู้ดี จะมีปุ่มฉุกเฉินให้กด ซึ่งจะมีทีมแพทย์เข้ามาให้การช่วยเหลือคุณตลอดเวลาการตรวจ

สำหรับบางคนที่มีภาวะกลัวที่แคบ ควรแจ้งทางโรงพยาบาลก่อนวันที่นัดทำการสแกนเพื่อให้พวกเขาจัดเตรียมยาระงับประสาทเพื่อให้คุณผ่อนคลายขึ้นขณะการสแกนในเครื่องจักร

หลังกระบวนการ

การสแกน PET นั้นไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ และคุณสามารถกลับบ้านได้ทันทีที่เสร็จสิ้นกระบวนการ

ส่วนมากผลการสแกนร่างกายของคุณจะไม่ได้ในทันที เพราะต้องมีการส่งข้อมูลที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญถอดรหัสก่อน โดยจะมีการนัดหมายคุณในภายหลังเพื่อมาฟังผล

มีความเสี่ยงหรือไม่?

การสัมผัสกับรังสีระหว่างการสแกนนั้นมีความเสี่ยงต่อเนื้อเยื่อที่น้อยมาก ๆ จนแทบไม่มีผลต่อการสร้างมะเร็งในร่างกายในภายหลัง

เครื่องจักร PET ที่ใช้นั้นมีมาตรฐานความปลอดภัยที่ดี ซึ่งจะมีการปล่อยรังสีออกมาปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณรังสีที่คุณสะสมจากธรรมชาติเป็นเวลา 3 ปี (ดวงอาทิตย์)

สารรังสีที่ใช้จะสลายกัมมันตภาพรังสีไปเองตามกาลเวลา โดยมากมักจะหายไปเองตามธรรมชาติภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งการดื่มน้ำหลังการสแกนมาก ๆ จะช่วยขับสารดังกล่าวออกจากร่างกาย

เพื่อการป้องกันไว้ก่อน คุณจะถูกห้ามไม่ให้เข้าใกล้สตรีมีครรภ์ เด็กเล็ก หรือทารกเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังการสแกนร่างกาย เนื่องจากระหว่างนี้คุณจะมีสารกัมมันตภาพรังสีตกค้างอยู่เล็กน้อย

กรรมวิธี PET-CT ก็มีการใช้รังสีปริมาณที่น้อยมากเช่นกัน ทำให้ความเสี่ยงที่วิธีนี้จะก่อให้เกิดปัญหากับร่างกายในอนาคตมีอยู่ต่ำมาก


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Positron Emission Tomography: Current Challenges and Opportunities for Technological Advances in Clinical and Preclinical Imaging Systems. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5299095/)
PET Scans (Positron Emission Tomography): Purpose, Procedure, Results. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/pet-scan#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)