มาตรฐานด้านเภสัชกรรม (การปรุงยา) และคุณสมบัติผู้ปรุงยา

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มาตรฐานด้านเภสัชกรรม (การปรุงยา) และคุณสมบัติผู้ปรุงยา

เภสัชวัตถุ : คือต้องรู้จักตัวยา คือ รู้จักรูป สี กลิ่น รส และชื่อของพืช สัตว์ แร่ธาตุทุกชนิดที่จะนำมาปรุงยา

สรรพคุณเภสัช : คือต้องรู้จักรสและสรรพคุณของยาไทยซึ่งจำแนกเป็น 2 ลักษณะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ยารสประธาน 3 รส คือ รสเย็น, รสร้อน, รสสุขุม
  • ยา 9 รส

คณาเภสัช : คือต้องรู้จักยาที่มีชื่อต่าง ๆ กันรวมเรียกเป็นชื่อเดียวกัน (พิกัดยา)
เภสัชกรรม : คือต้องรู้จักการปรุงยาและผสมยาใช้ตามวิธีต่าง ๆ

ผู้ที่จะให้บริการด้านเภสัชกรรม ควรจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • ต้องเข้าใจกลวิธีในการพัฒนาสมุนไพรครบวงจร
  • ต้องมีความรู้เรื่องเภสัชวัตถุ, สรรพคุณเภสัช, คณาเภสัชและเภสัชกรรม
  • ต้องมีความรู้วิธีการปรุงยาที่ใช้บ่อยในการรักษาโรคดังต่อไปนี้

a16.gif

 ยาต้ม เหมาะสำหรับยาที่ดูดซึมง่าย ออกฤทธิ์เร็ว ไม่เก็บไว้นาน เพราะขึ้นราได้ง่าย วิธีทำคือนำตัวยาสมุนไพรที่ใช้ต้มสับเป็นชิ้น ๆ ขนาดพอดีใส่หม้อเทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย (ประมาณ 3-4 แก้ว) ถ้าปริมาณยาน้อยให้ลดปริมาณน้ำลงตามส่วน ต้มให้เดือดนาน 10-30 นาที แล้วแต่ว่าต้องการเข้มข้นหรือเจือจาง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

a16.gif

 ยาชง ปกตินิยมใช้ยาแห้งชม คือนำตัวยาสด ๆ มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ ตากแดดให้แห้ง ถ้าต้องการให้มีกลิ่นหอมให้นำไปอบ/คั่วเสียก่อน แล้วจึงนำมาชงโดยเติมน้ำเดือดลงไปในอัตราส่วน สมุนไพร 1 ส่วน ต่อ น้ำเดือด 10 ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ 15-20 นาที (หรือตามปริมาณที่ระบุ-ไว้ในตำรับยานั้น ๆ)


a16.gif

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 ยาดอง นิยมใช้ทั้งตัวยาแห้งและยาเดี่ยว โดยนำตัวยามาบดให้หยาบ ๆ ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวม ๆ เผื่อยาพองตัว เวลาอมน้ำเติมเหล้าขาวให้ท่วมยาตั้งทิ้งไว้ 7 วัน และเขย่าขดยาให้ทั่ววันละ 1 ครั้ง (ข้อควรระวัง  ยาดองเหล้าเป็นยาที่ค่อนข้างแรง ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หญิงมีครรภ์ และผู้ที่แพ้เหล้า เป็นต้น)

a16.gif

 ยาผง เป็นยาที่ปรุงจากส่วนของพืชสมุนไพรบดละเอียดชนิดเดียวหรือหลายชนิดผสมกันก็ได้


a16.gif

 ยาปั้นลูกกลอน นำผงยาที่ต้องการจะปั้นลูกกลอนจำนวน 1+2 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม 1 ส่วน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของผลสมุนไพร) ผสมผงยาให้กลมกลืนตั้งทิ้งไว้ 2 ชม. เพื่อให้ยาขึ้นง่ายและไม่ติดมือ จากนั้นนำตัวยามาปั้นเป็นลูกกลอน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1 ซม. หรืออาจใช้รางไม้ปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้ เมื่อปั้นเรียบร้อยแล้วจึงนำไปอบแห้งหรือตากแดดจัด 1-2 วันเก็บตัวยาใส่ภาชนะที่มีดชิดและสะอาด

a16.gif

 ยาบรรจุแคปซูล นำผงยาที่ต้องการจะบรรจุแคปซูลชั่งน้ำหนักตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นเทผงยาลงบนเครื่องบรรจุแคปซูลที่บรรจุแคปซูลเปล่าไว้เรียบร้อยแล้ว อัดผงยาที่ชั่งไว้ลงในแคปซูลให้หมด ปิดฝาแคปซูลให้เรียบร้อยแล้วนำแคปซูลยาที่ได้มาทำความสะอาดโดยใช้ผ้ากรอสเช็ด ต่อจากนั้นนำแคปซูลยาที่ได้ไปบรรจุใส่ภาชนะที่มิดชิดและสะอาด


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Norms, standards and guidance for pharmaceuticals. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/medicines/areas/quality_safety/quality_assurance/norms_standards/en/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป