ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)

มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5)
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder) เป็นภาวะทางจิตที่เริ่มต้นในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอย่างต่อเนื่องหลายปี ก่อให้เกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิต กระทบความสามารถในการทำงาน การเรียน หรือการคบเพื่อน โดยตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5) กล่าวถึงภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ 10 ชนิด รวมถึงภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline PersonalityDisorders หรือ BPD) ไว้ด้วย

จะวินิจฉัยภาวะผิดปกติทางบุคลิกภาพได้อย่างไร?

ตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 4 (DSM-4) ใช้ระบบวินิจฉัยแบบหลายๆ แกน โดยให้ความสนใจใน 5 ลักษณะเด่นที่สามารถแยกแยะการวินิจฉัยรายบุคคล การวินิจฉัยภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพแบบแกนที่สองเป็นเงื่อนไขเดียวที่ใช้วินิจฉัยลักษณะปัญญาอ่อนมายาวนาน แต่ในตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด) ไม่ได้ใช้การแบ่งแบบหลายๆ แกนอีกต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การแบ่งกลุ่มของภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ

มีการจัดแบ่งความผิดปกติด้านบุคลิกภาพออกเป็น 3 กลุ่ม ทั้งในตำราฉบับเก่าและฉบับใหม่ ในแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะสำคัญบ่งชี้หรืออาจมีบางอาการที่ทับซ้อนกัน

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม A

กลุ่ม A มีความผิดปกติด้านบุคลิกภาพด้วยการแสดงพฤติกรรมแปลกๆ หรือผิดปกติ มีแนวโน้มที่จะเจอกับการถูกบอกเลิกหรือยุติความสัมพันธ์เพราะมีพฤติกรรมแปลกประหลาด แยกตัว และทำตัวน่าสงสัย ซึ่งความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม A จะรวมอาการอื่นๆ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดแปลก (Schizotypal Personality Disorder) เช่น มีความเชื่อ ท่าทาง หรือคำพูดที่แปลกๆ
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดแยกตัว (Schizoid Personality Disorders)

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม B

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม B จะมีพฤติกรรมเจ้าอารมณ์เหมือนแสดงละคร เอาแน่ไม่ได้ มักเคยอยู่ในภาวะที่มีการใช้อารมณ์รุนแรง อาจทำตัวแบบในหนัง สำส่อน ทำผิดกฎหมาย ซึ่งความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม B จะรวมอาการอื่นๆ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorders หรือ BPD)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดเจ้าอารมณ์เหมือนแสดงละคร (Histrionic Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorders)

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม C

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม C มีลักษณะเด่น คือ กังวลและหวาดกลัว ซึ่งความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม C จะรวมอาการอื่นๆ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดพึ่งพาคนอื่น (Dependent Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดครอบงำ (Obsessive Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหลีกเลี่ยงสังคม (Avoidant Personality Disorders)

การรักษาภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ

มีการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาความผิดปกติด้านบุคลิกภาพค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood Disorder) การวิจัยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง ซึ่งมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการใช้ยารักษาและจิตบำบัด

โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการรักษาความผิดปกติด้านบุคลิกภาพเป็นการรักษาที่ค่อนข้างยาก เพราะเป็นบุคลิกภาพที่ติดตัวยาวนาน ทั้งยังไม่มีการวิจัยที่ดีพอ จำเป็นต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการรักษา อย่างไรก็ตาม ก็มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาความผิดปกติด้านบุคลิกภาพในปัจจุบันดีขึ้นกว่าเดิมจากผู้ที่มีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาต่อเนื่อง

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

ผู้มีความผิดปกติของบุคลิกภาพ มักมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วยถึง 85% ตามข้อมูลสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ เช่น ผู้มีภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง มักมีความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดอื่นๆ หรือมีความผิดปกติด้านอารมณ์อย่างน้อยหนึ่งอย่างร่วมด้วย


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Personality disorder (https://www.nhs.uk/conditions/personality-disorder/), 2 October 2017
med.mahidol, ชอบวีนเหวี่ยงเข้าข่าย “โรคบุคลิกภาพแปรปรวน” (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%e0%b8%8a%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2/), 4 ธันวาคม 2558

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีการเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (BPD) และการนอกใจไหม?
มีการเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (BPD) และการนอกใจไหม?

ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติแบบก้ำกึ่งมักติดอยู่กับพฤติกรรมอารมณ์รุนแรง

อ่านเพิ่ม
ตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ในแบบของจอร์แดน
ตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ในแบบของจอร์แดน

เรียนรู้เพิ่มจากอีกตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง

อ่านเพิ่ม