เครื่องนับประจำเดือน หรือคาดการณ์รอบเดือน

ตรวจเช็ครอบเดือนที่กำลังจะมา หาระยะปลอดภัยในการตั้งครรภ์ และระยะไข่ตกได้ที่นี่ ด้วยเครื่องนับรอบเดือนอัตโนมัติ
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เครื่องนับประจำเดือน หรือคาดการณ์รอบเดือน

ผู้หญิงหลายคนมักต้องคอยระวังเรื่องการนับรอบเดือนอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถเตรียมตัวในการวางแผนไปเที่ยว วางแผนมีบุตร หรือแม้แต่หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์

ฉะนั้นเครื่องนับรอบประจำเดือนจะสามารถช่วยให้คุณผู้หญิงสามารถประมาณการณ์มาของรอบเดือนได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องนั่งบวกลบเองอีกต่อไป

เครื่องนับรอบประจำเดือนนี้ช่วยอะไรคุณได้บ้าง?

เครื่องคาดการณ์รอบเดือนนี้ สามารถช่วยคุณประเมินข้อมูลเบื้องต้นต่อไปนี้ได้

  • คาดการณ์ว่ารอบเดือนต่อไปจะมาเมื่อไร
  • คาดการณ์ว่าระยะปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์แล้วมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยคือช่วงไหน
  • คาดการณ์ระยะที่มีความเสี่ยงจะตั้งครรภ์สูง

เครื่องมือนี้จะช่วยให้คุณประมาณการณ์คร่าวๆ โดยจะคำนวณรอบเดือนจากวันประจำเดือนมาวันแรกของครั้งล่าสุดกับครั้งก่อนหน้า ไม่ได้หาจากค่าเฉลี่ยดังนั้นอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ไม่ควรใช้เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือเดียวในการนับระยะปลอดภัยเพื่อคุมกำเนิด

การนับรอบเดือนคืออะไร?

โดยปกติแล้วรังไข่ทั้ง 2 ข้างของผู้หญิงจะสลับกันผลิตไข่ออกมาเดือนละ 1 ฟอง และส่งต่อออกมายังท่อนำรังไข่เพื่อรอเชื้ออสุจิมาผสมด้วย กระบวนการนี้เรียกว่า “การตกไข่”

หากได้รับการผสมจากอสุจิ ไข่จะเคลื่อนเข้าไปฝังตัวที่มดลูกและเกิดเป็นการตั้งครรภ์

แต่หากไม่มีเชื้ออสุจิมาผสมระหว่างการตกไข่ ผนังมดลูกที่มีเลือดมาเลี้ยงจำนวนมากรวมทั้งไข่ที่รอการผสมก็จะฝ่อและถูกขับออกทางช่องคลอดเรียกว่า “ประจำเดือน” หรือ “รอบเดือน”

ระยะห่างของกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอยู่ระหว่าง 21-35 วันนับตั้งแต่วันแรกที่มีรอบเดือน ขึ้นอยู่กับแต่ละคน โดยค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 28 วันโดยประมาณ

การจดจำวันที่รอบเดือนมาวันแรก จนกระทั่งถึงวันที่มีรอบเดือนอีกครั้ง เรียกว่า “การนับรอบเดือน”

ระยะปลอดภัยของรอบเดือนคืออะไร?

ระยะปลอดภัยของรอบเดือน หรือที่หลายคนเรียกว่า “หน้า 7 หลัง 7” คำนวณอย่างหยาบๆ คือช่วง 7 วันนับจากวันที่ประจำเดือนมาวันแรก กับช่วง 7 วันก่อนประจำเดือนวันแรกของรอบเดือนถัดไปจะมา

ในช่วงนี้จะไม่มีไข่ที่พร้อมรับการผสมจากอสุจิ เนื่องจากเลยช่วงที่ไข่ตกไปแล้ว หรือไข่ฝ่อออกจากท่อนำรังไข่แล้ว เมื่ออสุจิเข้าไปสู่มดลูกจึงทำให้มีโอกาสที่จะปฏิสนธิได้น้อย

แต่อย่างไรก็ตาม รอบเดือนของทุกคนมีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนได้ตามปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด อาการป่วย หรือลักษณะเฉพาะบุคคล ทำให้วิธีนี้ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ครบ 100%

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน หรือเรื่องของรอบเดือน 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, ระบบสืบพันธุ์, (http://www.na.ac.th/science/Binder6.pdf).
มหาวิทยาลัยมหิดล, รังไข่และฮอร์โมนจากรังไข่ (ovary), (https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter5/ovary.htm).
มหาวิทยาลัยมหิดล, การนับวันปลอดภัยในรอบเดือน, (https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter5/fertility_method.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป