PEP คืออะไร ?

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
PEP คืออะไร ?

PEP ย่อมาจาก post exposure prophylaxis เป็นยาที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ HIV เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยจะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน หลังจากสัมผัสเชื้อ ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี

ยา PEP จะต้องรับประทานวันละ 1-2 ครั้งนานอย่างน้อย 28 วัน ยาที่ใช้ในสูตรยา PEP คือยาต้านไวรัส HIV (หรือยาเออาร์ที : ART) ยานี้จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ HIV ในร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใครบ้างที่ควรได้รับยา PEP

ยา PEP มีไว้สำหรับผู้ที่คาดว่ามีการสัมผัสเชื้อ HIV มาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน  ยา PEP จะใช้ในกรณีดังนี้:

  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่อาจจะมีเชื้อ HIV อยู่ และไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย หรือถุงยางอนามัยฉีกขาด (ถุงแตก)
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

ถ้าคุณคาดว่าตัวคุณเองเพิ่งสัมผัสเชื้อ HIV มาภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน และต้องการรับยา PEP คุณต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะว่ายิ่งรับยาเร็ว ยาจะยิ่งมีประสิทธิภาพ

ยา PEP เป็นยาสำหรับกรณีฉุกเฉิน ซึ่งไม่สามารถรับประกันได้ว่าคุณจะปลอดภัยจากการติดเชื้อจริงๆ   แต่การใช้ถุงยางอนามัย การกินยา PrEP หรือการไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน จะป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้มากกว่า   หากคุณรู้ว่าตัวคุณมีโอกาสจะต้องสัมผัสกับเชื้อ HIV (เช่น คู่ของคุณเป็นผู้ติดเชื้อ HIV) กรณีนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับยา PrEP

หากคุณเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงาน และเกิดเหตุการณ์ระหว่างการปฏิบัติงานที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV  แนะนำให้คุณพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับหัวหน้าของคุณ  โดยปกติแล้วการติดเชื้อ HIV จากการปฏิบัติงานในสถานพยาบาลพบได้น้อยมาก เพราะว่ามีอุปกรณ์และขั้นตอนความปลอดภัยอยู่ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการติดเชื้อ HIV ขณะดูแลรักษาผู้ป่วย

ฉันจะรับยา PEP ได้อย่างไร

แพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ สามารถจ่ายยา PEP ให้คุณได้  โดยคุณจะต้องเริ่มรับยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมง (3 วัน) หลังการสัมผัสกับเชื้อ HIV  ห้ามรอเด็ดขาด เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรีบรับประทานยา PEP ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

ก่อนที่คุณจะรับยา PEP แพทย์จะซักประวัติเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และตัดสินว่าคุณจำเป็นต้องรับยา PEP หรือไม่ โดยแพทย์จะสั่งตรวจ HIV ให้กับคุณก่อนรับยา PEP (เพราะถ้าคุณติดเชื้อ HIV อยู่ก่อนแล้ว จะไม่สามารถใช้ยา PEP ได้) นอกจากนั้นยังมีการตรวจไวรัสตับอักเสบบี  หากคุณคาดว่าจะสัมผัสเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ คุณจะต้องได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วย เช่น หนองใน หนองในเทียม และซิฟิลิส

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างรับประทานยา PEP

ยา PEP ไม่ใช่ยารับประทานครั้งเดียว แต่เป็นยาที่ประกอบด้วยยาหลายชนิด  โดยแพทย์จะสั่งยา PEP ให้คุณรับประทานวันละ 1-2 ครั้ง นานติดต่อกันอย่างน้อย 28 วัน (4 สัปดาห์)  ซึ่งจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องทุกวันตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเอง เพราะจะทำให้ยาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น

ยา PEP มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ไม่ 100%  และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ในอนาคตได้  ดังนั้นสิ่งสำคัญคือคุณจะต้องป้องกันตัวเองไม่ให้มีโอกาสรับเชื้อเพิ่มเติมระหว่างที่รับประทานยา PEP อยู่  และต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง  ถ้าคุณเป็นผู้เสพยาเสพติดทางเส้นเลือด ห้ามแบ่งเข็มฉีดยานี้ให้คนอื่นใช้  ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยป้องกันคุณจากการติดเชื้อ HIV ในอนาคต  และยังป้องกันการแพร่ของเชื้อ HIV ไปยังผู้อื่นด้วย (หากคุณเป็นผู้ติดเชื้อ)

ถ้าคุณมีอาการ เช่น ไข้ ผื่น ระหว่างได้รับยา PEP ให้รีบไปพบแพทย์ อาการดังกล่าวนี้อาจเป็นอาการแสดงในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อ HIV

ผลข้างเคียงของยา PEP คืออะไร

ผลข้างเคียงของ PEP เช่น ปวดท้อง รู้สึกอ่อนเพลีย โดยทั่วไปผลข้างเคียงจะไม่อันตราย และสามารถรักษาได้  หากผลข้างเคียงนั้นเป็นมากจนรบกวนคุณ ให้ปรึกษาแพทย์

หากการใช้ยา PEP ไม่มีประสิทธิภาพพอ คุณอาจจะมีอาการของการติดเชื้อ HIV ในระยะเริ่มแรกได้ เช่น ไข้ หรือ ผื่น  หากคุณมีอาการดังกล่าวนี้ขณะกำลังได้รับยา PEP หรือภายใน 1 เดือนหลังได้รับประทานยา PEP จนหมด  แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากรับประทานยา PEP จนครบ

คุณต้องไปพบแพทย์ตามนัดหลังจากรับประทานยา PEP จนหมด โดยแพทย์จะทำการตรวจ HIV ซ้ำ โดยจะตรวจที่ 4-6 สัปดาห์หลังจากที่มีการสัมผัสกับเชื้อ HIV และตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากนั้น 3 เดือน  ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้มีการตรวจซ้ำที่ 6 เดือนต่อมาก็ได้ 

สิ่งสำคัญที่สุดของการมาตรวจซ้ำคือการยืนยันว่ายา PEP นั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งในระหว่างนี้ คุณจะต้องป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ HIV อยู่เสมอ โดยการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ และไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
HIV: PrEP and PEP. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/hivprepandpep.html)
Post-exposure prophylaxis (PEP). World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/hiv/topics/prophylaxis/en/)
Can post-exposure prophylaxis (PEP) stop me getting HIV?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/common-health-questions/medicines/can-post-exposure-prophylaxis-pep-stop-me-getting-hiv/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)