การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

ยังไม่มีการทดสอบใดที่จะสรุปได้ว่าคุณกำลังป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แพทย์จะให้การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันจากอาการที่คุณเป็น ประวัติทางการแพทย์ และข้อมูลที่ได้จากการตรวจร่างกายเป็นหลัก

แพทย์จะสอบถามคุณเกี่ยวกับอาการที่คุณเป็น และอาจขอให้คุณทำกิจกรรมทางกายหรือทางจิตใจบางอย่างเพื่อช่วยในการวินิจฉัย เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการเดินไปรอบๆ ห้อง เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในช่วงระยะแรกของการเป็นโรคพาร์กินสัน เป็นเรื่องยากที่แพทย์จะบอกได้อย่างชัดเจนว่าคุณกำลังเป็นโรคนี้ เพราะอาการในช่วงแรกมักอยู่ในระดับรุนแรงน้อย

การส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาเบื้องต้นให้กับคุณสงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคพาร์กินสัน คุณจะได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญใน 2 สาขานี้:

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา (neurologist)- คือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางสมองและระบบประสาท
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ (geriatrician)-คือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคของผู้สูงอายุ

หากแพทย์ที่ตรวจโรคให้กับคุณเบื้องต้นคิดว่าคุณอาจอยู่ในระยะแรกของโรคพาร์กินสัน คุณควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ หากแพทย์คิดว่าคุณเป็นโรคพาร์กินสันในระยะท้ายแล้ว คุณควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะขอให้คุณทำการเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่างๆ ซึ่งคุณจะได้รับการประเมินถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนไหว

หากคุณมีอาการอย่างน้อย 2 ใน 3 อาการด้านล่างนี้ หมายความว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคพาร์กินสัน

  • อาการสั่นของร่างกายซึ่งพบเฉพาะขณะพัก (อาการสั่นขณะพัก)
  • เคลื่อนไหวร่างกายช้า (bradykinesia)
  • กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (rigidity)

หากอาการต่างๆ เหล่านี้ดีขึ้นภายหลังการได้รับยาลีโวโดป้า (levodopa) นั่นหมายความว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคพาร์กินสันสูงขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตรวจสแกนสมองด้วยเทคนิคพิเศษ เช่น single photon emission computed tomography (SPECT) scan อาจมีการทำในผู้ป่วยบางรายเพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการออก

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน

เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันอาจทำให้คุณมีความวิตกกังวล มีความทุกข์ใจ และรู้สึกเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับมัน

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณควรได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว และการดูแลจากทีมแพทย์ ซึ่งสามารถช่วยคุณในเรื่องดังกล่าวได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/parkinsons-disease#diagnosis


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parkinson's disease - Diagnosis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/parkinsons-disease/diagnosis/)
Parkinson's disease diagnosis: Symptoms, tests, and criteria. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323412)
Diagnosing Parkinson’s disease - Parkinson's Disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK48502/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)