อาการต่างๆ ของโรคพาร์กินสัน

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการต่างๆ ของโรคพาร์กินสัน

ลายมือเปลี่ยน

หากลายมือของคุณเริ่มเปลี่ยนจากใหญ่กลายเป็นเล็ก เขียนตัวติดกันและอ่านยากขึ้น นี่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนเริ่มต้นของการเป็นโรคพารืกินสัน ผู้ป่วยส่วนมากที่เป็นครูมักจะเริ่มสังเกตเห็นอาการของตนเองจากการที่มีเด็กนักเรียนบอกว่าพวกเขาอ่านลายมือของครูไม่ออก ผู้ป่วยโรคนี้หลายคนมีการเคลื่อนไหวที่ช้าและทำให้มีปัญหาในการทำกิจกรรมที่ต้องทำซ้ำๆ เช่นการเขียนหนังสือ

ลดความสามารถในการรับกลิ่น

หากคุณมีปัญหาไม่สามารถรับกลิ่นฉุนๆ หรือไม่ได้กลิ่นที่คุณชื่นชอบอีกต่อไป ควรไปพบแพทย์ นี่ไม่ใช่อาการที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยพาร์กินสัน แต่ผู้ที่มีอาการนี้มักกล่าวนี้นี่เป็นอาการอย่างแรกๆ ที่พวกเขาสังเกต ในปัจจุบันยังไม่ทราบความเชื่อมโยงที่แน่ชัดเกี่ยวกับการได้กลิ่นที่ลดลงกับโรคพาร์กินสัน แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่กล่าวว่าเกิดจากการสะสมโปรตีน alpha-synuclein ในสมองของผู้ป่วยที่อาจจะสะสมในบริเวณที่ทำหน้าที่รับกลิ่นก่อนที่จะเดินทางไปยังสมองส่วนอื่นที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีปัญหาในการนอนหลับ

หากก่อนหน้านี้คุณหลับสนิทมาตลอด แต่อยู่ๆ ก็รู้สึกนอนไม่หลับ ขาไม่มีแรง หรือตกจากเตียง นี่อาจเป็นอาการของโรคพาร์กินสัน การนอนไม่หลับบางวันนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณหรือคู่ชีวิตของคุณสังเกตว่าคุณมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติในขณะที่หลับลึก หรือเริ่มนอนละเมอ ควรไปพบแพทย์ ในปัจจุบันยังมีข้อมูลที่อธิบายอาการนี้กับโรคพาร์กินสันได้ไม่เพียงพอ แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่าก้านสมองบางส่วนที่เสื่อมและทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับนั้นอาจมีบทบาทในการทำให้เกิดอาการอื่นๆ ของโรคพาร์กินสัน

ท้องผูก

หากคุณไม่ถ่ายทุกวัน หรือว่าท้องผูกมากขึ้นเรื่อยๆ นี่อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคได้ โรคนี้จะส่งผลต่อระบบประสาทแบบอัตโนวัติของร่างกายซึ่งควบคุมกระบวนการต่างๆ เช่นการย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้ การมีอาการท้องผูกเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าหากพบร่วมกับอาการอื่นๆ เช่นนอนไม่หลับ หรือมีปัญหาในการเคลื่อนที่และเดิน ควรไปพบแพทย์

ซึมเศร้า

ผู้ป่วยบางครั้งอาจเกิดอาการซึมเศร้าหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน แต่หลายๆ ครั้งก็พบว่าพวกเขามีอาการซึมเศร้าหลายปีก่อนหน้าที่จะเริ่มมีอาการทางกาย พาร์กินสันนั้นเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติจากการขาดสาร Dopamine ในสมอง แต่นอกจากสารนี้แล้วนั้น ก็ยังมีสารสื่อประสาทตัวอื่นเช่น serotonin ซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นมักจะรู้สึกเฉยเมยและไม่สนใจกับสิ่งที่เคยชื่นชอบ รู้สึกเศร้าและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การรักษาโรคซึมเศร้านั้นทำได้หลายวิธีเช่นการพูดคุย การใช้ยา หรือการใช้กระแสไฟฟ้า

แขนขาสั่นเวลาที่อยู่เฉยๆ

อาการสั่นหลังจากการออกกำลังกายหรือเวลาคุณตื่นเต้นนั้นเป็นเรื่องปกติหรืออาจจะเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด แต่หากคุณมีอาการสั่นในขณะที่ร่างกายนั้นอยู่เฉยๆ และกล้ามเนื้อมีการผ่อนคลาย อาจเป็นสัญญาณของโรคพาร์กินสันได้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณ 70% มีอาการสั่นขณะพักและจะสังเกตได้ชัดขึ้นเวลาที่อยู่ภายใต้ความเครียดหรือความตื่นเต้น อาการนี้เป็นอาการที่สังเกตได้ชัดที่สุดและมักจะเป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์

เคลื่อนไหวช้า หรือข้อยึด

หากคุณมีอาการข้อยึดร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรังและทำให้กิจกรรมทั่วๆ ไปเช่นการเดิน แปรงฟัน ติดกระดุมเสื้อ หรือหั่นอาหารนั้นทำได้ยากขึ้น ไม่แกว่างแขนเวลาเดิน หรือเริ่มมีคนสังเกตว่าคุณดูตัวแข็งๆ ควรไปพบแพทย์

เสียงเบา หรือใบหน้าไร้อารมณ์

การมีเสียงเบาลงหรือใบหน้าที่ไม่แสดงอารมณ์นั้นมักจะเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคนี้ ผู้ป่วยบางคนอาจพูดลงกว่าปกติโดยไม่ทันสังเกต หรืออาจจะพูดรัวเร็วมากๆ ผิดปกติก็ได้จากการที่โรคพาร์กินสันนั้นทำให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใบหน้านั้นผิดปกติ


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parkinson's disease - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/parkinsons-disease/symptoms/)
Parkinson’s Disease: Causes, Symptoms, Diagnosis, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/parkinsons-disease/ss/slideshow-parkinsons-overview)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)