เรียนรู้วิธีการจัดการให้อำนาจคนตัดสินใจแทน

ทำอย่างไรในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจเองได้แล้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เรียนรู้วิธีการจัดการให้อำนาจคนตัดสินใจแทน

หากผู้ป่วยยังตัดสินใจเองได้โดยมีสติสัมปชัญญะครบสมบูรณ์ แน่นอนว่าคนที่ควรเป็นคนตัดสินใจในเรื่องแผนการรักษาควรจะเป็นตัวผู้ป่วยเอง แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจเองได้แล้ว แพทย์อาจจะต้องถามคนที่มีอำนาจการตัดสินใจแทน ซึ่งความจริงแล้วจะเป็นคนในครอบครัวหรือนอกครอบครัวก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยรู้สึกว่าใครจะสามารถตัดสินใจให้ตนได้ใกล้เคียงกับที่ตนเองจะตัดสินใจมากที่สุด

การเลือกคนมาตัดสินใจแทน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Power of Attorney: POA จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกๆ คนควรมีโอกาสเลือกเอาไว้ก่อนที่ตนเองจะไม่สามารถตัดสินใจได้ บางครั้ง POA อาจเป็นคนนอกครอบครัวก็ได้ หากผู้ป่วยรู้สึกว่าคนๆ นั้นตัดสินใจให้กับตัวเองได้ดีกว่า ในหลายๆ ประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา หรือแคนาดา การเลือก POA ต้องทำต่อหน้าทนายความ และมีการลงบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร POA แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1) ผู้ตัดสินใจแทนเรื่องเกี่ยวกับการเงิน สำหรับของเมืองไทยเราโดยทั่วไปจะใช้วิธี “บอกกันเอาไว้” หรือ “รู้กันเอง” มากกว่า และ
2) ผู้ตัดสินใจแทนเรื่องสุขภาพ บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องเลือกคนๆ เดียวเป็นผู้ตัดสินใจแทน แต่อาจเลือกสมาชิกหลายๆ คนให้มาร่วมกันเป็นผู้ตัดสินใจ กรณีผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้แล้ว

 

ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ  สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Glossary. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/training/ACP/page32360.html)
Living wills and advance directives for medical decisions. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/in-depth/living-wills/art-20046303)
Advance Directives and Medical Power of Attorney. WebMD. (https://www.webmd.com/palliative-care/advance-directives-medical-power-attorney#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)