ใส่ท่ออาหารให้ผู้ป่วยขั้นสุดท้ายดีไหม?

การให้ท่ออาหารอาจยิ่งทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ใส่ท่ออาหารให้ผู้ป่วยขั้นสุดท้ายดีไหม?

ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายรายที่มีอาการรุนแรงขึ้น มักมีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลดจนร่างกายซูบผอม เมื่อเห็นคนที่รักกินไม่ได้ สมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวมักรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ ทำให้ญาติของผู้ป่วยหลายๆ คนลองถามแพทย์ดูว่าควรจะใส่ท่ออาหารให้กับผู้ป่วยหรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยมะเร็งมักไม่ร้องขอให้แพทย์ใส่ท่ออาหารให้ เพราะส่วนใหญ่รู้สึกเบื่ออาหาร และการมีท่ออาหารอาจเป็นการเพิ่มความทรมานให้กับผู้ป่วยมากขึ้น ข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำให้ญาติรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะให้ท่อ อาหารผู้ป่วยหรือไม่ให้ดี เพราะใจหนึ่งก็กลัวผู้ป่วยอดอาหาร แต่ใจหนึ่งก็กลัวผู้ป่วยทรมาน

ข้อเท็จจริง:

มีข้อมูลวิจัยจากหลายสำนักพบว่า การใส่ท่ออาหารใน ผู้ป่วยมะเร็งระยะรุนแรงที่ร่างกายเริ่มซูบผอม ไม่มีประโยชน์ในการยืดระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วย และไม่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในทางตรงกันข้ามอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกทรมานมากขึ้นจากท่อที่ค้างอยู่ได้ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเมื่อผู้ป่วยกินอาหารเข้าไป อาหารส่วนหนึ่งจะไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การที่ผู้ป่วยไม่กิน อาหารไม่ได้เป็นการทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้น และการที่ผู้ป่วยซูบผอมลงเป็นเพราะเซลล์มะเร็งทำให้เกิดการสลายกล้ามเนื้อมากขึ้น เป็นหลักมากกว่าจะเป็นเพราะการอดอาหาร และถึงจะกินอาหารปริมาณมากเข้าไป ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยอ้วนขึ้นได้มาก ลองจินตนาการนึกถึงตอนที่เราไม่สบายเป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออาหารเป็นพิษ หากมีใครมาคะยั้นคะยอให้กินอาหารเรารู้สึกอย่างไรบ้าง ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกผะอืดผะอมคล้ายกับเวลาที่เราไม่สบาย เพียงแต่อาจจะเป็นรุนแรงกว่า แต่หลายๆ ครั้งเราก็ฝืนกิน เพราะอยากให้คนที่เรารักสบายใจและมีความสุข บางครั้งผู้ป่วยมะเร็งก็เลือกที่จะทำอย่างนั้นเช่นกัน  วิธีที่ควรทำคือควรถามความเห็นผู้ป่วยว่าผู้ป่วยอยากทำอย่างไรกับตัวเองมากกว่าการตัดสินใจแทนผู้ป่วย โดยผู้ป่วยควรทราบข้อเท็จจริงที่กล่าวไปข้างต้นก่อนการตัดสินใจ หากผู้ป่วยเลือกที่จะใส่ท่อให้อาหารก็ไม่มีข้อห้ามในการใส่ แต่หากผู้ป่วยเลือกที่จะไม่ใส่ เราอาจพิจารณาให้ผู้ป่วยกินอาหารเท่าที่กินได้และอยากกินโดยเลือกกินอาหารที่ผู้ป่วยชอบ และมื้อเช้ามักจะเป็นมื้อที่ผู้ป่วยกินได้มากที่สุดเนื่องจากท้องยังว่างอยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ  สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Palliative care - fluid, food, and digestion. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000531.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)