กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ปัจจัยที่มีผลต่อการปวดของผู้ป่วยโรคระยะสุดท้ายมีอะรไบ้าง

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจทนการปวดได้แตกต่างกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ปัจจัยที่มีผลต่อการปวดของผู้ป่วยโรคระยะสุดท้ายมีอะรไบ้าง

อาการปวดของผู้ป่วยแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย บางครั้งผู้ป่วยที่ปวดมากอาจจะมีรอยโรคที่น้อยกว่าผู้ป่วยที่ปวดน้อยก็ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวด ขอให้เชื่อผู้ป่วยไว้ก่อนเสมอ อาการปวดของผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีปัจจัยสนับสนุนดังต่อไปนี้

1) ตัวโรคของผู้ป่วยโดยตรงที่ก่อให้เกิดอาการปวด แบ่งเป็น

  • อาการปวดแบบชัดเจน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม และมีก้อนขนาดใหญ่ที่เต้านม อาจมีอาการปวดแบบชัดเจน  ที่บริเวณก้อน
  • อาการปวดแบบไม่ชัดเจน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้  และเกิดภาวะลำไส้อุดตัน อาจบ่นว่าปวดทั่วๆ ท้อง  แต่ไม่ สามารถบอกได้ชัดเจนว่าปวดที่ตำแหน่งใด ผู้ป่วยอาจบอกว่า ปวดแบบตื้อๆ แน่นๆ ได้
  • อาการปวดแบบสัมพันธ์กับเส้นประสาท เช่นผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่กระจายไปที่กระดูกสันหลัง อาจรู้สึกเสียวแปล๊บๆ บริเวณที่ต้นขาที่มีเส้นประสาทจากกระดูกสันหลังมาเลี้ยงได้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บจี๊ดๆ คล้ายถูกไฟฟ้าช็อต หรือเข็มตำได้

2) อารมณ์ของผู้ป่วย

อารมณ์มีผลต่ออาการปวดของผู้ป่วย เช่นผู้ป่วยที่มีอารมณ์ซึมเศร้าทำให้มองเหตุการณ์ทุกอย่างเป็นเชิงลบ อาจส่งผลให้ความอดทนต่ออาการเจ็บปวดน้อยลง ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอารมณ์ขันอาจจะใช้มุมมองเชิงบวกในการแก้ไขปัญหา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3) บุคลิกภาพของผู้ป่วย

บุคลิกภาพอาจส่งผลต่อการรับรู้ความเจ็บปวดได้หลากหลาย ขึ้นกับอายุและสถานการณ์ที่ผู้ป่วยเผชิญ เช่นผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาตัวเองมาตั้งแต่เด็ก อาจจะมีความอดทนต่อสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวได้มากกว่าผู้ป่วยที่พึ่งพิงผู้อื่น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลได้ง่ายอาจจะเชื่อมโยงอาการปวดกับระยะของโรคที่เป็นมากขึ้นทำให้เกิดความกลัวและอดทนต่อความปวดได้น้อยลงได้ 

4) ประสบการณ์ของผู้ป่วย

ประสบการณ์ในอดีตของผู้ป่วยอาจส่งผลต่อระดับการรับรู้ความปวด ผู้ป่วยที่เคยผ่านประสบการณ์ชีวิตหนักๆ มาก่อน เช่นเคยคลอดลูกโดยไม่ได้ใช้การบล็อกหลังระงับ ปวดอาจจะรู้สึกทนต่ออาการปวดจากโรคมะเร็งได้มากกว่าคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน

5) ครอบครัว

การมีครอบครัวคอยช่วยให้กำลังใจและดูแล ทำให้ผู้ป่วยมีความอบอุ่นใจและเป็นวิธีการรักษาอาการปวดได้เป็นอย่างดี ในขณะที่มีข้อมูลวิจัยบอกว่าผู้ป่วยที่อยู่ตัวคนเดียวมักมีแนวโน้มที่ต้องใช้ยาแก้ปวดในขนาดที่สูงกว่า เนื่องจากความรู้สึกกลัวว่าหากมีอาการมากขึ้นแล้วจะจัดการไม่ได้และไม่มีคนช่วยดูแล

6) การเข้าถึงระบบสุขภาพ

เช่นผู้ป่วยที่ไม่มีสิทธิการรักษาและไม่มีเงินในการรักษาพยาบาลอาจจะต้องอดทนต่ออาการปวดมากกว่าผู้ป่วยที่สามารถเข้าถึงระบบสุขภาพได้สะดวก

 

ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ  สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
NCDs | Palliative care. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/ncds/management/palliative-care/en/)
Palliative Care. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/hiv/topics/palliative/PalliativeCare/en/)
Long-term palliative care workers: more than a story of endurance. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12685533)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)