ยาแก้ปวดที่วางขาย มีฤทธิ์เหมือนกันไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาแก้ปวดที่วางขาย มีฤทธิ์เหมือนกันไหม?

เวลาภรรยาผมเป็นหวัดหรือปวดหัว เธอจะพูดว่า “ฉันจะกินแอสไพริน” จริงๆ แล้วเธอไม่ได้หมายความว่าจะกินแอสไพรินนะครับ แต่มันกลายเป็นคําที่เธอและใครๆ อีกมากใช้แทนกลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ ตอนเด็กๆ เรากิน แอสไพรินจริงๆ แต่เดี๋ยวนี้ตัวเลือกเยอะ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เป็นต้นมา ยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) ในชื่อการค้าเช่นไทลินอล และอื่น ๆ ได้รับความนิยมสูงสุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ยาไอบิวโพรเฟน (Ibuprofen) ในชื่อการค้าเช่น โมทริน บรูเฟน แอดวิล และอื่นๆ ก็ติด อันดับยายอดนิยมที่วางขายบนชั้นยาเช่นกัน

ดังนั้น เวลาคุณปวดหัว เป็นไข้ เจ็บปวด คุณจะกินยาตัวไหนดี ? หรือว่าตัวไหนก็ได้? ยาลดไข้แก้ปวดทั้งหมดนี้ใช้เหมือนๆ กันเลยหรือเปล่า?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาแต่ละตัวมีวิธีการออกฤทธิ์ที่ต่างกัน และยังแตกต่างทั้งความแรง ฤทธิ์ข้างเคียง ซึ่งคุณควรจะรู้ และถ้าคุณเข้าใจหลักการแล้ว ก็เป็นเรื่องง่าย ที่จะเลือกยามาบําบัดอาการของคุณได้อย่างถูกต้อง หากคุณรักษาอาการ ของโรคที่เฉพาะเจาะจง เป็นต้นว่า ข้ออักเสบไมเกรน ควรปรึกษาหมอของ คุณ เพื่อจะได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุด

ความแตกต่างระหว่างยาแต่ละตัว

พื้นฐานการทำงานของยาแก้ปวดแต่ละตัว มีดังต่อไปนี้

1. แอสไพริน

แอสไพริน (Aspirin) แอสไพรินเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาลดการ อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS : nonsteroidal anti-inflammatory drugs) การทํางานของยาคือ ไปขัดขวางการสร้างโพรตาแกลง อันเป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมการอักเสบ ไข้ และความเจ็บ แอสไพรินยังใช้ป้องกันโรคหัวใจวายในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง และใช้รักษา ผู้ป่วยหัวใจวาย สโตรค และโรคข้ออีกหลายชนิด แอสไพรินอาจก่อให้เกิด อาการอาหารไม่ย่อย แสบร้อนในอก แผลในกระเพาะและลําไส้เล็กตอนต้น ได้ เช่นเดียวกับยาอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ อีกประการหนึ่ง แอสไพรินมีความ เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มอาการไรย์ (Reyes Syndrome) ในเด็ก ซึ่งรุนแรง และบางรายอาจถึงแก่ชีวิต ผู้ที่อายุน้อยกว่า 19 ปีจึงไม่ควรใช้แอสไพริน ยกเว้นแต่จะเป็นการสั่งโดยแพทย์ ข้อควรระวังอีกประการหนึ่งคือ แอสไพริน รบกวนการแข็งตัวของเลือด ซึ่งถูกนําไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันการเกิด ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจ แต่ในอีกทางหนึ่งก็อันตราย หากคุณมี แนวโน้มเลือดออกง่าย

2. ไอบิวโพรเฟน

ไอบิวโพรเฟน (Ibuprofen) ยาตัวนี้อยู่ในกลุ่ม NSAIDS เช่น เดียวกับแอสไพริน มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามร่างกาย และลดไข้ และยังนิยมใช้บรรเทาอาการปวดประจําเดือน ยา กลุ่ม NSAIDS ค่อนข้างปลอดภัยหากใช้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้าใช้ไปนานๆ จะเสี่ยงต่อเลือดออกในกระเพาะ สโตรค และไตวายได้ ทางที่ดีต้องกินยา ทันทีหลังอาหาร ไม่กินเมื่อท้องว่าง เพื่อลดโอกาสที่ยาจะกัดกระเพาะ และ อย่าใช้ยาติดต่อกันนานเกินสิบวันโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

3. อะเซตะมิโนเฟน

อะเซตะมิโนเฟน (Acetaminophen ที่คนไทยคุ้นกับชื่อการค้าว่า พาราเซตามอล) ใช้บรรเทาอาการปวดและลดไข้เช่นเดียวกับไอบิวโพรเฟน แต่ยานี้ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม NSAIDS จึงไม่มีสรรพคุณลดการอักเสบ ไม่แนะนํา ให้ใช้บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามตัว สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับยาตัว นี้คือไม่ทําร้ายกระเพาะ จึงไม่จําเป็นต้องกินพร้อมอาหาร แต่ก็มีคําเตือน ที่สําคัญในการใช้อะเซตะมิโนเฟนเช่นกัน เพราะเมื่อใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษต่อตับ ผู้ใหญ่ห้ามกินเกินวันละ 3,000 มิลลิกรัม ไม่ยากสักเท่าไร ที่จะกินถึง 3 กรัม ยามีขนาดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม ถ้ากินครั้งละสองเม็ด ทุกหกชั่วโมงก็เกินระดับปลอดภัยแล้ว คุณควรใส่ใจระวังเพราะยาบรรเทา อาการหวัด ไข้หวัดใหญ่ ยานอนหลับที่วางขายตามชั้นยานั้น บ่อยครั้งก็มี ส่วนประกอบคืออะเซตะมิโนเฟนอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้จึงควรศึกษาฉลากยา เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้รับยาเกินขนาดโดยไม่รู้ตัว อีกหนึ่งคําเตือน คือ ถ้าคุณเป็นผู้ที่เป็นโรคตับ หรือดื่มแอลกอฮอล์เกินวันละสามดื่ม หลีกเลี่ยงไม่ใช้ยานี้จะดีกว่าครับ

โดยทั่วไปแล้ว คําแนะนําของผมสําหรับผู้ใหญ่คือเลือกตามชอบครับ คุณมักพบว่าในช่วงหนึ่งอาจกินยาตัวหนึ่งได้ผลดีกว่าตัวอื่น แต่ถ้าคุณมีปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาหมอของคุณว่า ควรเลือกใช้ยาตัวใดจะได้ผลดี และปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น ไอบิวโพรเฟนอาจรบกวนฤทธิ์ป้องกันโรคหัวใจของแอสไพริน

อาการแบบไหนควรใช้ยาอะไร?

  • ไข้ : อะเซตะมิโนเฟน หรือไอบิวโพรเฟน ข้อดีของไอบิวโพรเฟน คือกินทุกแปดชั่วโมง ในขณะที่อะเซตะมิโนเฟนคือทุกหกชั่วโมง จากการ ประมวลผลการใช้ยาในเด็กพบว่า ไอบิวโพรเฟนลดไข้ได้ดีกว่าอะเซตะมิโนเฟน
  • ปวดศีรษะ : อะเซตะมิโนเฟน หรือไอบิวโพรเฟน ผมชอบฤทธิ์ ข้างเคียงของอะเซตะมิโนเฟน มากกว่าไอบิวโพรเฟน หรือยา NSAIDs ตัวอื่นๆ เพราะตราบใดที่ไม่กินยาเกินขนาดก็แทบจะไม่อันตราย นอกเหนือ จากประเด็นนี้ ทั้งสองตัวก็ดีทั้งคู่ มีผลการศึกษาบางอันที่เสนอว่า กาเฟอีน ช่วยลดการใช้ยาแก้ปวดเหล่านี้ได้ แต่ผมคิดว่าคงต้องระวังไว้ด้วย เพราะ การถอนฤทธิ์ของกาเฟอีนก็ทําเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้เช่นกัน
  • กล้ามเนื้อระบม ปวด และปวดประจําเดือน : ไอบิวโพรเฟน ฤทธิ์ใน การลดการอักเสบของยานี้ทําให้เป็นยาตัวโปรดของผมเลยครับ 
  •  เมาค้าง : ไอบิวโพรเฟนหรือแอสไพริน โปรดจําไว้ว่า อะเซตะมิโนเฟน นั้นมีพิษต่อตับ หากคุณดื่มหนักเกินควรอยู่แล้ว ให้เวลาตับได้พัก และ เลือกใช้ยาตัวอื่นแทน

บทสรุปของหมอเบซเซอร์

ยาแก้ปวดลดไข้นั้นไม่ได้เหมือนกันทุกตัว จึงเรียนรู้ข้อดีและผลข้างเคียงของยา แต่ละตัวและใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับยาซื้อเองตัวอื่น ๆ ต้องให้ แน่ใจว่าคุณไม่ได้กินยาเกินขนาด แม้ว่ามันจะไม่จัดอยู่ในประเภทยาที่ต้องมีใบสั่งจาก แพทย์ แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่หากกินมากเกินควร

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์  ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Common Side Effects of Painkillers & OTC Pain Relief Medication. WebMD. (https://www.webmd.com/pain-management/pain-medication-side-effects)
Painkillers | What are they and how do they work?. Patient. (https://patient.info/treatment-medication/painkillers)
Pain Relievers: MedlinePlus. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/painrelievers.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป