กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เจ็บแผลผ่าตัดหลังคลอดเกิดจากสาเหตุอะไร วิธีการดูแลตนเอง และการใช้ยาหรือสมุนไพร

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เจ็บแผลผ่าตัดหลังคลอดเกิดจากสาเหตุอะไร วิธีการดูแลตนเอง และการใช้ยาหรือสมุนไพร

คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนไม่สามารถคลอดลูกตามธรรมชาติได้ อาจจะมาจากสาเหตุที่ทารกตัวใหญ่ ไม่กลับหัวหรืออยู่ในท่าที่จะคลอดเองได้ อีกทั้งยังมีปัญหาที่ตัวคุณแม่เองอย่างเช่นโรคประจำตัว ส่งผลให้การคลอดต้องกระทำด้วยวิธีผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และทารก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีคลอดธรรมชาติแล้ว แผลผ่าตัดจะหายช้าและมีปัญหาการเจ็บแผลผ่าตัดหลังคลอดได้มากกว่า

เจ็บแผลผ่าตัดหลังคลอดเกิดจากสาเหตุอะไร

  • เกิดจากวิธีการผ่าตัด การผ่าตัดคลอดผ่านหน้าท้องเป็นแนวตั้ง จะทำให้เจ็บแผลมากกว่าการผ่าตัดตามแนวบิกินีไลน์ เพราะลุกนั่งลำบากและส่งผลให้เจ็บแผลได้ง่าย
  • มดลูกมีการหดรัดตัว อาการนี้มักเกิดขึ้นหลังผ่าตัดคลอดใหม่ๆ แต่หลังจากนั้นอาการจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ
  • การยกของหนัก รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องเกร็งหน้าท้องมากหรือการขยับตัวผิดท่า ทำให้แผลที่หน้าท้องนั้นมีการยืดขยาย
  • แผลเกิดการติดเชื้อ โดยแผลผ่าตัดคลอดมีอาการนูนแดงและบวมขึ้นเรื่อยๆ บางรายพบว่ามีหนองไหลออกมา นั่นแสดงว่าแผลมีอาการอักเสบและติดเชื้อ ซึ่งอาการแบบนี้จะยิ่งทำให้คุณแม่เจ็บปวดมาก

วิธีการดูแลตนเองหลังจากผ่าตัดคลอด

  • ควรขยับตัวให้บ่อย หลังการผ่าตัดคลอดคุณแม่ควรลุกนั่งหรือค่อยๆ เดิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผังพืดไปยึดเกาะอวัยวะที่อยู่ในช่องท้อง และยังเป็นวิธีป้องกันการเกิดแผลนูนที่ส่งผลให้เกิดการเจ็บแผลหรือท้องผูกเรื้อรังได้
  • ใช้ผ้ารัดท้อง เพื่อเป็นการลดการขยับของแผลผ่าตัดคลอด และเป็นการช่วยพยุงหลังเพื่อลดการเจ็บแผลลงได้
  • ห้ามแกะปลาสเตอร์ แพทย์มักแปะปลาสเตอร์ปิดแผลไว้ คุณแม่สามารถปิดไว้ได้จนกว่าจะถึงวันนัดของแพทย์ โดยไม่ต้องแกะออกทำความสะอาดแผล อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเปียกน้ำขณะอาบน้ำด้วย
  • รับประทานโปรตีน การผ่าตัดหลังคลอดไม่มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร คุณแม่สามารถรับประทานโปรตีนได้ตามปกติ เพื่อเป็นการช่วยทำให้แผลเต็มและหายไวขึ้น
  • ห้ามเกร็งหน้าท้อง คุณแม่จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างหลังการผ่าตัดคลอด อย่างเช่นไม่ยกของหนักๆ หากรู้สึกว่ามีการยืดแผลหรือตึงที่แผลจะต้องหยุดทันที
  • ดื่มน้ำเปล่ามากๆ คุณแม่ผ่าคลอดมักจะมีอาการท้องผูก เพราะลำไส้จะต้องใช้เวลาในการคืนสภาพ ดังนั้นการดื่มน้ำเปล่าจะช่วยให้ระบบขับถ่ายของคุณแม่เป็นปกติเร็วขึ้น เพื่อที่ขณะขับถ่ายอุจจาระจะได้ไม่ต้องเบ่งจนกระเทือนแผลแล้วรู้สึกเจ็บได้
  • รีบกลับมาพบแพทย์ หากพบความผิดปกติใดๆ เช่น มีของเหลวซึมออกจากบาดแผล หรือหลังการผ่าตัดคลอดผ่านไปหลายวันแล้วมีอาการปวดไม่ลดน้อยลง ยังคงรู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้ควรจะต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป 

การใช้ยาหรือสมุนไพร

หลังการคลอดหรือผ่าตัดใหม่ๆ จะต้องมีอาการปวดแผลอย่างแน่นอน ในขณะที่อยู่โรงพยาบาลแพทย์มักจะให้ยาแก้ปวดทางสายน้ำเกลือ แต่เมื่อกลับมาพักที่บ้านแล้วก็อาจมียาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดบ้าง อย่างเช่นยาพาราเซตามอลที่ไม่ส่งผลเสียกับการให้นมลูกของคุณแม่ โดยคุณแม่ก็ควรรับประทานยาเมื่อรู้สึกปวดแผลมากๆ เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรับประทานยาสมุนไพรเพื่อขับน้ำคาวปลายังคงไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะร่างกายของคุณแม่ทุกคนสามารถขับออกมาได้หมดตามธรรมชาติอยู่แล้ว อีกทั้งยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณขับน้ำคาวปลาต่างๆ มักมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งหากคุณแม่ให้นมลูกด้วยนมตนเอง แอลกอฮอล์นี้จะเข้าสู่ร่างกายลูกและนานวันเข้าก็อาจส่งผลถึงพัฒนาการทางสมองของลูกได้ รวมทั้งตับของลูกจะทำงานหนักอีกด้วย ซึ่งนับว่ามีผลเสียมากกว่าผลดี

นอกจากนี้การดูแลตนเองหลังผ่าตัดคลอดควรมีการออกกำลังเบาๆ ตามสมควร เพื่อเป็นการกระตุ้นน้ำนม และควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบหมู่ตามหลักโภชนาการ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาแข็งแรงได้ไวและฟื้นตัวได้เร็วอย่างครบวงจร


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Herb Use, Vitamin Use, and Diet in Low Income Postpartum Women. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3630472/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป