ทบทวนเรื่องการบาดเจ็บทางสมองและความบกพร่องในการเรียนรู้

การบาดเจ็บทางสมองอาจเป็นสาเหตุของความบกพร่องในการเรียนรู้หรือทำให้ความบกพร่องในการเรียนรู้แย่ลงได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทบทวนเรื่องการบาดเจ็บทางสมองและความบกพร่องในการเรียนรู้

การบาดเจ็บทางสมองและความบกพร่องในการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กันเป็นปัญหาร้ายแรงในประเทศของเรา สถาบันประสาทวิทยาอเมริกัน (The American academy of neurology) รายงานว่ามีคนมากถึง 1.5 ล้านคนที่มีการบาดเจ็บทางสมองในสหรัฐอเมริกา และเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการในเด็กและผู้ใหญ่ เด็กเสียชีวิตจากสาเหตุของการบาดเจ็บทางสมองมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ และอุบัติการณ์ดังกล่าวก็กำลังเพิ่มขึ้น การบาดเจ็บจากจักรยานยนต์และ ATV มีส่วนในการเพิ่มขึ้นของการบาดเจ็บทางสมองของวัยรุ่นในปัจจุบัน 

การบาดเจ็บทางสมองคืออะไร

คำว่าการบาดเจ็บทางสมอง (brain injury) หมายถึง ความเสียหายที่เกิดกับสมองซึ่งเป็นผลมาจากการบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นหลังคลอด สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการบาดเจ็บทางสมองคือการบาดเจ็บที่ศีรษะโดยอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยการบาดเจ็บทางสมองมีหลายชนิดและมีผลที่ต่างกันไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • สมองกระทบกระเทือน (concussions) เกิดขึ้นจากแรงกระทำทันที หรือการสะบัดกระชากอย่างรุนแรง เช่น การหยุดทันทีหลังจากการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง
  • เนื้อสมองช้ำ (contusion) คือรอยช้ำที่เนื้อสมอง
  • การบาดเจ็บของสมองส่วนที่ถูกกระแทกและส่วนตรงข้ามกับที่ถูกกระแทก (coup-countrecoup injury) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการบาดเจ็บเพิ่มเติมในส่วนของสมองที่อยู่ตรงข้ามกับส่วนที่ได้รับบาดเจ็บตอนแรก สมองอยู่ภายในกะโหลกศีรษะและมีถุงน้ำล้อมรอบอยู่ระหว่างสมองและกะโหลก เมื่อเกิดอุบัติเหตุ แรงกระแทกตั้งต้นจะทำให้เกิดการบาดเจ็บในตำแหน่งที่ถูกกระแทก หลังจากนั้นสมองจะเคลื่อนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะและไปชนฝั่งตรงข้ามของกะโหลก ทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำสอง การบาดเจ็บประเภทนี้เกิดขึ้นจากการหยุดทันทีหลังจากเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง และยังพบได้ในผู้ที่บาดเจ็บจากการเขย่าอย่างรุนแรง การบาดเจ็บของสมองอาจเป็นมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บซ้ำอีกก่อนที่จะหายดีจากการบาดเจ็บครั้งแรก 

อาการที่พบได้บ่อยในการบาดเจ็บทางสมองคืออะไร ?

การบาดเจ็บทางสมองมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงจนถึงระดับที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ใครก็ตามที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะควรได้รับการตรวจทันทีโดยแพทย์ที่สามารถตัดสินใจได้ว่าผู้บาดเจ็บจำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินหรือไม่ ยิ่งการรักษาเริ่มต้นเร็วเท่าไร ก็ยิ่งสำเร็จได้มากขึ้นเท่านั้น สัญญาณของการบาดเจ็บทางสมองนั้นได้แก่อาการดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • หมดสติ
  • พูดช้าลง
  • สับสน
  • ความจำเสื่อมหรือปัญหาด้านความจำอื่น ๆ
  • การตอบสนองทางกายหรือทางจิตที่ช้ากว่าปกติ
  • การมองเห็นถูกรบกวน
  • การมองอย่างเลื่อนลอย

ในรายที่มีความเสียหายระดับปานกลางถึงรุนแรง อาจเกิดการชัก สภาพไม่รู้สึกตัว (โคม่า) การคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกติไป และการเสียชีวิต 

ความบกพร่องด้านการเรียนรู้จากการบาดเจ็บทางสมอง

นักเรียนหลายคนที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่จำเพาะ (specific learning disabilities-SLDs) ประเภทและความรุนแรงของความพิการจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บและส่วนของสมองที่ได้รับผลกระทบ หากนักเรียนมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้มาก่อนการบาดเจ็บ ก็เป็นไปได้ว่าความบกพร่องด้านการเรียนรู้อาจแย่ลงไปอีก 

โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุ

การรักษาสำหรับการบาดเจ็บทางสมองมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของการบาดเจ็บ การรักษาอาจรวมถึงการผ่าตัด การพักรักษาในโรงพยาบาลระยะยาว และการรักษา เช่น กายภาพบำบัด การให้คำแนะนำ พฤติกรรมบำบัด อาชีวบำบัด และการบำบัดการพูด ปีแรกหลังการบาดเจ็บของผู้ป่วยถือว่ามีความสำคัญที่สุดของการพัฒนาการฟื้นตัวในระยะยาวของผู้ป่วย

เพื่อสร้างโปรแกรมการศึกษาที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล เป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักการศึกษาที่ต้องทำงานร่วมกับแพทย์ที่รักษาในการสร้างแผนการเพื่อย้ายนักเรียนกลับสู่ห้องเรียน การทำงานร่วมกันของทุกคนกับนักเรียนเพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารตลอดปีแรกของการฟื้นตัวเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด และการสอนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ (specially designed instruction-SDI) สำหรับความต้องการจำเพาะของนักเรียนก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gerhard Whitworth, R.N. , What to know about contusions (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324266.php), January 23, 2019
medlineplus, concussion (https://medlineplus.gov/concussion.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป