กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาพรวม-ยาที่ใช้ระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาพรวม-ยาที่ใช้ระหว่างตั้งครรภ์

ภาพรวม-ยาที่ใช้ระหว่างตั้งครรภ์

การพิจารณาเลือกใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์จะพิจารณาจากความจำเป็น และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งจากการใช้ยา และไม่ใช้ยา เช่นในโรคบางโรคอาจจำเป็นต้องใช้ยารักษาแม้ว่ายานั้นอาจส่งผลต่อทารก เช่น โรคลมชัก เพราะการไม่รักษาจะทำให้มารดาและทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายมากกว่า เป็นต้น ดังนั้นก่อนใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพร ใดๆ ก็ตาม ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำผู้หญิงให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์หากเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ (ไตรมาสแรก) เพราะเป็นช่วงระยะเวลาในการสร้างอวัยวะของทารก แต่ในบางครั้งคุณอาจต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรคบางโรค เช่น ความดันโลหิตสูง หรือ หอบหืด เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในลำดับแรกแพทย์จะพิจารณาว่าการใช้ยารักษาโรคกับคุณนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการไม่รักษาโรคหรือไม่ หากพิจารณาแล้วพบว่าคุณหรือลูกของคุณจะเกิดปัญหาขึ้นได้หากไม่รักษาโรคนั้น แพทย์จึงจะทำการรักษาโดยสั่งจ่ายยาหรือแนะนำยาที่มีขายตามร้านขายยาให้กับคุณ โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกยาที่เหมาะสมและมีความปลอดภัยให้กับคุณ ตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย) บางชนิดมีความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ในขณะที่บางชนิดไม่ปลอดภัย

ยาอะไรบ้างที่สามารถใช้ขณะตั้งครรภ์ได้?

เป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่ายาอะไรบ้างที่ปลอดภัยสำหรับทารกในครรภ์ เพราะว่ายาส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ เพราะว่านักวิจัยคิดว่ายานั้นอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์จึงไม่ทำการวิจัย แต่ว่าก็มียาบางชนิดที่มีการใช้ในหญิงตั้งครรภ์เป็นระยะเวลานานพอที่แพทย์จะตัดสินว่ายานั้นมีความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์

ยาที่โดยทั่วไปแพทย์บอกว่ามีความปลอดภัยสำหรับการใช้ระหว่างตั้งครรภ์ มีดังนี้:

  • พาราเซตามอล (paracetamol) สำหรับลดไข้ บรรเทาปวด
  • เพนนิซิลิน (penicillin) และยาปฏิชีวินะอื่นบางชนิด
  • ยาต้านเชื้อเอชไอวีบางรายการ
  • ยาแก้แพ้บางรายการ เช่น ลอลาทาดีน (loratadine) และ ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)
  • ยาสำหรับรักษาอาการหวัดบางชนิดที่มีขายตามร้านขายยา
  • ยาบางชนิดสำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ส่วนใหญ่ของยารักษาโรคหอบหืด
  • ยาบางชนิดสำหรับรักษาโรคซึมเศร้า

ถ้าคุณวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังรับประทานในขณะนี้ก่อนที่จะตั้งครรภ์ เพราะยาบางชนิดที่คุณกำลังรับประทานในปัจจุบันอาจปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ก็ได้ ซึ่งแพทย์อาจให้คุณหยุดยาดังกล่าวหรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นที่ปลอดภัยกว่าก่อนที่จะตั้งครรภ์ ยาบางชนิดแม้ไม่ปลอดภัยที่จะใช้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) แต่อาจมีความปลอดภัยหลังช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้

ยาอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงขณะตั้งครรภ์?

ยาบางชนิดมีข้อมูลว่าเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ หรือทำให้เกิดปัญหาอื่นใด ในบางครั้งโรคบางโรคอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยยา เพราะหากหยุดยาจะทำให้มารดาและทารกในครรภ์มีความเสี่ยงมากกว่าการใช้ยา ตัวอย่างเช่น การใช้ยาสำหรับรักษาโรคลมชัก ดังนั้นต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเกี่ยวกับยาใดๆ ก็ตามที่คุณกำลังใช้อยู่ ถ้าคุณกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ตาม

ยาบางชนิดต่อไปนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์ ได้แก่:

  • ยารักษาสิวชื่อ ไอโสเตรติโนอิน (isotretinoin) โดยยานี้เป็นยาที่มีแนวโน้มสูงที่จะทำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือในหญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม เอจ อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) เช่น อีนาลาพริล (enalapril), ลิซิโนพริล (lisinopril)
  • ยาเพื่อควบคุมอาการชักบางชนิด เช่น วาโปรอิก แอซิด (valproic acid)
  • ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ด๊อกซี่ซัยคลิน (doxycycline) และ เตตร้าซัยคลิน (tetracycline)
  • ยาเมโทเทรกเซท (methotrexate) ซึ่งบางครั้งยานี้ใช้รักษาโรคข้ออักเสบ
  • ยาวาฟาริน (warfarin) ซึ่งใช้ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
  • ยาลิเที่ยม (lithium) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้วที่มีอาการซึมเศร้าเด่น
  • ยาอัลปราโซแลม (alprazolam), ไดอะซีแปม (diazepam) และยาชนิดอื่นบางชนิดที่ใช้รักษาอาการวิตกกังวล
  • ยาพาร็อกซีทีน (paroxetine) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า แลโรคอื่นๆ
  • ยาแก้ปวดที่มีขายตามร้านขายยา เช่น แอสไพริน (aspirin) และ ibuprofen-nsaid' target='_blank'>ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) และ นาพ็อกเซน (naproxen) โดยความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของทารกจากยาเหล่านี้อยู่ในระดับต่ำ

ระหว่างตั้งครรภ์สามารถรับประทานอาหารเสริมจากสมุนไพรและวิตามินได้หรือไม่?

ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับอาหารเสริมจากสมุนไพรที่กำลังรับประทานอยู่ โดยไม่รับประทานวิตามิน อาหารเสริม หรือสมุนไพรใดๆ ก็ตามระหว่างการตั้งครรภ์จนกว่าจะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรแล้วว่าสามารถรับประทานได้

สำหรับผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ในขณะนี้ควรรับประทานวิตามินรวมสำหรับการตั้งครรภ์ซึ่งประกอบด้วยกรดโฟลิก (folic acid) โดยกรดโฟลิกเป็นวิตามินที่มีความสำคัญมากทั้งในช่วงก่อนการตั้งครรภ์และช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ คุณสามารถหาซื้อกรดโฟลิกสำหรับบำรุงครรภ์ได้จากร้านขายยาทั่วไป หรือคุณอาจได้รับมาในสูตรวิตามินรวมสำหรับการตั้งครรภ์ซึ่งแพทย์เป็นผู้สั่งให้กับคุณ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับชนิดของวิตามินที่คุณควรรับประทาน ในบางกรณีแพทย์อาจจ่ายยาธาตุเหล็กและกรดโฟลิกให้เพิ่มต่างหากด้วย

https://www.webmd.com/baby/tc/medicines-during-pregnancy-overview#1


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medicines in pregnancy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6587138/)
Taking Perscription Medication and OTC Medicines During Pregnancy. WebMD. (https://www.webmd.com/women/pregnancy-medicine#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)