นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป
เขียนโดย
นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป

เชื้อราในหู (Otomycosis)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เชื้อราภายในช่องหู (Otomycosis) หมายถึง หูชั้นนอกมีการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อรา อาจเกิดขึ้นที่หูเพียงข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ เชื้อราในช่องหูมักพบในประเทศที่มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นและร้อนชื้น พบในคนที่มีประวัติว่ายน้ำบ่อยๆ ชอบเล่นกีฬาทางน้ำ มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งจะทำให้พบการติดเชื้อราภายในช่องหูได้มากกว่าคนปกติทั่วไป

สาเหตุการเกิดเชื้อราในช่องหู

การติดเชื้อราในช่องหูเกิดได้จากเชื้อราหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ Aspergillus และรองลงมาคือ Candida

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เชื้อราสามารถเจริญได้ดีในภูมิอากาศแบบอบอุ่น และร้อนชื้น จึงเป็นสาเหตุให้ประชากรในประเทศที่มีภูมิอากาศดังกล่าวพบการติดเชื้อราในช่องหูได้มากกว่าประเทศที่มีภูมิอากาศแบบอื่นๆ นอกจากนี้ตัวกลางที่ทำให้เชื้อราเข้าไปในช่องหูได้ง่ายที่สุดคือน้ำ ดังนั้นผู้ที่เล่นกีฬาทางน้ำบ่อยๆ หากแหล่งน้ำนั้นไม่สะอาด มีเชื้อราเจือปน ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อราในช่องหูได้มากยิ่งขึ้น

อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญคือเรื่องของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัวเรื้อรังมาก เมื่อเชื้อราเข้ามาภายในช่องหูได้แล้ว ร่างกายจะขาดภูมิคุ้มกันที่จะไปต้านการติดเชื้อรา ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตภายในช่องหูได้นั่นเอง

มีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลทำให้เป็นโรคนี้ได้อีก เช่น การเกาจนมีแผลหรือหูอักเสบบ่อยๆ การเสียดสีของอุปกรณ์ช่วยฟังบริเวณหู การใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดหู การมีแผลหรือการอักเสบเรื้อรังบริเวณหู การมีขี้หูน้อย ทำให้ขาดตัวช่วยในการป้องกันการติดเชื้อรา เป็นต้น

อาการของเชื้อราในช่องหู เป็นอย่างไร ทำให้หูอื้อหรือไม่? 

อาการเชื้อราในช่องหูมีได้หลากหลายอย่าง ที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ได้ยินเสียงลดลง รองลงมาได้แก่อาการคันในรูหู และปวดเจ็บบริเวณหูชั้นนอก ตามลำดับ อาการอื่นๆที่พบได้ในโรคนี้ เช่น อาการหูอื้อ ได้ยินเสียงในหูผิดปกติ หูชั้นนอกอักเสบ บวมแดง มีของเหลวไหลออกจากรูหู

อาจพบเพียงอาการเดียวหรือมีหลายอาการร่วมกันได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะพบเป็นแค่หูเพียงข้างเดียว แต่บางกรณีอาจพบเป็นที่หูทั้งสองข้างพร้อมๆ กันได้เช่นกัน

วิธีวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องหู

นอกจากซักประวัติ แพทย์จะทำการตรวจดูภายในรูหู โดยใช้อุปกรณ์ส่องหู (Otoscope) ส่องดูบริเวณหูชั้นนอกและเยื่อแก้วหู หากมีการติดเชื้อราจะเห็นได้ชัดเจน แต่ถ้าหากแพทย์สงสัยว่ามีอักเสบติดเชื้อที่แยกได้ลำบากระหว่างการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อรา แพทย์จะใช้อุปกรณ์เข้าไปเก็บสิ่งส่งตรวจไปตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษาเชื้อราในช่องหูที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้ำส้มสายชูช่วยได้จริงหรือไม่?

เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่ามีผู้ป่วยมีการติดเชื้อราในช่องหู แพทย์จะทำความสะอาดในรูหู โดยการใช้อุปกรณ์เฉพาะใส่เข้าไปคีบเชื้อราและซากเซลล์ที่ตายแล้วออกมา จากนั้นทำการล้างและดูดสิ่งสกปรกภายในรูหูออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อเปิดช่องรูหูให้โล่ง พร้อมที่จะให้ยาได้เข้าไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่

ยาที่ใช้หยอดหูเพื่อรักษาเชื้อราในช่องหู ได้แก่ ยาต้านเชื้อราต่างๆ เช่น โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ไมโคนาโซล (Miconazole) แอมโฟเทอริซินบี (Amphotericin B) หรืออาจใช้ยาที่มีส่วนผสมของกรดบางชนิด เช่น กรดซาลิซิลิก (Salicylic acid) กรดแอซีติก (Acetic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่ากรดน้ำส้ม

กรดต่างๆ เหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้เชื้อราถูกกำจัดได้ง่ายขึ้นได้ นอกจากการรักษาโดยการใช้ยาหยอดหูแล้ว หากมีการติดเชื้อรารุนแรง และไม่สามารถรักษาโดยการใช้ยาหยอดหู แพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยาต้านเชื้อรา เช่น ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) โวลิโคนาโซล (Voriconazole)

ส่วนความเชื่อเรื่องใช้น้ำส้มสายชูรักษาโรคเชื้อราในช่องหูนั้น ถึงแม้ว่ากรดแอซีติกหรือกรดน้ำส้มจะเป็นส่วนผสมในยาและมีส่วนช่วยในการรักษาโรคเชื้อราในช่องหูได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูหยอดหูเพื่อรักษาโรคดังกล่าว เนื่องจากกรดแอซิกในน้ำส้มสายชูมีความเข้มข้นที่ไม่เหมาะสมต่อการรักษาโรค และสิ่งเจือปนอื่นๆ ในน้ำส้มสายชูอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหูได้

การป้องกันโรคเชื้อราในช่องหู

เชื้อราในช่องหูสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ใส่ที่อุดหู (Earplug) เพื่อป้องกันน้ำในแหล่งน้ำที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อรา ไม่ให้เข้าไปภายในรูหูได้
  • ไม่ใช้ไม้พันสำลีหรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ เข้าไปทำความสะอาดภายในรูหู เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อราได้ นอกจากนี้ขี้หูภายในรูหูยังมีประโยชน์ในการป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียที่ก่อโรคได้อีกด้วย
  • เวลาน้ำเข้าหู ให้เอาสำลีใส่ไว้ที่ด้านนอกรูหู แล้วนอนตะแคงเอาหูข้างที่มีน้ำลง เพื่อให้น้ำออกจากหู ไม่ควรปล่อยน้ำให้ค้างอยู่ในรูหูนานๆ
  • หลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกา บริเวณหูและรูหู

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)