กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุอย่างมาก เพราะนอกจากจะต้องทุกข์ทรมานจากอาการปวด บวม และอักเสบของเข่าแล้ว ยังทำให้มีอาการปวดและเจ็บข้อขณะเคลื่อนไหวได้ จนทำให้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมไม่อยากจะเคลื่อนไหวข้อ จนส่งผลให้ข้อติดหรือข้อผิดรูปไปในที่สุด การมีความรู้และความเข้าใจเรื่องโรคข้อเสื่อมจึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญดังนี้

โรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร

โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่เกิดจากกระดูกอ่อนของข้อเข่า หรือ ผิวข้อสึกกร่อน เป็นผลให้ข้อต่อเสียดสีกันจนเกิดการอักเสบ ปวด บวม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา และผ่าเข่า วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,542 ลดสูงสุด 77%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยปกติแล้ว กระดูกอ่อนที่ฉาบผิวข้อต่อ มีหน้าที่ในการป้องกันการเสียดสีกันของกระดูกข้อเมื่อเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การลุกนั่ง การยืน การเคลื่อนไหวเหล่านี้ข้อต่อจะทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง เมื่อกระดูกอ่อนที่ข้อต่อผุผังหรือบางลง กระดูกข้อต่อก็จะเสียดสีกันจนเกิดการอักเสบ  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังนี้

อาการและอาการแสดงของโรคข้อเข้าเสื่อม

อาการและอาการแสดงของผู้ที่มีภาวะข้อเข้าเริ่มเสื่อม แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. อาการปวด บวม ที่ข้อเข่า  ได้แก่ อาการปวดบริเวณข้อเข่าขณะเดิน หรือขณะเดินขึ้นลงบันได บางท่านอาจมีอาการปวดตอนกลางคืนในขณะที่นอน หรือ ปวดขณะที่นั่งพักได้ หรือมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อยืนลงน้ำหนักนานๆ ในรายที่มีการอักเสบของข้อเข่าจะมีอาการข้อเข่าบวมเป็นๆ หายๆ

2. อาการข้อฝืด หรือ ตึงข้อขณะเคลื่อนไหว เช่นมีอาการหลังตื่นนอน ไม่สามารถขยับข้อเข้าได้ตามปกติ หรือ มีอาการขณะเปลี่ยนท่าเช่น ปวดเข่าเมื่อลุกขึ้นยืน หรือ เดิน รู้สึกเหมือนข้อเข่าติดขยับลำบาก มีอาการตึงๆ ข้อเข่า

3. ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าลดลง เช่น  ไม่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ ขึ้นลงรถลำบาก การยกขาสวมใส่กางเกงลำบาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้คล่องแคล่วตามเดิม

อาการดังกล่าวสามารถพบได้ในผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม หากปล่อยไว้นาน จะเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ ข้อเข่าผิดรูป เช่น ขาโก่งจากข้อเข่าเสื่อมได้  ดังนั้น สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคข้อเสื่อมมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม เกิดจากการใช้งานขอเข่าอย่างหนักและต่อเนื่อง จนทำให้กระดูกอ่อนข้อเข่าเสื่อมหรือ แตกกร่อน จนข้อเสียดสีกันและเกิดการอักเสบ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นมีดังนี้

  1. อายุที่มากขึ้น ข้อเข่าเสื่อมตามวัย
  2. น้ำหนักตัว ผู้สูงอายุที่น้ำหนักตัวมาก ข้อจะรองรับน้ำหนักมาก
  3. ทำให้ข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะข้อหลักๆ ที่รองรับน้ำหนักตัว คือ ข้อเข่า ข้อหลัง ข้อสะโพก
  4. การเคลื่อนไหว หรือ ปรับเปลี่ยนท่าที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ข้อเข่า รวมถึงข้อต่างๆ ทำงานหนักขึ้น เช่น การนั่งยองๆ กับพื้นนานๆ การผลุดลุกนั่งบ่อยๆ  การยืนที่ทิ้งน้ำหนักตัวลงขาข้างใดข้างหนึ่งนานๆ รวมถึงการยกของหนักที่ส่งผลโดยตรงต่อข้อต่อ
  5. การสูญเสียกล้ามเนื้อ จะทำให้ข้อต่อต่างๆ ใช้แรงในการเคลื่อนไหวมากขึ้น เพราะโดยปกติการเคลื่อนไหวร่างกายจะใช้แรงจาก การทำงานของกล้ามเนื้อร่วมกับกระดูกและข้อ ดังนั้น คนที่ไม่ออกกำลังกาย หรือ ผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหารจะเริ่มเกิดการสลายโปรตีนในร่างกายและสูญเสียกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กระดูกและข้อต่อต่างๆ ทำงานหนักขึ้น จนเป็นโรคข้อเสื่อมในที่สุด
  6. การรับประทานอาหารและยา ที่มีผลต่อข้อเข่าเสื่อม เช่น การ

รับประทานอาหารที่มีคอลลาเจนและแคลเซียมจะช่วยบำรุงกระดูกและข้อ หากขาดสารอาหารจำเป็นเหล่านี้ โอกาสที่ข้อต่อต่างๆ จะเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้น การรักษาและการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้ดังนี้

การรักษาและการป้องกัน

การรักษาโรคเข้าเสื่อม ขึ้นกับระยะของการเสื่อมของข้อและระดับความรุนแรง  ดังนั้น การรักษาจึงประกอบด้วย การรักษาประคับประคองอาการ และการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

การมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุดในการวินิจฉัยโรคและความรุนแรง ในกรณี ผู้สูงอายุที่มีอาการข้อเสื่อมไม่มาก แพทย์จะแนะนำให้ลดการใช้งานข้อ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อข้อ ร่วมกับการประคบอุ่นหรือสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวมได้ และการรับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง

หากอาการเสื่อมของข้อเข่า นั้น มีความรุนแรงมากจนผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดช่วยบรรเทาอาการ รวมทั้งเปลี่ยนข้อเข่า โดยใส่ข้อเข่าเทียมให้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีสุดท้าย เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในกรณีที่ผู้สูงอายุอาจมีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการผ่าตัด รวมทั้งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก จะเลือกใช้ในผู้ป่วยที่ข้อเข้าเสื่อมจนข้อถูกทำลายอย่างมากแล้วเท่านั้น

ดังนั้น การรู้จักโรคข้อเข้าเสื่อมแล้ว พยายามดูแลและรักษาข้อ ไว้ให้ใช้งานนานๆ ใช้ข้ออย่างถูกวิธี ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุต่อไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Osteoarthritis Hip Replacement in the Elderly. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/8513-hip-replacement-in-the-elderly)
Imaging of Osteoarthritis in Geriatric Patients. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4859342/)
Osteoarthritis: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/osteoarthritis/guide/osteoarthritis-basics#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นอย่างไร? รวมทุกข้อมูลที่ควรรู้ทั้งหมด
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นอย่างไร? รวมทุกข้อมูลที่ควรรู้ทั้งหมด

เมื่อข้อเข่าใช้การไม่ได้ดั่งเดิม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพื่อให้กลับมาใช้งานเข่าได้ดังเดิม

อ่านเพิ่ม