โรค Osgood-Schlatter disease

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรค Osgood-Schlatter disease

Osgood-Schalatter disease นั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าในเด็กโตและวัยรุ่นชั่วคราว โดยเฉพาะในผู้ที่เล่นกีฬา

ในระหว่างการทำกิจกรรมที่ต้องมีการกระโดดและงอบ่อยครั้งเช่นฮอกกี้, บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล ฟุตบอล สเก็ต ยิมนาสติกหรือบัลเล่ต์ กล้ามเนื้อต้นขาจะต้องมีการดึงต้านกับกระดูกหัวเข่าและเส้นเอ็นที่เข่า เส้นเอ็นที่เข่านั้นจะเกาะติดอยู่กับกระดูกหน้าขา ซึ่งถ้าเกิดการดึงต้านเส้นใยเหล่านี้ จะทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นหรือใกล้กับบริเวณกระดูกที่เป็นที่เกาะ ทำให้เกิดอาการปวดและบวมบริเวณดังกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บริเวณที่เอ็นเข่านั้นยึดเกาะกับกระดูกหน้าขานั้นเป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียดและการบาดเจ็บเวลาที่กระดูกนั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นอาการของโรคนี้จึงมักจะเกิดในช่วงที่วัยรุ่นมีการยืดตัว ในเด็กหญิงมักจะเกิดระหว่างอายุ 10-16 ปี ในผู้ชายมักจะเกิดช้ากว่าคือระหว่าง 11-18 ปี มีเด็กวัยรุ่นที่เป็นนักกีฬาประมาณ 20 คนที่เป็นโรคนี้ และมักจะพบในผู้ชายได้บ่อยกว่าผู้หญิง

ส่วนใหญ่อาการนั้นมักจะค่อยๆ เป็นจากการที่เกิดความเครียดกระทำต่อเอ็นเข่าซ้ำๆ แต่อาจจะเกิดจากการบาดเจ็บครั้งเดียวที่หัวเข่าก็ได้ แต่น้อยกว่า

อาการ

อาการของโรค Osgood-Schalatter disease ประกอบด้วย

  • ปวดและบวมบริเวณเนื้อเยื่อใกล้กับส่วนบนของกระดูกหน้าขาใต้ต่อเข่า
  • แดงและอุ่นบริเวณใต้เข่า
  • คลำได้กระดูกนูนที่บริเวณส่วนบนของกระดูกหน้าขา

อาการปวดที่เกิดจากโรคนี้นั้นอาจจะเป็นอาการปวดไม่รุนแรงที่เป็นเฉพาะเวลาที่เล่นกีฬา หรืออาจจะเป็นอาการปวดเรื้อรังรุนแรงที่ทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬาได้ตามปกติได้ อาการปวดนั้นอาจเกิดขึ้นระหว่างที่ขึ้นบันได คุกเข่า ย่อเข่า หรือเตะ มักเกิดที่เข่าข้างใดข้างหนึ่ง แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณ 20-30% ที่มีอาการทั้ง 2 ข้าง

การวินิจฉัย

แพทย์จะสงสัยว่าคุณเป็นโรคนี้จากอายุ อาการที่เข่า และประวัติการเล่นกีฬา เพื่อยืนยันการวินิจฉัย จะมีการตรวจบริเวณเข่าอย่างละเอียดเพื่อดูตำแหน่งที่เจ็บ อาการบวมและแดง และดูการเคลื่อนไหวของข้อ และอาจจะมีการตรวจการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกร่วมด้วย 

หากยังไม่มั่นใจ อาจมีการส่งตรวจเอกซเรย์ข้อเข่า ซึ่งอาจทำให้เห็นชิ้นกระดูกเล็กๆ ที่แยกออกมาจากกระดูกหน้าขา หรือความผิดปกติของแคลเซียมที่สะสมในเส้นเอ็น หากอาการปวดนั้นเรื้อรังหรืออาการบวมนั้นเกิดขึ้นทั่วๆ แพทย์จะทำการมองหาความผิดปกติอื่นๆ ในรูปเอกซเรย์ เช่นกระดูกหัก เนื้องอกหรือการติดเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบางราย แพทย์อาจมีการสั่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อประเมินเส้นเอ็นที่ข้อเข่าเพิ่มเติม

ระยะเวลาในการเป็นโรค

อาการปวดจากโรคนี้นั้นอาจเกิดขึ้นชั่วคราวในบางคน แต่ส่วนใหญ่มักจะมีอาการได้หลายเดือน และมักพบว่ามีอาการนาน 6-18 เดือน

การป้องกัน

คุณอาจจะสามารถป้องกันการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นได้โดยการอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นกีฬาโดยเฉพาะการยืดกล้ามเนื้อต้นขา และน่อง

การรักษา

โรคนี้สามารถหายได้เอง การรักษานั้นจะขึ้นกับความรุนแรงของอาการ

ถึงแม้ว่าอาการปวดเข่านั้นอาจจะทำให้คุณเล่นกีฬาได้ลำบาก แต่การเล่นกีฬานั้นก็ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด การเล่นกีฬาต่อเนื่องจะทำให้คุณคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในช่วงการฟื้นตัว ในระหว่างการทำกิจกรรม คุณสามารถปฏิบัติตัวต่อไปนี้เพื่อลดอาการ

  • ใส่อุปกรณ์ช่วยรับแรงกระแทกในรองเท้า
  • ประคบอุ่นเป็นเวลา 15 นาทีก่อนเล่นกีฬา
  • ประคบเย็น 20 นาทีหลังเลิกเล่นกีฬาและระหว่างวัน
  • ใส่เครื่องป้องกันที่เข่า
  • ยกขาสูงเวลาที่มีอาการปวด
  • ทานยาแก้ปวดเช่น ibuprofen เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบ
  • ยืดกล้ามเนื้อต้นขาวันละ 2-3 ครั้ง

ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อต้นขา ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อดึงต้านเส้นเอ็นในทิศทางเดียวกันและกระจายความเครียดที่ทำต่อเส้นเอ็น นักกายภาพอาจจะช่วยคุณได้ในเรื่องนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณมีอาการปวดเรื้อรัง อาจจะตจ้องหยุดเล่นกีฬาสักช่วงหนึ่งหรือใส่เฝือกเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์หากจำเป็น อย่างไรก็ตามการใส่เฝือกและสนับเข่านั้นควรหลีกเลี่ยงหากเป็นไปได้เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อนั้นอ่อนแรงและทำให้คุณฟื้นตัวได้ช้าลง

การผ่าตัดมักจะไม่ช่วยในส่วนมาก ในบางกรณีหากมีการแนะนำให้ผ่าตัด จะเป็นการผ่าตัดเพื่อนำชิ้นส่วนกระดูกที่แตกออก

เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์

หากคุณมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย แพทย์อาจจะส่งตัวคุณไปพบนักกายภาพหรือแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกเพื่อดูแลต่อเนื่อง

การพยากรณ์โรค

อาการส่วนมากของโรคนี้มักจะหายไปก่อนอายุ 18 ปี หรือเมื่อหยุดช่วงยืดตัวและกระดูกนั้นเริ่มคงที่ ภาวะอาจทำให้เกิดปุ่มกระดูกที่ไม่ทำให้เจ็บที่บริเวณใต้เข่าได้ ซึ่งหลังจากหายดีแล้ว พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 60% ที่เคยเป็นโรคนี้ที่กลับมามีอาการปวดเล็กน้อยเวลาคุกเข่า


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Osgood-Schlatter Disease (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/osgood.html)
Osgood-Schlatter Disease. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/a_to_z/osgood-schlatter-disease-a-to-z)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)