กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

น้ำมันมะกอกช่วยบรรเทาปัญหาท้องผูกได้จริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
น้ำมันมะกอกช่วยบรรเทาปัญหาท้องผูกได้จริงหรือ?

อาการ “ท้องผูก” ถือเป็นอาการทั่วไปที่บ่งบอกได้ว่าระบบย่อยอาหารกำลังมีปัญหา ซึ่งเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ คนที่ท้องผูกจะถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีอุจจาระที่แห้ง แข็ง เล็ก หรือถ่ายลำบาก มีหลายคนที่จะประสบอาการท้องผูก ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต เช่น ขณะเดินทาง ช่วงที่เปลี่ยนกิจวัตร หรือช่วงที่ทานอาหารบางชนิดที่อาจทำให้ขับถ่ายยากในระยะสั้น ฯลฯ

โดยทั่วไปแล้ว อาการท้องผูกไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรง แต่มันสามารถทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว เพราะมันอาจทำให้เราปวดท้อง ท้องอืด และคลื่นไส้ ในระยะสั้นอาการท้องผูกมักจะหายไปเองหลังจากที่เรากลับมามีกิจวัตรและทานอาหารเช่นเดิม ในบางกรณี อาการท้องผูกสามารถคงอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือนานกว่านี้ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพระยะยาว เช่น ริดสีดวง รูทวารฉีกขาด อุจจาระตกค้างอยู่ในไส้ตรง ไส้ตรงปลิ้น ฯลฯ

สาเหตุที่ทำให้ท้องผูก

  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ประกอบไปด้วย ตอนตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดลูก
  • ยาบางชนิด เช่น ยาเม็ด ยาลดกรด ยาแก้ปวด ยารักษาโรคซึมเศร้า และธาตุเหล็กอาหารเสริม
  • ทานอาหารที่มีไฟเบอร์ไม่เพียงพอ
  • ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ ฯลฯ
  • มีปัญหากับระบบย่อยอาหาร
  • เพิ่งผ่าตัด
  • กลั้นอุจจาระ

รักษาอาการท้องผูกด้วยน้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอกอาจเป็นหนทางที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกที่ทั้งปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ไขมันในน้ำมันมะกอกสามารถช่วยให้ภายในอุจจาระเรียบขึ้น ทำให้อุจจาระเคลื่อนที่ได้ง่าย และช่วยให้อุจจาระกักเก็บน้ำได้มากขึ้น  ส่งผลให้อุจจาระนุ่มลงนั่นเอง

ทั้งนี้การทานน้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ ตอนที่ท้องว่างในตอนเช้าอาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูกในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีหลายคน แต่หากทานเกินกว่านี้ มันก็สามารถทำให้ท้องเสียและปวดท้องเกร็งได้ อย่างไรก็ตาม เด็กหรือทารกไม่ควรทานน้ำมันมะกอกเพื่อบรรเทาปัญหาท้องผูก แต่ The American Academy of Pediatrics แนะนำให้ทารกทานน้ำแอปเปิ้ล น้ำลูกแพร์ หรือลูกพรุนแทน ในขณะที่อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก หรือเด็กที่แก่กว่านี้ คือ พรุน แอปริคอต และธัญพืชเต็มเมล็ด แต่หากการทานอาหารบางชนิดไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้น คุณก็ควรพาลูกไปพบแพทย์

ประโยชน์อื่นๆ ของน้ำมันมะกอก

  • มีสารต้านการอักเสบที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด โรคไขข้ออักเสบ โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้มันอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า
  • The American Heart Association (AHA) แนะนำให้ทานน้ำมันมะกอกเพื่อให้มีสุขภาพดี เพราะมันมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ การเน้นทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน รวมถึงจำกัดการทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือไขมันทรานส์ สามารถช่วยให้คอเลสเตอเรอลอยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • น้ำมันมะกอกมีวิตามินอี ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่หลายคนอาจไม่ได้รับจากอาหาร

น้ำมันชนิดอื่นๆ ที่ช่วยบรรเทาปัญหาท้องผูก

การใช้น้ำมันเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาท้องผูกไม่ใช่เทรนด์ใหม่ นอกจากน้ำมันมะกอกแล้ว น้ำมันละหุ่งก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการนี้เช่นกัน ทั้งนี้น้ำมันละหุ่งมีผลต่อกล้ามเนื้อในลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบตัวและเคลื่อนไหว นอกจากนี้น้ำมันมินิรอลก็สามารถทำให้อุจจาระนุ่มลงได้เช่นเดียวกับน้ำมันมะกอก มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน The Journal of Renal Nutrition ชี้ให้เห็นว่า น้ำมันมะกอกทำงานได้ดีเหมือนกับน้ำมันมินิรอลในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ซึ่งทานน้ำมันมะกอกวันละ 4 มิลลิลิตร

วิธีรักษาอื่นๆ

  • หากอาการไม่รุนแรง การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เช่น ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น ออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีไฟเบอร์ก็พอจะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่หากไม่ได้ผล การทานยาระบายที่ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปก็อาจช่วยได้ แต่ทั้งนี้คุณควรจำกัดการทานยาระบายให้อยู่ในระดับปานกลาง เว้นเสียแต่ว่าแพทย์เป็นคนสั่ง
  • ไฟเบอร์ในรูปแบบอาหารเสริม
  • ทานผลิตภัณฑ์ช่วยให้อุจจาระนุ่มลง
  • ใช้สารหล่อลื่นเพื่อช่วยให้อุจจาระไหลออกมาง่ายขึ้น
  • ทานยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ แต่ควรใช้เมื่ออาการรุนแรง และอยู่ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์

อย่างไรก็ตาม หากตอนนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาท้องผูก การทานน้ำมันมะกอกก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้ อีกทั้งยังมอบประโยชน์อื่นๆ ให้แก่ร่างกาย แต่หากคุณใช้ยาระบาย โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเวลานาน คุณก็อาจต้องพึ่งมันเป็นประจำ โดยเฉพาะยาระบายที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ แต่หากรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ถ้าไม่ได้ทานยาระบาย คุณก็ควรไปพบแพทย์

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...313416.php?sr

 

 


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Drinking Olive Oil: Good or Bad?. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/drinking-olive-oil)
Olive: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-233/olive)
How to Use Olive Oil for Constipation Relief. Healthline. (https://www.healthline.com/health/digestive-health/olive-oil-for-constipation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป