อาหารโรคอ้วน

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อาหารโรคอ้วน

ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป  มีการยอมรับวัฒนธรรม การบริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น  การบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบสังคมเมือง มากขึ้น  โดยเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นหลัก  มีการรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น นิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูป  อาหารจานด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งมีระดับ พลังงานสูง  และการขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ  ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันคนไทยกำลังประสบปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญที่เรียกว่า  โรคอ้วนลงพุง  หรือเมตาโบลิก ซินโดรม  (metabolic  syndrome)  (กองการแพทย์ทางเลือก,  2551)  ภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดผล เสียต่อร่างกายหลายประการ  ทั้งทางด้านบุคลิกภาพและสุขภาพ  ปัจจุบันยังพบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความสัมพันธ์กับภาวะโรคอ้วน  ได้แก่  โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคนิ่วในถุงน้ำดี  โรคปวดข้อเข่า  โรคเกาต์และโรคมะเร็ง  เป็นต้น  (Insel,  2012)  เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลกที่มีปัญหาภาวะโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นในขณะที่น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์  (underweight)  ลดลง  ดังแสดงในรูปที่  6.1  โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา  พบว่า  มีการเสียชีวิตประมาณ  300,000  คนต่อปี  เนื่องจากภาวะโรคอ้วน  นอกจากนี้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อน้ำหนักตัว เพิ่มขึ้น  (Nelms,  2011)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

รูปที่   การเกิดภาวะน้ำหนักเกิน  (BMI  25-29  kg/m)  และภาวะโรคอ้วน  (BMI  ≥  30  kg/m)  ของผู้ใหญ่เพศผู้ชาย  (a)  และผู้ใหญ่เพศผู้หญิง  (b)  ในทวีปยุโรปบางประเทศ ที่มา  :  Nelms,  2011  



15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Healthy Food Environments | Overweight & Obesity. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/obesity/strategies/healthy-food-env.html)
Food Environments and Obesity: Household Diet Expenditure Versus Food Deserts. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4985118/)
Obesity (Excessively Overweight): Health Effects and Next Steps. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/obesity/what-obesity-is)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป