จิตวิทยาโภชนาการ

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
จิตวิทยาโภชนาการ

จิตวิทยาโภชนาการเป็นการศึกษาเกี่ยวกับอาหารที่คุณทาน และผลต่อระบบทางเดินอาหาร การทำงานของสมอง และอารมณ์ของคุณ

เมื่อคิดให้ดี สมองของคุณจำเป็นต้อง “ทำงาน” ตลอดเวลา ทั้งดูแลเรื่องความคิด การเคลื่อนไหว การหายใจ การเต้นของหัวใจ ประสาทสัมผัส สมองนั้นจำเป็นต้องทำงานอย่างหนักตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน แม้กระทั่งตอนที่คุณได้นอนหลับพักผ่อน นั่นหมายความว่าสมองของคุณจำเป็นต้องได้รับเชื้อเพลิงที่เพียงพอ และ“เชื้อเพลิง”นั้นมาจากอาหารที่คุณทานเข้าไป และอาหารที่เป็นเชื้อเพลิงนั่นเองที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ง่าย ๆ คือ อาหารที่คุณเลือกทานเข้าไปนั้นส่งผลต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองของคุณ และอารมณ์ของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เช่นเดียวกับรถที่มีราคาแพง สมองของคุณจะสามารถทำงานได้ดีที่สุดเมื่อมันได้รับเชื้อเพลิงคุณภาพดี การเลือกทานอาหารที่มีคุณภาพสูง เปี่ยมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมากจะช่วยบำรุงสมองของคุณและป้องกันจากสารอนุมูลอิสระ - “ขยะ” (อนุมูลอิสระ) ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อร่างกายใช้ออกซิเจน ซึ่งสารเหล่านี้สามารถทำลายเซลล์ในร่างกายได้

และเช่นเดียวกันกับรถที่มีราคาแพง สมองของคุณก็สามารถถูกทำลายได้ง่ายหากคุณเลือกทานอาหารที่มีลักษณะเช่นเชื้อเพลงคุณภาพต่ำ เช่นถ้าเชื้อเพลงนั้นเป็นเชื้อเพลงเกรดต่ำ (เหมือนกันอาหารที่คุณทานแบบสำเร็จรูป) ความสามารถในการกำจัดสารเหล่านี้ในสมองนั้นต่ำ อาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูงเกินไปนั้นมีอันตรายต่อสมอง และยังทำให้ระบบควบคุมการหลั่งอินซูลินในร่างกายแย่ลง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น รวมถึงสร้างอนุมูลอิสระมากขึ้น มีการศึกษาหลายงานที่พบถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูง กับการทำงานที่แย่ลงของสมอง รวมถึงทำให้อาการของโรคทางอารมณ์แย่ลง เช่น โรคซึมเศร้า

ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ เพราะหากสมองของคุณขาดสารอาหารที่จำเป็นและมีคุณภาพที่ดี หรือหากมีสารอนุมูลอิสระ เซลล์ก่อให้เกิดการอักเสบนั้นไหลเวียนอยู่ในสมอง ก็จะสามารถสร้างความเสียหายให้กับสมองได้มากขึ้น จึงสามารถอธิบายอาการต่าง ๆ ได้ ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ ทางการแพทย์เราได้ใช้เวลามาหลายปีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่ยังไม่ได้ยอมรับถึงความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และอาหารมากเท่าไรนัก

โชคดีที่ในทุกวันนี้ สาขาของจิตวิทยาโภชนาการนั้นกำลังเติบโต และมีการศึกษาค้นคว้ามากขึ้นถึงผลลัพธ์ และความสัมพันธ์ ไม่ใช่เพียงแค่ระหว่างอาหารที่คุณทาน อารมณ์ พฤติกรรม แต่รวมถึงแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของคุณด้วยเช่นกัน

อาหารที่คุณทานส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของคุณอย่างไร

serotonin เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยดูแลเรื่องการนอนหลับและการทานอาหาร, อารมณ์ และยับยั้งอาการปวด และเพราะกว่า 95% ของ serotonin นั้นถูกสร้างในทางเดินอาหารของคุณ และทางเดินอาหารของคุณก็ถูกปกคลุมไปด้วยกว่าร้อยล้านเซลล์ประสาท ดังนั้นระบบทางเดินอาหารของคุณนอกจากจะช่วยย่อยอาหารแล้ว ยังส่งผลต่ออารมณ์ของคุณด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การทำงานของเซลล์ประสาทเหล่านี้และการสร้าง serotonin นั้นสัมพันธ์กับแบคทีเรียชนิดดีที่อาศัยอยู่ตามทางเดินอาหารของคุณ แบคทีเรียเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของคุณ เพราะพวกมันมีหน้าที่ปกคลุมทางเดินอาหารของคุณ และป้องกันให้ปลอดภัยจากสารพิษ และแบคทีเรียตัวร้าย ช่วยลดการอักเสบ ช่วยให้คุณสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น และส่งเสริมทางเดินประสาทที่เชื่อมระหว่างทางเดินอาหารและสมอง

มีการศึกษาที่เปรียบเทียบระหว่างคนที่ทานโพรไบโอติคส์ (อาหารเสริมที่เปี่ยมไปด้วยแบคทีเรียชนิดดี) กับคนที่ไม่ได้ทาน พบว่า ระดับความวิตกกังวล ความเครียด และอาการทางจิตใจนั้นดีขึ้น และยังมีการศึกษาอื่นที่เปรียบเทียบถึงอาหารพื้นเมือง เช่นอาหารเมดิเตอร์เรเนียน อาหารญี่ปุ่น กับ อาหารตะวันตก พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าต่ำกว่าถึง 25-35% ในกลุ่มคนที่ทานอาหารพื้นเมือง นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ถึงความแตกต่างนี้และเสนอว่า อาหารพื้นเมืองนั้นมีผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา และอาหารทะเลมากกว่า ซึ่งประกอบด้วยเนื้อไม่มีมัน และผลิตภัณฑ์จากนมเป็นหลัก นอกจากนี้ยังค่อนข้างปลอดจากน้ำตาล ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารตะวันตก นอกจากนี้อาหารเหล่านี้นั้นมักถูกหมักดอง ทำให้พวกมันเป็นโพรไบโอติคส์จากธรรมชาติ การหมักดองนั้นต้องอาศัยแบคทีเรียและยีสต์เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลในอาหารเป็น carbon dioxide, alcohol และ กรด lactic โดยเป็นกระบวนการที่ป้องกันอาหารจากการเสียเพื่อที่จะสามารถนำมาปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทั้งหมดนี้อาจฟังดูไม่น่าเชื่อถือเสียเท่าไร แต่ความสำคัญของของแบคทีเรียตัวดีนั้นไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้ลำไส้ของคุณย่อยและดูดซึมอาหารได้ดี แต่มันยังสามารถส่งผลช่วยเหลือต่อการอักเสบทั่วร่างกายของคุณได้ รวมถึงในแง่อารมณ์และพลังงาน โดยสิ่งนี้กำลังเป็นที่น่าสนใจในกลุ่มนักวิจัย และผลลัพธ์การศึกษาที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับคุณ

ให้เริ่มให้ความสนใจกับการทานอาหารหลากหลายออกไป และอารมณ์ความรู้สึกของคุณ ไม่เพียงแค่ในขณะนั้น แต่รวมถึงในวันถัด ๆ ไป ลองทานอาหารคลีนสองถึงสามสัปดาห์ - หมายถึงการทานอาหารที่ปรุงแต่งสำเร็จรูปและน้ำตาล ลองเพิ่มอาหารหมักดอง เช่น กิมจิ มิโซะ ซาวเคราท์ (Sauerkraut) pickles หรือ kombucha คุณอาจลองทานผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนประกอบของนม (dairy-free) หรือบางคนอาจลองทานผลิตภัณ์ที่ปราศจากธัญพืช (grain-free) จากนั้นค่อย ๆ กลับไปทานอาหารตามเดิมทีละอย่าง และสังเกตความรู้สึกของคุณ

คนที่ได้ลองทานอาหารคลีนอยู่สักระยะหนึ่ง พวกเขาทึ่งที่รู้สึกดีขึ้นจริง ๆ ทั้งในแง่ร่างกายและอารมณ์ และเมื่อค่อย ๆ กลับไปทานอาหารตามเดิม ก็รู้สึกว่าทุกอย่างแย่ลงอย่างน่าตกใจ ลองพิสูจน์ความรู้สึกนี้ด้วยตัวคุณเอง !

หากสนใจข้อมูลเรื่องนี้เพิ่มเติม ให้ลองอ่าน : จิตวิทยาโภชนาการ อีกทางเลือกของจิตวิทยา, Sarris J, et al. Lancet Psychiatry. 2015

ในแง่การศึกษาจิตวิทยาโภชนาการนั้นยังค่อนข้างใหม่ แต่ว่ามีการศึกษาที่หาความสัมพันธ์ระหว่าง คุณภาพอาหารที่ทาน และสุขภาพจิต ในหลากหลายประเทศ วัฒนธรรม และช่วงอายุ โดยศึกษาในโรคซึมเศร้าเป็นหลัก ลิ้งค์บทความดังต่อไปนี้เป็นการทำวิจัยอย่างเป็นระบบและสังเคราะห์

นอกจากนี้ยังมีเกี่ยวกับสิ่งแทรกแซง (interventions) ที่สนับสนุนว่าการทานอาหารที่ดีสามารถป้องกันโรคซึมเศร้าได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การทานอาหารที่ดีตั้งแต่ช่วงเด็กนั้นมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตที่ดีในเด็ก (ซึ่งมีความสำคัญในมุมมองของสาธารณสุข)

มีการศึกษาในสัตว์เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนอาหารและผลที่ส่งผลต่อสมอง โดยข้อมูลศึกษาในคนก็ให้ผลสรุปคล้ายกัน

สุดท้ายนี้ เป็นงานศึกษาที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ เกี่ยวกับแผนการรักษาโรคซึมเศร้า โดยการทดสอบให้ปรับเปลี่ยนการทานอาหารให้ดีขึ้น โดยผลลัพธ์จะตีพิมพ์เร็ว ๆ นี้ในอีก 6 เดือน



2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nutritional psychiatry: Your brain on food. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/nutritional-psychiatry-your-brain-on-food-201511168626)
The Psychology of Nutrition with Advancing Age: Focus on Food Neophobia. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30642027)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)