กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สารอาหารมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
สารอาหารมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร

เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าเริ่มตั้งครรภ์ ชีวิตของลูกก็เริ่มต้นเช่นกันค่ะ เริ่มตั้งแต่กำเนิดเซลแรกที่เริ่มแบ่งตัวขยายไปเรื่อยๆ เป็นอวัยวะต่างๆ ดังนั้นในช่วงที่ทารกอยู่ในท้องแม่ หากแม่ขาดสารอาหารหรือน้ำหนักน้อยลง ลูกก็จะขาดสารอาหารและน้ำหนักตัวน้อยลงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนแรกๆ ของการตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อลูกด้วย ยิ่งในช่วง 4 เดือนแรก หากแม่ขาดสารอาหารหรือน้ำหนักลดลงจะมีผลกระทบต่อน้ำหนักและความสูงของลูกด้วย

สารอาการที่แม่กินเข้าไปส่งผลอะไรต่อทารกในครรภ์

ปกติทารกเมื่อคลอดจะมีน้ำหนักประมาณ 3,000-3,600 กรัม มีความยาวหรือสูงประมาณ 20-50 นิ้ว อาหารที่ได้รับจากแม่ไปจะไปเลี้ยงสมองเป็นอย่างแรกค่ะ เพราะสมองสำคัญที่สุด ที่เหลือก็จะส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ถ้าแม่ขาดสารอาหารอวัยวะของลูกก็จะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรและยังอาจทำงานได้ไม่เหมาะสมอีกด้วย เช่น หากตับมีขนาดเล็กเกินไปก็อาจจะทำงานได้ไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ซึ่งอาจทำให้มีคลอเลสเตอรอลตกค้างในเลือดมากกว่าปกติ เมื่ออายุมากขึ้น อาการก็จะแสดงออกด้วยการมีคลอเลสเตอรอลสูง หัวใจวายได้ ดังนั้นร่างกายคนเราก็สะท้องมาจากการเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั่นเอง นอกจากนี้บางรายพบว่าเด็กทารกมีความดันสูงตั้งแต่คลอดออกมาเลย ซึ่งก็จะเป็นผลร้ายต่อหัวใจได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากแม่กินเยอะเกินไปส่งผลอะไรต่อทารกในครรภ์

ในทางตรงกันข้าม หากแม่มีน้ำหนักมากเกินไป ก็จะทำให้ทารกมีน้ำหนักมากผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนของทารกจะขับอินซูลินออกมาตลอดเวลา โดยเฉพาะ 2-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งมีผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำไปด้วย ทำให้ร่างกายเคยชินกับการผลิตอินซูลินออกมามาก ถ้าเป็นเช่นนี้เมื่อเด็กโตขึ้นตับอ่อนจะทำงานหนักกว่าคนอื่น จนในที่สุดจะผลิตอินซูลินน้อยลงเรื่อยๆ เพราะทำงานหนักกว่าเมื่อเทียบกับคนที่มีอายุเท่ากัน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ค่ะ

ดังนั้นในช่วงที่ตั้งครรภ์นับตั้งแต่เดือนแรกจนคลอดลูกออกมา ถ้าคุณแม่ได้รับสารอาหารที่พอเหมาะจะทำให้เด็กในท้องเจริญเติบโตได้ดี มีพัฒนาการทางร่างกายที่แข็งแรง เมื่อเติบโตขึ้นโอกาสที่จะมีความผิดปกติก็ลดน้อยลงไปด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรที่จะใส่ใจกับสารอาหารต่างๆ อย่าให้มากไปหรือน้อยเกินไปนะค่ะ


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pregnancy and Nutrition. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/pregnancyandnutrition.html)
Nutritional Concerns of Women in the Preconceptional, Prenatal, and Postpartum Periods - Nutrition Services in Perinatal Care. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK235913/)
Have a healthy diet in pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/healthy-pregnancy-diet/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม