อาการมือชาเท้าชา เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไรบ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการมือชาเท้าชา เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการมือเท้าชา เป็นอาการเกี่ยวกับระบบประสาททำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ได้อีก เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • อาการชาตามจุดต่างๆ สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของเส้นประสาทได้ด้วย เช่น ชาที่นิ้วก้อย อาจเกิดจากเส้นประสาทรักแร้ถูกกดทับ ชาที่ปลายนิ้วทุกมือ อาจเกิดจากเอ็นกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
  • หากอาการมือเท้าชารุนแรงมากๆ แล้วรักษาด้วยยาต้านอักเสบไม่หาย แพทย์ก็อาจใช้วิธีผ่าตัดเพื่อรักษาต่อไป
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ภาวะขาดไทรอยด์ คือ อีกโรคต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการชาตามมือ และเท้าได้ ซึ่งหากแพทย์ตรวจพบว่า มีโรคอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดอาการชา ก็จะรักษาโรคเหล่านี้ให้หายก่อน
  • หากเกิดาอาการมือเท้าชาบ่อยๆ จนผิดสังเกต อย่ามองข้ามอาการเหล่านี้ว่า เป็นเพียงอาการเล็กน้อยเท่านั้น แต่ให้ไปพบแพทย์เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยอาการ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เป็นอาการที่สามารถพบเจอได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งหากเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวก็ไม่มีอะไรน่าห่วง แต่ถ้าหากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายบางอย่างได้

อาการมือชาเท้าชา เกิดจากสาเหตุใด

อาการมือชาเท้าชาแบบเฉียบพลันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอยู่ในท่าเดิมๆ เป็นเวลานานจนทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นๆ ไม่ถึง หรืออาจจะเกิดจากการที่ร่างกายขาดวิตามินบี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ อาการมือเท้าชายังอาจเป็นอาการนำ และเป็นสัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ปลายประสาทผิดปกติได้เช่นกัน

ตำแหน่งของอาการชา บอกความผิดปกติอะไรได้บ้าง?

หากคุณได้ลองสังเกตบริเวณที่ชาของมือ หรือเท้าว่าอยู่ตรงจุดไหนบ้าง บางทีคุณอาจรู้เพิ่มเติมได้ว่า ตนเองมีแนวโน้มจะเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร หรือมีอาการเกี่ยวกับเส้นประสาทอย่างไรบ้าง เช่น

  • โรคเส้นประสาทกดทับบริเวณฝ่ามือ จะมีอาการชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หากมีอาการรุนแรงมาก อาจพบการปวดชาที่มือไปจนถึงแขน
  • เส้นประสาทรักแร้ถูกกดทับ จะมีอาการชาบริเวณนิ้วก้อยเพียงนิ้วเดียว ซึ่งเกิดจากการถือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
  • เอ็นกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ มีอาการชาปลายนิ้วทุกนิ้วมือ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงเย็นหรือก่อนนอน เพราะมีการใช้ข้อมือในการทำงานอย่างหนักเป็นประจำทุกวัน
  • เส้นประสาทกดทับที่แขน จะมีอาการชาตามง่ามนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ อาจเกิดจากการนั่ง หรือนอนทับแขนผิดท่า
  • ปลายเส้นประสาทเสื่อม หรืออักเสบ จะเกิดการชาที่ปลายมือและปลายเท้า ซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินบีอย่างรุนแรง และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไต โรคมะเร็ง หรือได้รับสารพิษบางชนิด
  • กระดูกต้นคอเสื่อม จนมีปัญหากดทับเส้นประสาท จะมีอาการชาทั้งแขนไปจนถึงปลายนิ้วมือจนไม่สามารถทำอะไร อาการนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด และควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการชาบริเวณเท้า และลามขึ้นไปถึงสะโพก หากมีอาการรุนแรงจะเจ็บร้าวจนไม่สามารถเดินได้

อาการชาที่มาพร้อมโรค

อาการชาที่เกิดขึ้น ยังสามารถบ่งบอกถึงโรคที่อาจจะตามมาเหล่านี้ด้วยก็เป็นได้ ซึ่งโรคเหล่านั้นได้แก่

  • โรคเบาหวาน เมื่อใดก็ตามที่โรคเบาหวานมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการชาตามร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากปลายเส้นประสาทเสื่อม
  • ภาวะขาดไทรอยด์ นอกจากจะมีการชาแล้ว ยังพบการเกิดตะคริว และการปวดกล้ามเนื้อร่วมอยู่ด้วย
  • โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ ด้วยความที่โรคนี้เกี่ยวข้องกับกรดยูริกและกระดูก จึงอาจทำให้เกิดการชาตามมือตามเท้าได้
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง โดยแอลกอฮอล์ที่คุณบริโภคเข้าไปจะเข้าไปทำลายระบบต่าง  ของร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดวิตามิน และสารอาหาร ส่งผลให้เกิดการชาตามร่างกาย

วิธีรักษาโรคมือชาเท้าชา

ปกติแล้วอาการโรคมือเท้าชามักจะเป็นๆ หายๆ หรือไม่รุนแรงถึงชั้นใช้มือ และเท้าไม่ได้ จึงมักจะไม่ค่อยมีใครใส่ใจถึงขั้นไปพบแพทย์มากนัก และส่วนมาก ด้วยความที่อาการชามักจะเกิดขึ้นกับการกดทับของเส้นประสาทเสียส่วนมาก แพทย์จึงทำการรักษาตามอาการ คือ

  • หากมีอาการไม่รุนแรงมาก อาจจะรู้สึกชาๆ เจ็บแปลบ เป็นระยะสั้นๆ ไม่กี่นาที แพทย์อาจจะตรวจดูการอักเสบของเส้นเอ็น และเส้นประสาทก่อน หากไม่พบความผิดปกติก็อาจจะให้เสริมวิตามินบีเพื่อรักษาอาการชานี้
  • หากเริ่มมีอาการชาที่รุนแรงมากขึ้น และเริ่มมีระยะเวลานานกว่าเดิม ส่วนมากเมื่อมาถึงระยะนี้ ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทอักเสบ แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการให้ยาต้านการอักเสบก่อน หากยังไม่ดีขึ้น ก็อาจจะต้องผ่าตัดเพื่อรักษาต่อไป
  • รักษาจากโรคที่เกิด อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า บางครั้งอาการชาตามมือตามเท้าก็อาจเกิดจากการเป็นโรคร้ายบางชนิด โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทแต่อย่างใด แพทย์ก็จะทำการรักษาตามโรคที่เกิดขึ้น เช่น
    โรคเบาหวาน ก็ให้ลดระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกิน  หรือในช่วงวัยทอง แพทย์ก็จะให้วิตามินเสริมเพื่อลดการเกิดอาการชา

อาการมือชาเท้าชา อาจเป็นโรคที่ไม่มีความอันตรายมากนัก แต่อย่างไรก็ตามก็ควรสังเกตความถี่และระยะเวลาที่เกิดการชา เพื่อประเมินถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้รีบเดินทางไปพบแพทย์และทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ 

โดยเฉพาะถ้าหากเป็นโรคเกี่ยวกับเส้นประสาทนั้น จะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างนานทีเดียว

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


36 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Numbness and Tingling: 31 Causes, When to See a Doctor, and More (https://www.healthline.com/health/numbness-and-tingling)
Tingling in Hands and Feet: 25 Causes, Treatments & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/tingling-in-hands-and-feet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร

รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ของกะบังลม ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับกะบังลม

อ่านเพิ่ม
สาเหตุของการเป็นลม
สาเหตุของการเป็นลม

ทำไมถึงมีอาการหมดสติล้มพับ

อ่านเพิ่ม