ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease - NAFLD) เป็นคำเรียกภาวะต่าง ๆ ที่เกิดจากไขมันที่อยู่ในอวัยวะตับ และมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักร่างกายมากเกิน

ตับที่สุขภาพดีจะไม่มีไขมันเกาะอยู่หรือมีอยู่น้อยมาก ๆ และ NAFLD ระยะต้น ๆ จะไม่ก่ออันตรายใด ๆ แต่หาก NAFLD รุนแรงขึ้นอาจจะนำไปสู่ภาวะร้ายแรงอื่นได้ เช่นภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ระดับไขมันที่สูงขึ้นที่ตับจะเกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ เช่น ภาวะเบาหวาน (diabetes) หัวใจวาย (heart attacks) และภาวะหลอดเลือดสมอง (strokes)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

หากภาวะไขมันพอกตับถูกตรวจพบและจัดการตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะสามารถยับยั้งการทรุดลงของ NAFLD และลดปริมาณไขมันในตับได้

ระยะของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์มีอยู่ 4 ระยะหลัก ๆ โดยผู้ป่วยส่วนมากจะประสบกับเพียงระยะแรกเท่านั้นและมักไม่รู้สึกตัวว่าตนเองป่วยเป็น NAFLD ในจำนวนผู้ป่วยกลุ่มนี้เล็กน้อยจะมีระยะลุกลามออกไปจนสร้างความเสียหายแก่ตับในที่สุด

ระยะทั้งสี่ของ NAFLD มีดังนี้:

  • simple fatty liver (steatosis): มีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายปริมาณมากสะสมอยู่ในเซลล์ตับ ซึ่งสามารถวินิจฉัยพบได้จากการทดสอบหาภาวะสุขภาพอื่น ๆ
  • non-alcoholic steatohepatitis (NASH): เป็นรูปแบบของ NAFLD ที่ร้ายแรงมากขึ้น ที่ซึ่งตับเกิดการอักเสบขึ้นมา
  • fibrosis: ที่ซึ่งการอักเสบได้ทำให้เกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นรอบตับและใกล้กับหลอดเลือดมาก แต่ตับยังคงทำงานได้ตามปรกติอยู่
  • cirrhosis: ระยะรุนแรงที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อมานานแรมปี ที่ซึ่งตับหดลงและมีบาดแผลกับตะปุ่มตะป่ำมากขึ้น ความเสียหายจากระยะนี้จะเกิดขึ้นถาวรและนำไปสู่ภาวะตับล้มเหลวและมะเร็งตับในที่สุด

ภาวะ fibrosis หรือ cirrhosis ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าสู่ภาวะเหล่านี้ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันไม่ให้ความเสียหายมีมากขึ้น

คุณมีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์หรือไม่?

คุณจะมีความเสี่ยงต่อ NAFLD มากขึ้นหากว่า: คุณมีภาวะอ้วน (obese) หรือมีน้ำหนักร่างกายมากขึ้น: โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีไขมันรอบเอวเยอะมาก คุณเป็นเบาหวานประเภท 2 คุณมีภาวะความดันโลหิตสูง (high blood pressure) คุณมีระดับคอเลสเตอรอลสูง คุณมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป คุณสูบบุหรี่

อย่างไรก็ตาม ก็ยังสามารถวินิจฉัยเจอ NAFLD ในกลุ่มคนที่ไม่เข้าข่ายปัจจัยเสี่ยงข้างต้นได้ด้วย เช่นเด็กเล็ก เป็นต้น และแม้ว่าภาวะนี้จะคล้ายกับโรคตับจากแอลกอฮอล์ (alcohol-related liver disease - ARLD) ภาวะ NAFLD กลับไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์แต่อย่างใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

อาการของภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

NAFLD ระยะแรก ๆ มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ คุณอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วยก็ได้นอกจากว่าแพทย์จะวินิจฉัยพบโรคนี้ระหว่างการตรวจร่างกายเนื่องจากเหตุผลอื่น ๆ

โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วย NAFLD ในระยะ fibrosis ขึ้นไป (ระยะลุกลามของโรค) อาจประสบกับ: อาการปวดตื้อหรือปวดเมื่อย ณ ส่วนบนขวาของหน้าท้อง (ตำแหน่งใต้ซี่โครงด้านขวา) เหน็ดเหนื่อยรุนแรง น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้ อ่อนแรง

หากคุณเป็นระยะ cirrhosis (ระยะลุกลามร้ายแรงของโรค) คุณอาจมีอาการต่าง ๆ รุนแรงมากขึ้น รวมไปถึงผิวหนังและตาขาวออกเป็นสีเหลือง (ดีซ่าน) คันผิวหนัง และขา ข้อเท้า เท้า หรือท้องบวมตามมา

สามารถทำการวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้อย่างไร?

NAFLD มักถูกวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดที่เรียกว่าการตรวจการทำงานของตับที่แสดงผลผิดปรกติออกมา อย่างไรก็ตามการตรวจเลือดก็ไม่ใช่วิธีเดียวที่ใช้ตรวจหาโรค NAFLD เพียงวิธีเดียว

ภาวะนี้อาจถูกตรวจพบระหว่างการอัลตราซาวด์ช่องท้องได้ด้วย โดยการสแกนประเภทนี้จะเป็นการใช้คลื่นเสียงสร้างภาพภายในร่างกายออกมา

หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็น NAFLD จะมีการทดสอบเพิ่มเติมขึ้นเพื่อบ่งชี้ถึงระยะของโรค ซึ่งอาจต้องดำเนินการตรวจเลือดพิเศษหรือเข้ารับการสแกนอัลตราซาวด์อีกประเภท (Fibroscan) โดยผู้ป่วยบางรายอาจต้องถูกเก็บตัวอย่างตับ (ด้วยกระบวนการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ) เพื่อนำตัวอย่างไปตรวจในห้องปฏิบัติการณ์อีกที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

การรักษาภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

ผู้ป่วย NAFLD มักไม่ประสบอาการใด ๆ แต่หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นภาวะนี้ สิ่งที่ควรทำคือการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการทรุดลงของโรค

ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษา NAFLD แต่การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตจะช่วยให้ภาวะต่าง ๆ หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับ NAFLD ดีขึ้น (เช่นภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน และคอเลสเตอรอล)

คุณมักถูกแนะนำให้คุณเข้าพบแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับ และเพื่อเฝ้าระวังสัญญาณของปัญหาใหม่ต่าง ๆ

อาหารและวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ

การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพเป็นวิธีจัดการกับ NAFLD ที่ดีที่สุด เช่น:

  • ลดน้ำหนัก: ควรตั้งเป้าให้ลดน้ำหนักตรงตามเกณฑ์ดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ดี (หรืออยู่ที่ประมาณ 18.5-24.9) การลดน้ำหนักลงมากกว่า 10% ของน้ำหนักเดิมจะกำจัดไขมันออกจากตับและช่วยให้อาการของ NASH ดีขึ้น
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: พยายามทานผัก ผลไม้ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตให้สมดุล และลดปริมาณไขมัน เกลือ และน้ำตาลลง อีกทั้งการทานอาหารมื้อเล็ก ๆ จะช่วยทำให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ: ตั้งเป้าให้คุณออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีด้วยกิจกรรมความเข้มข้นปานกลางเช่นการเดินหรือปั่นจักรยาน โดยการออกกำลังกายทุกประเภทสามารถช่วยให้ NAFLD ดีขึ้นแม้จะไม่เป็นการลดน้ำหนักลงก็ตาม
  • เลิกบุหรี่: หากคุณสูบบุหรี่โอกาสต่อปัญหาด้านหัวใจและหลอดเลือดสมองจะเพิ่มมากขึ้น

NAFLD ไม่ได้เกิดมาจากแอลกอฮอล์ แต่การดื่มสุราก็สามารถทำให้ภาวะนี้ทรุดลงได้ ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้คุณเลิกหรือลดปริมาณการดื่มเสีย

การใช้ยา

ณ ขณะนี้ยังไม่มียาใดที่สามารถรักษา NAFLD ได้ แต่การใช้ยาต่าง ๆ ก็ยังช่วยในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ได้

ยกตัวอย่างเช่นแพทย์แนะนำให้คุณใช้ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลที่สูงลง เพื่อรักษาเบาหวานประเภท 2 และ/หรือรักษาภาวะอ้วน

การปลูกถ่ายตับ

หากคุณเริ่มมีอาการจากระยะ cirrhosis รุนแรงและตับของคุณหยุดทำงานลง คุณจำต้องเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับเพื่อรักษา

สำหรับผู้ใหญ่ ระยะเวลารอรับการปลูกถ่ายตับคือ 145 วันโดยเฉลี่ย (รอรับจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต)

อีกวิธีปลูกถ่ายคือการใช้ชิ้นส่วนของตับจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต เพราะว่าตับเป็นอวัยวะที่ฟื้นฟูตัวเองได้ ทั้งตับที่ถูกตัดชิ้นส่วนและชิ้นส่วนที่นำเข้าไปยังร่างกายผู้อื่นจะสามารถเติบโตกลับไปสู่ขนาดปกติได้


33 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/non-alcoholic-fatty-liver-disease/)
Nonalcoholic fatty liver disease - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nonalcoholic-fatty-liver-disease/symptoms-causes/syc-20354567)
Fatty Liver Disease: Nonalcoholic & Alcoholic Steatohepatitis (NAFLD/AFLD). WebMD. (https://www.webmd.com/hepatitis/fatty-liver-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)