กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

ระวังโรคปลายประสาทอักเสบ อาการชา ร้อนวูบวาบ หลังตื่นนอน

รวม 5 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปลายประสาทอักเสบ และวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ระวังโรคปลายประสาทอักเสบ อาการชา ร้อนวูบวาบ หลังตื่นนอน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เส้นประสาท คือระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ความเจ็บปวด การสั่นสะเทือนในร่างกาย
  • เริ่มชาตามใบหน้า มือ แขน ขา คืออาการเบื้องต้นของโรคปลายประสาทอักเสบหรือเส้นประสาทกดทับ
  • อาการปลายประสาทอักเสบ เกิดจาก การกดทับเฉพาะที่ การขาดวิตามิน โรคประจำตัว หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุที่ทำให้เส้นประสาทเสียหาย
  • โรคปลายประสาทอักเสบป้องกันได้โดย รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 12 พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ขยับร่างกายเป็นประจำ
  • หากคุณคิดว่าอาการชาที่เกิดขึ้นนี้ เข้าข่ายโรคปลายประสาทอักเสบ แนะนำมองหาแพ็กเกจกายภาพบำบัดไว้เพื่อรักษาโรคนี้ ดูได้ที่นี่

ถ้าเริ่มเกิดอาการชา รู้สึกเจ็บปวด ร้อน หรือเย็น ตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายแบบผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง แขน ขา และใบหน้า อย่านิ่งนอนใจ เพราะนั่นคืออาการเบื้องต้นของโรคปลายประสาทอักเสบ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า เส้นประสาทถูกกดทับ

อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นในช่วงกลางคืน หรือหลังตื่นนอนใหม่ๆ โดยมีลักษณะร้อนวูบวาบ หรือชายุบยิบ และต่อมาก็จะเริ่มชานานกว่าเดิม สัมผัสอะไรก็เริ่มไม่มีความรู้สึกตรงส่วนนั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เส้นประสาทอักเสบ คือการที่ระบบเส้นประสาทในร่างกายที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ความรู้สึกเจ็บปวดทั้งหมดของร่างกาย การสั่นสะเทือน และการขยับข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย เกิดความผิดปกติ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบว่าเกิดจากการติดเชื้อ

5 สาเหตุของโรคปลายประสาทอักเสบ

1. การถูกกดทับเฉพาะที่

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในคนที่ต้องทำงานที่ต้องใช้ข้อมือหนักๆ เป็นประจำจนทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทตรงบริเวณนั้น เช่น รับจ้างซักรีด พิมพ์ดีด หรือคอมพิวเตอร์ เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งการเล่นกีฬาที่ต้องใช้มือเป็นประจำก็สามารถทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้

2. เป็นผลมาจากโรคประจำตัว หรือเกิดความผิดปกติด้านอื่นแทรกซ้อน

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานในระยะเวลานาน และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะทำให้เกิดอาการชาจากปลายประสาทอักเสบ ซึ่งมักเรียกว่าโรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน (Diabetic neuropathies) นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคไทรอยด์บางชนิด โรคไตวายเรื้อรัง โรคติดต่อบางชนิด และผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านภูมิคุ้มกัน

3. การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ

ผู้ที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแล้วไม่รีบรักษา อาจทำให้เชื้อลุกลามไปยังปลายประสาทจนเกิดการอักเสบได้ โดยมักเกิดบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งถ้ามีอาการรุนแรงก็อาจถึงขั้นต้องสอดท่อช่วยหายใจ เพราะกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจเกิดการล้มเหลวนั่นเอง อย่างไรก็ตามภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก

4. เกิดจากการขาดวิตามิน หรือสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายบางชนิด

หากขาดวิตามินบี 12 อย่างรุนแรง จะทำให้ระดับการทำงานของเซลล์ประสาทและระบบประสาทผิดปกติ เนื่องจากวิตามินบี 12 ทำหน้าที่ป้องกันเยื่อไมอีลิน (Myelin) ที่ห่อหุ้มเส้นประสาทเอาไว้ แต่สาเหตุนี้มักพบได้น้อยในปัจจุบัน

5. เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ

  • ได้รับยาหรือสารพิษบางชนิดมากจนเกินไป คือยาต้านมะเร็ง, ยาปฏิชีวนะบางชนิด, สารตะกั่ว และปรอท เป็นต้น หากถอนพิษจนหมดก็จะกลับมาเป็นปกติ
  • เกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจนส่งผลให้ปลายประสาทเกิดความเสียหาย หากรักษาจนอาการดีขึ้นก็จะกลับมาเป็นปกติ

อาการของโรคปลายประสาทอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีอาการชา มึน และอ่อนแรงในบริเวณนิ้วมือ แขน เท้า และขา โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นส่วนปลายของร่างกายมากกว่าจะเป็นตามช่วงกลางของร่างกาย หรือบางครั้งก็จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนเหมือนโดนพริก หรือคล้ายถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกที่บริเวณนั้นๆ

ในกรณีที่เป็นโรคของเส้นประสาทสมอง ก็จะสูญเสียหน้าที่ของเส้นสมองคู่นั้นๆ ก่อให้เกิดอาการปากเบี้ยว และหลับตาไม่สนิท

อาการที่คล้ายคลึงกับโรคปลายประสาทอักเสบ

ความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง หรือความผิดปกติที่เกิดความเสียหายต่อไขสันหลัง จะมีลักษณะอาการคล้ายกับโรคปลายประสาทอักเสบ มักมีสาเหตุมาจากการเกิดเนื้องอก หรือมีอะไรเข้าไปกดทับเส้นประสาท ได้แก่ กระดูกงอก หรือหมอนรองกระดูกหลังปลิ้นไปกดเส้นประสาท โดยจะมีอาการชาตามร่างกาย อ่อนแรง และสูญเสียการทรงตัวไปในที่สุด ถือเป็นอาการที่รุนแรงกว่าโรคปลายประสาทอักเสบอย่างมาก

วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปลายประสาทอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน โดยไม่ควรอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานจนเกินไป
  • ผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะให้ได้ และดูแลร่างกายให้แข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ
  • ถ้ามีโรคประจำตัวอย่างอื่นก็ให้รับประทานยารักษาโรคตามที่แพทย์แนะนำ และสั่งจ่ายให้ แต่ให้เพิ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือรับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วยเมื่อมีอาการปวด
  • รับประทานวิตามินเสริม โดยเฉพาะวิตามินบี12 หรือที่เรียกว่า โคบาลามิน ก็จะช่วยส่งเสริมการซ่อมแซมเส้นประสาทต่างๆ ให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติ พร้อมทั้งบรรเทาอาการชา และอาการข้างเคียงต่างๆ ให้ดีขึ้น
  • ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
  • หมั่นทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย กล้ามเนื้อ และระบบประสาท ให้กลับมาแข็งแรงและใช้งานได้ตามปกติ

ข้อควรระวังในผู้ป่วยโรคปลายประสาทอักเสบ

  • ระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลตามปลายมือปลายเท้า แต่ถ้าพบว่ามีบาดแผล หรือร่องรอยฟกช้ำ ให้รีบรักษา หรือไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไม่ให้ลุกลาม
  • หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกฮอล์

โรคปลายประสาทอักเสบ มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหาร หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และห่างไกลจากโรคนี้แน่นอน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Azhary H, et al. Peripheral Neuropathy: Differential Diagnosis and Management. 2010. Am Fam Physician
Peripheral neuropathy (https://www.nhs.uk/conditions/peripheral-neuropathy/), 24 April 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร
กะบังลมคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร

รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ของกะบังลม ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับกะบังลม

อ่านเพิ่ม
สาเหตุของการเป็นลม
สาเหตุของการเป็นลม

ทำไมถึงมีอาการหมดสติล้มพับ

อ่านเพิ่ม