กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

คลอดลูกตามธรรมชาติ VS ผ่าตัดคลอด

การคลอดลูกเองโดยวิธีธรรมชาติมีข้อดีมากมายที่น่าสนใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คลอดลูกตามธรรมชาติ VS ผ่าตัดคลอด

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก การคลอดลูกมีความปลอดภัยมากขึ้น มีหลายปัจจัยที่ใช้เลือกวิธีการคลอดลูก โดยทั่วไปคุณหมอแนะนำให้คลอดเองโดยวิธีธรรมชาติก่อน แต่หากไม่สามารถคลอดเองได้หรือมีเหตุจำเป็นต้องผ่าตัดคลอด ซึ่งทั้งหมดนี้จะอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอผู้ดูแลครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัจจัยที่คุณหมอผู้ดูแลครรภ์จะเลือกให้คลอดเองทางช่องคลอดมีดังนี้

  • ทารกในครรภ์อยู่ในท่าศีรษะอยู่ล่างหรือเป็นส่วนนำ แต่หากก้นเป็นส่วนนำแต่มีการกลับตัวเองได้ในภายหลังก็จะคลอดเองได้
  • ขนาดของทารกในครรภ์ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป คือน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 2,500-4,000 กรัม
  • ทารกในครรภ์มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่มีโรคประจำตัวและภาวะแทรกซ้อน
  • ส่วนนำของทารกในครรภ์เข้ามาอยู่ในอุ้งเชิงกรานแล้ว เมื่อเริ่มมีการเจ็บครรภ์
  • ทารกในครรภ์อยู่ในท่างอตัวปกติ คือ ก้มหัว คางจรดอก

ข้อดีของการคลอดแบบธรรมชาติ

การคลอดด้วยวิธีการทางธรรมชาตินั้นส่งผลดีต่อทั้งตัวคุณแม่และทารก เนื่องจากคุณแม่ไม่ต้องรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้ฟื้นตัวเร็วหลังคลอด เป็นการลดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากนี้ การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติจะเป็นการกระตุ้นให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น

สำหรับผลดีที่เกิดขึ้นกับทารกน้อย จากการศึกษาพบว่าทารกที่คลอดด้วยวิธีการธรรมชาติจะมีระบบทางเดินหายใจที่สมบูรณ์แข็งแรง ลดโอกาสที่จะต้องนอนในตู้อบพิเศษ โอกาสติดเชื้อน้อยกว่าเด็กที่คลอดแบบผ่าตัด และเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับทารกแรกเกิดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติจึงเป็นทางเลือกที่คุณหมอแนะนำเป็นอันดับแรก

ส่วนปัจจัยที่คุณหมอจะสั่งให้ผ่าตัดคลอดได้แก่

  • มีความไม่สมดุลกันของส่วนนำของทารก คือศีรษะและอุ้งเชิงกรานของตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เช่น ทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกินไป
  • ทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง หรือมีปัญหาทางสุขภาพ
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เคยผ่าตัดคลอดลูกมาก่อน
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีความดันเลือดสูง จากภาวะแทรกซ้อนหรือโรคประจำตัวของคุณแม่เอง
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศ
  • ทารกในครรภ์มีภาวะรกเกาะต่ำ หรือเกาะขวางทางคลอด
  • การลอกตัวของรกก่อนคลอด
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • การตั้งครรภ์นานเกินกำหนด

แม้ว่าการผ่าตัดคลอดจะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงแต่คุณหมอก็จะเลือกเป็นวิธีสุดท้าย เนื่องจากการผ่าตัดเป็นสิ่งที่เกิดภาวะฉุกเฉินได้ตลอดเวลาซึ่งอาจไม่สามารถป้องกันหรือคาดการณ์ได้ล่วงหน้า

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและข้อควรคิดเมื่อผ่าตัดคลอด

การผ่าคลอดนั้นมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจผ่าคลอด สำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • มีโอกาสเสี่ยงต่อยาสลบหรือยาชาที่ฉีดที่ไขสันหลัง ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาเหล่านี้ ภาวะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นในคุณแม่ได้น้อยกว่าร้อยละ 0.5 
  • การผ่าตัดช่องท้อง มีโอกาสที่จะกระทบกระเทือนต่ออวัยวะอื่นๆ เช่น ทางเดินปัสสาวะ
  • การผ่าตัดคลอดจะทำให้เสียเลือดมากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ
  • การผ่าตัดคลอดมีโอกาสติดเชื้อหลังคลอด โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคอ้วนหรือเบาหวานจะมีความเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าคุณแม่ทั่วไป
  • การผ่าคลอด มีโอกาสเสี่ยงมดลูกแตกจากรอยแผลเดิมที่เกิดจากการเคยผ่าคลอดทางหน้าท้อง ดังนั้นหากคุณแม่เคยผ่าคลอดมาแล้วควรพิจารณาในการเลือกผ่าคลอดอีกในครั้งถัดไป
  • การผ่าตัดคลอด จะมีผลทำให้ปริมาณน้ำนมน้อยกว่าคนที่คลอดลูกแบบธรรมชาติ
  • การพักฟื้นหลังคลอด หากผ่าตัดคลอดจะใช้เวลามากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ
  • การผ่าตัดคลอด ใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี ? , (https://hdmall.co.th/c/how-to-healing-cesarean-section).
คลอดธรรมชาติ ทำให้ช่องคลอดหลวมจริงหรือ?, (https://hdmall.co.th/c/is-natural-child-birth-made-vagina-loose).
ข้อดี-ข้อเสียของการผ่าคลอดคืออะไร? , (https://hdmall.co.th/c/what-pros-and-cons-of-cesarean-section).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป