กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

คัดจมูก อาการกวนใจ ชวนหายใจไม่โล่ง

ทำความเข้าใจอาการคัดจมูก ปัญหากวนใจของใครหลายคน เกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม และรักษาได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 พ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
คัดจมูก อาการกวนใจ ชวนหายใจไม่โล่ง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการคัดจมูก (Nasal congestion) มักเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูก ทำให้ร่างกายเพิ่มการหลั่งของเหลว ส่งผลให้เกิดการคั่งน้ำมูก และบวมขึ้น จนทำให้คัดจมูกและหายใจไม่สะดวกตามมา
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคัดจมูกมีอยู่ 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ เกิดการอักเสบและการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน 
  • วิธีรักษาอาการคัดจมูกด้วยตนเอง ได้แก่ ใช้ยาบรรเทาอาการคัดจมูกซึ่งทั้งแบบรับประทานและแบบพ่นจมูก และการสวนล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
  • หากเป็นการคัดจมูกที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรหลีกเลี่ยงให้พ้นจากสารก่อภูมิแพ้นั้นให้มากที่สุด และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องการการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้
  • ควรเสริมสร้างร่างกายและภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนให้เพียงเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามลดความเครียด และตรวจสุขภาพเป็นประจำ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ใครหลายคนคงต้องเคยรู้สึกทรมานกับความรู้สึกแน่นจมูก หายใจไม่สะดวก ไม่ว่าจะเกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลง หรือเป็นอาการของโรคไข้หวัด เพื่อให้สามารถหาทางบรรเทาอาการน่ารำคาญใจนี้ได้ เราจะมาทำความรู้จักอาการคัดจมูก พร้อมวิธีรับมือกับอาการกวนใจนี้กัน

อาการคัดจมูกคืออะไร?

อาการคัดจมูก (Nasal congestion) เป็นอาการหายใจไม่สะดวก รู้สึกแน่นในโพรงจมูก ส่วนมากมักเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูก โดยร่างกายจะหลั่งสารตัวกลางการอักเสบออกมา เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ฮีสทามีน (Histamine)
  • เนโครซิส แฟคเตอร์-อัลฟ่า (Necrosis factor-alpha)
  • อินเทอร์ลิวคิน (Interleukin)

สารตัวกลางเหล่านี้จะทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดในจมูก เพิ่มการหลั่งของเหลว ส่งผลให้เซลล์บริเวณนั้นเกิดการคั่งของของเหลว (น้ำมูก) และบวมขึ้น ขัดขวางอากาศที่เข้ามาผ่านทางเดินหายใจ ทำให้เกิดความรู้สึกแน่น คัดจมูก และหายใจไม่สะดวกนั่นเอง

นอกจากนี้มักพบว่า ยังมีอาการอื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เช่น

  • มีน้ำมูกไหล
  • อ้าปากหายใจแทนการหายใจทางจมูก
  • การรับรู้กลิ่นแย่ลง ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการรับรู้รส
  • มีเสียงที่พูดเปลี่ยนไป เนื่องจากมีน้ำมูกในโพรงจมูกขัดขวางทางผ่านของอากาศ

สาเหตุของอาการคัดจมูก

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคัดจมูก มีอยู่ 2 สาเหตุหลักๆ ด้วยกัน คือ

1. เกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน

  • การติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ที่เป็นไวรัสตัวการก่อโรคไข้หวัดใหญ่
  • การติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Corona virus) และไวรัสพาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza virus) ที่ก่อโรคหวัดธรรมดา
  • การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงการติดเชื้อที่บริเวณโพรงไซนัสที่ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

อ่านเพิ่มเติม: อาการเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มีอะไรบ้าง

2. เกิดจากการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของระบบทางเดินหายใจเมื่อมีการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น

สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคัดจมูกได้ เช่น โพรงจมูกอุดตัน ที่เกิดจากความผิดปกติทางกายวิภาค ทำให้หายใจเอาอากาศเข้าไปได้น้อยจึงเกิดความรู้สึกอึดอัด หรือเป็นความรู้สึกของผู้ป่วยที่คิดไปเอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคจมูกอักเสบเหี่ยวฝ่อ ผนังกั้นช่องจมูกทะลุ หรือผู้ป่วยหลังผ่าตัดจมูก และ/หรือไซนัส 

จะรู้เบื้องต้นได้อย่างไรว่า อาการคัดจมูกของเรานั้นเกิดจากอะไร?

วิธีเบื้องต้นคือ ให้ลองสังเกตจากอาการคัดจมูกของตนเอง ดังนี้

1. พิจารณาจากระยะเวลาของอาการ

โดยปกติแล้วหากเป็นอาการคัดจมูกจากหวัดธรรมดา จะสามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน

แต่ถ้าหากอาการคัดจมูกไม่หายไปใน 10 วัน หรือมีไข้ร่วมด้วย อาจพิจารณาว่า การคัดจมูกนั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียก็เป็นได้ เช่น ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน

2. พิจารณาจากอาการอื่นที่ร่วมด้วย

หากในช่วงที่มีอาการคัดจมูก มีอาการจามบ่อยๆ คันตา คันจมูก หน้าบวม ปวดศีรษะ ร่วมด้วย อาจพิจารณาว่า การคัดจมูกนั้นเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ก็เป็นได้

วิธีการรักษาอาการคัดจมูกทั่วไป

การใช้ยาบรรเทาอาการคัดจมูก (Nasal decongestant)

ยาจะเพิ่มการหลั่งสารนอร์อิพิเนฟรีน (Norepinephrine) ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดที่บริเวณโพรงจมูก ลดการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก จึงเป็นการขยายช่องว่างโพรงจมูก ทำให้รู้สึกโล่ง สามารถหายใจได้สะดวกขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในไทยมียาบรรเทาอาการคัดจมูก 2 รูปแบบคือ ชนิดพ่นจมูก และชนิดรับประทาน โดยมีรูปแบบการใช้งานที่ต่างกัน ดังนี้

1. ยาบรรเทาอาการคัดจมูกชนิดพ่นจมูก

  • ออกฤทธิ์ได้ไวกว่าชนิดรับประทานคือ ออกฤทธิ์ภายใน 3-5 นาที แต่จะออกฤทธิ์สั้นกว่าชนิดรับประทาน
  • อาการข้างเคียงของยาคือ อาจเกิดการระคายเคียงเยื่อบุโพรงจมูก หากมีการใช้ยาบ่อยครั้ง หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ยาชนิดพ่นจมูกเกิน 3-5 วัน เพราะอาจทำให้เกิดอาการคัดจมูกรุนแรงขึ้นกว่าเดิม (Rebound congestion)

2. ยาบรรเทาอาการคัดจมูกชนิดรับประทาน

  • ใช้เวลาในการออกฤทธิ์นานกว่ายาชนิดพ่น คือ ต้องใช้เวลา 3-6 ชั่วโมงยาจึงจะออกฤทธิ์ แต่สามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า และเกิดการระคายเคืองโพรงจมูกน้อยกว่า
  • ไม่ทำให้เกิดอาการคัดจมูกรุนแรงขึ้น เมื่อใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ข้อควรระวังคือ ยาชนิดรับประทานจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด จึงไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคความดันโลหิตสูง

หมายเหตุ: การเลือกวิธีการใช้ยาบรรเทาอาการคัดจมูกนั้น ควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกร

การสวนล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มความชื้นให้กับน้ำมูกที่เหนียวเป็นก้อนติดอยู่ตามทางเดินหายใจ ช่วยให้สามารถขับน้ำมูกออกได้ง่ายยิ่งขึ้น

วิธีรักษาอาการคัดจมูกที่เกิดจากอาการแพ้

  • หากเป็นการคัดจมูกที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงให้พ้นจากสารก่อภูมิแพ้นั้นให้มากที่สุด
  • สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องการการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากการหายใจเป็นอีกทางเลือก ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้
  • เสริมสร้างร่างกายและภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพยายามลดความเครียด 
  • ทำความสะอาดที่พักอาศัย เครื่องนอน เครื่องใช้ให้บ่อยครั้งขึ้น เพื่อให้ปราศจากฝุ่นและเชื้อโรคต่างๆ 
  • หากเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ควรจำกัดบริเวณที่สัตว์เลี้ยงเข้าถึงได้ เช่น ไม่เลี้ยงในห้องนอน เพื่อป้องกันขนสัตว์ ตัวไร 

อาการคัดจมูกนั้นผลกระทบต่อร่างกายได้หลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ตามมาได้ อาการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็อาจส่งผลกระทบไปยังระบบต่างๆ ของร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงการรับกลิ่นด้วย 

หากคุณมีอาการคัดจมูกผิดปกติต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หรือมีอาการคัดจมูกเรื้อรังเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และทำการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stewart, et al., Epidemiology and Burden of Nasal Congestion, International Journal of General Medicine, 3, pp. 37-45 (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2866547/), 15 April 2020.
Naclerio, et al, Pathophysiology of Nasal Congestion. International Journal of General Medicine, 3, pp. 47-57 (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2866558/), 15 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การเบื่ออาหาร กับโรคไข้หวัด
การเบื่ออาหาร กับโรคไข้หวัด

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดมักเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้ละเลยเรื่องสารอาหารที่ควรได้รับ ทั้งๆ ที่อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาโรค

อ่านเพิ่ม