เชื้อราที่เล็บ

สาเหตุของเชื้อราที่เล็บ รักษาอย่างไร แล้วมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เชื้อราที่เล็บ

ภาวะเชื้อราที่เล็บมักจะไม่ร้ายแรงมาก เพียงแค่ทำให้ไม่สบายเนื้อสบายตัว ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง แต่งตัวลำบากมากขึ้น และต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาเท่านั้น การติดเชื้อนี้จะค่อยๆ เกิดขึ้นและจะทำให้เล็บเปลี่ยนสี หนาตัวขึ้น และมีรูปร่างบิดงอแปลกไปจากปกติ ภาวะนี้มักเกิดกับเล็บเท้ามากกว่าเล็บมือ

สัญญาณและอาการเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บจะไม่แสดงอาการออกมาชัดเจนในระยะแรกจนเมื่อเชื้อราเริ่มเติบโตขึ้น จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เล็บเปลี่ยนสี อาจเปลี่ยนเป็นสีขาว ดำ เหลือง หรือเขียวก็ได้
  • เล็บเปลี่ยนรูปร่าง เล็บที่ติดเชื้ออาจมีรูปร่าง หรือพื้นผิวที่ผิดแปลกไป จนตัดเล็บได้ยากขึ้น
  • ความเจ็บปวด หรือไม่สบายเนื้อสบายตัว โดยเฉพาะขณะใช้งาน หรือมีแรงกดที่นิ้วนั้นๆ
  • เล็บเปราะ หรือเล็บลอก เล็บอาจจะลอกออกมาเป็นชั้นๆ หรือหักออก

บางกรณีผิวหนังใกล้เคียงก็อาจติดเชื้อราตามเล็บได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคัน เล็บแตก หรือนิ้วเท้าแดงบวมขึ้น

จะทราบได้อย่างไรว่า เล็บติดเชื้อรา

เชื้อราเหล่านี้มักจะอยู่บนผิวหนังของมนุษย์อยู่แล้วและไม่ทำอันตรายอะไร แต่หากเชื้อราเหล่านี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ เชื้อราเหล่านี้มักจะเพิ่มจำนวนเมื่อพบกับสภาพอากาศที่อบอุ่น และชื้นอย่างเช่นเท้า

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่เล็บ

  • ปล่อยปละความสะอาดที่เท้และไม่ทำให้เท้าแห้ง
  • สวมใส่รองเท้าที่ทำให้เท้าร้อน ชื้น และมีเหงื่อออกมาก
  • เดินเท้าเปล่าในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา เช่น ห้องอาบน้ำและห้องสุขารวม โรงยิม
  • เล็บกำลังเสียหาย หรือมีบาดแผล
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • มีภาวะผิดปกติ หรือมีโรคอื่นอยู่ เช่น เบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

การรักษาเชื้อราที่เล็บ

  • กรณีที่ไม่รุนแรงมากไม่จำเป็นต้องรับการรักษา เนื่องจากมักไม่ก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติมใดๆ แต่ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจเข้ารับการรักษาหรือไม่ คุณก็ยังต้องรักษาความสะอาดของเท้าเพื่อยับยั้งการลุกลามของเชื้อราอยู่ดี
  • คุณสามารถปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรได้ หากกังวลกับรูปลักษณ์ของเล็บที่เปลี่ยนไป หรือประสบกับปัญหาความเจ็บปวด หรือไม่สบายตัวบริเวณเล็บเท้า ซึ่งแพทย์มักจ่ายยา ให้ชุดการรักษาและทำความสะอาดเล็บเท้าที่ติดเชื้อรา
  • เปลี่ยนรองเท้าให้ง่ายต่อการรักษาแผล 

ยาต้านเชื้อราแบบเม็ด

ยาเทอร์บินาไฟน์ (Terbinafine) และยาอิทราโคนาโซล (Itraconazole) เป็นยาต้านเชื้อราที่มักใช้เพื่อรักษาภาวะเชื้อราที่เล็บมากที่สุด มักกำหนดให้รับประทาน 1-2 ครั้งต่อวันเป็นเวลาติดต่อกันหลายเดือนเพื่อกำจัดการติดเชื้อทั้งหมด เพราะหากหยุดยาเร็วเกินไปอาจทำให้ติดเชื้อซ้ำอีกได้ อย่างไรก็ดี ยาทั้ง 2 ชนิดอาจส่งผลข้างเคียงจากการใช้ได้ โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้

การรักษาด้วยยาต้านเชื้อราที่เล็บจะมีประสิทธิภาพประมาณ 60-80% และมักจะใช้เวลาประมาณ 6–18 เดือนจึงจะทำให้เล็บมีภาวะกลับไปสู่สภาพปกติได้ ถ้าการรักษาได้ผล คุณจะสังเกตเห็นเล็บใหม่ที่มีสุขภาพดีเริ่มงอกออกมาจากฐานเล็บ ทำให้เล็บเก่าที่เคยติดเชื้อถูกดันออก ท้ายที่สุดก็จะสามารถตัดเล็บเก่านั้นทิ้งไปได้ แต่หากเล็บที่สุขภาพดียังไม่งอกออกมาภายหลังการรักษาควรปรึกษาแพทย์เพื่อดำเนินการรักษาต่อไปจนกว่าแพทย์จะเห็นว่า หยุดได้ เนื่องจากการหยุดการรักษาที่เร็วเกินไปจะทำให้การติดเชื้อรากลับมาอีก

นอกจากนี้การรับประทานยาต้านเชื้อราแบบเม็ดแล้ว ยังสามารถใช้สบู่ที่มีตัวยาคีโตโคนาโซล (ketoconazole) มาผสมน้ำและแช่เท้าวันละ 2 ครั้งได้

สีทาเล็บต้านเชื้อรา

หากไม่ต้องการรับประทานยาต้านเชื้อรา แพทย์ หรือเภสัชกรจะแนะนำให้คุณลองสีทาเล็บต้านเชื้อราแทนซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อกำจัดเชื้อราให้หมด สีทาเล็บต้านเชื้อรามักไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับยาเม็ดเนื่องจากตัวสีไม่ได้ซึมผ่านชั้นเล็บลงไปถึงผิว แต่ข้อดีของสีทาเล็บต้านเชื้อราคือ ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การทำให้เล็บอ่อนและขูดทิ้ง

การใช้ยาต้านเชื้อรามักจะใช้เวลาค่อนข้างนานทำให้ผู้ติดเชื้อราที่เล็บบางคนหันไปใช้วิธีการทำให้เล็บอ่อน ก่อนที่จะขูดเล็บที่ติดเชื้อออกแทน ทางร้านขายยาจะมีอุปกรณ์สำหรับขูดเล็บจำหน่าย ส่วนมากอุปกรณ์สำหรับขูดเล็บจะประกอบด้วยครีมยูเรีย (Urea cream) 40% พลาสเตอร์ ครีมนี้จะมีไว้เพื่อทำให้เล็บที่ติดเชื้อราอ่อนตัวลงจนสามารถใช้อุปกรณ์ขูดส่วนที่ติดราออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งรอยขูดจะค่อยๆ ถูกทดแทนด้วยเล็บใหม่ที่สุขภาพดีไปเอง

ขั้นตอนการขูดเล็บ

  • ล้างบริเวณที่ติดเชื้อราให้สะอาดและทำให้แห้งมากที่สุด
  • ค่อยๆ ทาครีมลงบนเล็บที่ติดเชื้อ
  • ปิดเล็บส่วนนั้นด้วยพลาสเตอร์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  • วันถัดมาให้ล้างครีมทาเล็บออกและขูดส่วนเล็บที่อ่อนนุ่มออก

ทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกซ้ำๆ ทุกวันเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เมื่อกำจัดส่วนที่ติดเชื้อราออกหมดแล้วให้พบเภสัชกรเพื่อรับสีทาเล็บต้านเชื้อรามาทา ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เล็บที่งอกใหม่ติดเชื้อราซ้ำ 

การรักษาเชื้อราที่เล็บระยะรุนแรง

การถอดเล็บ

แพทย์มักไม่นิยมรักษาด้วยวิธีการถอดเล็บออกนัก นอกจากว่ามีการติดเชื้อราที่เล็บรุนแรง หรือผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดมากจนการรักษาข้างต้นไม่อาจช่วยได้ เมื่อผ่านการผ่าตัดถอดเล็บออกแล้ว เล็บใหม่ควรจะงอกขึ้นมาแทนที่ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นปีกว่าที่เล็บจะกลับมาสมบูรณ์

การรักษาด้วยเลเซอร์

การรักษาด้วยเลเซอร์เป็นการใช้เลเซอร์กำลังสูงเข้าไปทำลายเชื้อราที่เล็บให้หมดไป แต่ยังไม่มีหลักฐานว่า การรักษาแบบนี้สามารถกำจัดเชื้อราที่เล็บได้จริง วิธีนี้จึงยังไม่ถูกนำเข้าไปอยู่ในวิธีการรักษาทั่วไปสำหรับการติดเชื้อราที่เล็บ

หากต้องการลองการรักษาด้วยเลเซอร์ คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่ากระบวนการรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องทำซ้ำๆ ต่อเนื่องนานเป็นปี นั่นจึงหมายถึงค่าใช้จ่ายที่จะค่อยๆ สูงขึ้นตามไปด้วย และเป็นการรักษาที่หายากเพราะยังไม่แพร่หลายมากนัก

การป้องกันเชื้อราที่เล็บ

คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นเชื้อราที่เล็บได้ด้วยการปฏิบัติตามวิธีการต่อไปนี้

  • ทำให้มือและเท้าแห้ง และสะอาดอยู่เสมอ
  • สวมใส่รองเท้าพอดี เลือกรองเท้าที่ผลิตมาจากวัสดุตามธรรมชาติ และใช้ถุงเท้าผ้าใหม่สะอาดเพื่อให้อากาศรอบเท้าถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา
  • ตัดเล็บมือและเล็บเท้าให้สั้น 
  • ไม่ใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวและถุงเท้าร่วมกับผู้อื่น 
  • ควรเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวเป็นประจำ
  • ไม่เดินเท้าเปล่ารอบสระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำและห้องน้ำรวม แต่ควรสวมใส่รองเท้าสำหรับอาบน้ำทุกครั้ง
  • เปลี่ยนรองเท้าที่อาจเป็นแหล่งหมักหมมเชื้อรา 
  • รักษาโรคน้ำกัดเท้าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราลุกลามไปยังเล็บ
  • อุปกรณ์แต่งเล็บที่ร้านเสริมสวยอาจเป็นหนึ่งในแหล่งแพร่เชื้อราได้ หากคุณชอบไปแต่งเล็บที่ร้านบ่อยๆ ควรแน่ใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ทำเล็บได้ผ่านการฆ่าเชื้อก่อนการใช้งานทุกครั้ง

จะเห็นได้ว่า หลักสำคัญของการป้องกันเชื้อราที่เล็บคือ การรักษาความสะอาดบริเวณมือและเท้าอย่างสม่ำเสมอและไม่ใช้สิ่งของที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อร่วมกับผู้อื่น เพียงเท่านี้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่เล็บก็จะลดน้อยลง 


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Butler, N. Healthline (2017). Diabetes and Yellow Nails: Is There a Connection? (https://www.healthline.com/health/is-diabetes-causing-my-yellow-nails)
Mayo Clinic (2019). Diseases and Conditions. Nail Fungus. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/nail-fungus/doctors-departments/ddc-20353302)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)