กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

กล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle Strains)

สาเหตุ วิธีป้องกัน แล้วต้องทำอย่างไรเมื่อกล้ามเนื้อฉีกขาด
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
กล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle Strains)

อาการกล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดจากอะไร

อาการกล้ามเนื้อฉีกขาด (Muscle Strains) เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อยืดมากเกินไป หรือขาด ซึ่งมักเกิดจากการที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะถูกใช้งานมากเกินไป หรือถูกใช้งานไม่เหมาะสม ทั้งนี้การฉีกขาดสามารถเกิดได้กับกล้ามเนื้อทุกชนิด แต่โดยทั่วไปแล้วจะพบที่หลังส่วนล่าง คอ หัวไหล่ และเอ็นร้อยหวาย ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขา

การฉีกขาดสามารถทำให้คุณมีอาการปวด และอาจต้องจำกัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหา ทั้งนี้เราสามารถรักษากล้ามเนื้อที่ฉีกขาดระดับเบา จนถึงปานกลางที่บ้านได้ โดยใช้น้ำแข็ง ความร้อน และยาต้านการอักเสบ แต่ในกรณีที่การฉีกขาดอยู่ในระดับรุนแรง คุณอาจต้องไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของกล้ามเนื้อฉีกขาด

โดยทั่วไปแล้วคุณจะสัมผัสได้ว่ากล้ามเนื้อฉีกขาด สำหรับอาการที่พบได้นั้นประกอบไปด้วย

  • รู้สึกปวด หรือเจ็บแบบฉับพลัน
  • เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่
  • มีรอยช้ำ หรือผิวเปลี่ยนสี
  • บวม
  • รู้สึกเจ็บปวด
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • กล้ามเนื้อแข็ง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

หากการฉีกขาดอยู่ในระดับเบา กล้ามเนื้อที่ฉีกอาจแข็งเล็กน้อย แต่ยังคงยืดหยุ่นมากพอสำหรับการใช้งานได้ แต่ในกรณีที่กล้ามเนื้อฉีกขาดระดับรุนแรง คุณจะรู้สึกเจ็บ และเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อฉีกขาดที่อยู่ในระดับเบาไปจนถึงระดับปานกลางมักหายภายในไม่กี่สัปดาห์ หากอาการอยู่ในระดับรุนแรง ก็อาจใช้เวลาหลายเดือน กล้ามเนื้อจึงจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม

สาเหตุของกล้ามเนื้อฉีกขาด

การที่กล้ามเนื้อของคุณฉีกขาดแบบฉับพลันนั้น สามารถเกิดจากการบาดเจ็บโดยสาเหตุต่อไปนี้

  • การไม่วอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย
  • ร่างกายไม่ยืดหยุ่น
  • ร่างกายปรับสภาพได้ไม่ดี
  • ออกกำลังกายมากเกินไป และกล้ามเนื้ออ่อนล้า

อย่างไรก็ดี มีการเข้าใจผิดว่าการออกกำลังกายอย่างหนัก และใช้แรงเยอะเท่านั้นที่เป็นต้นเหตุให้กล้ามเนื้อฉีกขาด แต่ความจริงแล้ว แม้แต่การเดินก็สามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ ทั้งนี้การฉีกขาดแบบฉับพลันสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือเกิดอุบัติเหตุ เช่น

  • ลื่นหรือสะดุด
  • กระโดด
  • วิ่ง
  • เขวี้ยงบางสิ่ง
  • ยกสิ่งของที่หนัก
  • ยกสิ่งของขณะที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม

การฉีกขาดแบบฉับพลันมักพบได้ในช่วงที่สภาพอากาศหนาวเย็น เพราะว่ากล้ามเนื้อมักเกร็งมากขึ้นในอุณหภูมิที่ต่ำลง ซึ่งการวอร์มร่างกายในช่วงเวลานี้ จะสามารถป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ทั้งนี้กล้ามเนื้อฉีกขาดที่เกิดขึ้นเรื้อรัง เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวซ้ำ ซึ่งสามารถเกิดได้จากปัจจัยต่อไปนี้ 

  • การเล่นกีฬาบางประเภท เช่น การแข่งเรือพาย เทนนิส กอล์ฟ เบสบอล เป็นต้น
  • หลัง หรือคออยู่ผิดท่าเป็นเวลานาน เช่น เมื่อคุณนั่งทำงานที่โต๊ะ
  • จัดท่าทางไม่เหมาะสม

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อกล้ามเนื้อฉีกขาด

โดยทั่วไปแล้วเราสามารถรักษากล้ามเนื้อฉีกขาดได้ที่บ้าน ซึ่งการพักผ่อน การใช้น้ำแข็ง การประคบร้อน และการยกกล้ามเนื้อ จะช่วยรักษากล้ามเนื้อที่ฉีกขาดระดับเบาได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. การพักผ่อน

คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลาหลายวัน โดยเฉพาะหากการเคลื่อนไหวทำให้คุณรู้สึกเจ็บมากขึ้น แต่การพักมากเกินไปก็สามารถทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอได้ ซึ่งสามารถทำให้กระบวนการเยียวยาใช้เวลานานขึ้น ดังนั้นหลังจากผ่านไป 2 วัน ให้คุณค่อยๆ ลองเริ่มใช้กลุ่มกล้ามเนื้อที่มีปัญหา แต่ระวังอย่าใช้งานมากเกินไป 

2. น้ำแข็ง

หลังจากที่กล้ามเนื้อบาดเจ็บ ให้คุณใช้น้ำแข็งประคบแนบบริเวณที่มีปัญหาทันที ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยลดอาการบวมได้ ทั้งนี้ คุณไม่ควรใช้น้ำแข็งนาบที่ผิวโดยตรง แต่ให้นำผ้ามาห่อไอซ์แพค หรือน้ำแข็งแล้วนำมาวางที่กล้ามเนื้อประมาณ 20 นาที โดยให้คุณทำซ้ำทุกชั่วโมงในวันแรก เมื่อผ่านไปหลายวัน ให้คุณทำเช่นนี้ทุก 4 ชั่วโมง

3. การประคบ

คุณสามารถทำให้อาการบวมบรรเทาลงโดยใช้ผ้ายืด (Elastic Bandage) ห่อบริเวณที่มีปัญหาจนกระทั่งหายบวม แต่คุณควรระวังไม่ให้ห่อแน่นจนเกินไป เพราะการทำเช่นนี้สามารถทำให้เลือดหมุนเวียนน้อยลง หลังจากผ่านไป 3 วัน ให้คุณใช้ความร้อนประคบที่กล้ามเนื้อหลายครั้งต่อวัน การทำเช่นนี้จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณที่มีปัญหา เพื่อช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ

4. การยก

คุณควรยกกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้อยู่เหนือระดับของหัวใจเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้

4. การกินยา

กินยาต้านการอักเสบอย่างไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) จะช่วยให้อาการปวดและบวมบรรเทาลง นอกจากนี้การรับประทานยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือไทลินอล (Tylenol) ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเช่นกัน

วิธีการดูแลตนเองอื่นๆ เมื่อกล้ามเนื้อฉีกขาด 

  • เริ่มยืดเส้นยืดสายแบบเบาๆ ให้เร็วที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ และค่อยๆ เริ่มทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย
  • เมื่อคุณสามารถกลับมาทำกิจกรรมตามปกติได้ คุณไม่ควรลืมยืดเส้นยืดสาย และวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บ
  • พยายามรักษารูปร่างให้ดี เพราะกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และมีสุขภาพดีจะทำให้แนวโน้มการฉีกขาดน้อยลงไปด้วย

แต่หากกล้ามเนื้อฉีกขาดในระดับรุนแรง คุณอาจต้องไปพบแพทย์ ซึ่งอาจแนะนำให้คุณทำกายภาพบำบัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากกล้ามเนื้อฉีกขาดในระดับเบาไปจนถึงปานกลาง การรักษาตัวที่บ้านก็นับว่าเพียงพอ แต่หากมีอาการต่อไปนี้ คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจกล้ามเนื้อ

  • ความเจ็บไม่ได้บรรเทาลง หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์
  • บริเวณที่บาดเจ็บมีอาการชา
  • มีเลือดออกบริเวณที่บาดเจ็บ
  • ไม่สามารถเดินได้
  • ไม่สามารถเคลื่อนแขน หรือขา

การรักษา

การตรวจร่างกาย การเอ็กซเรย์ (X-rays) หรือการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI Scan (Magnetic Resonance Imaging) สามารถช่วยให้แพทย์ระบุได้ว่าการบาดเจ็บอยู่ในขั้นใด ซึ่งการรักษานั้นอาจประกอบไปด้วย การรับประทานยาต้านการอักเสบและการรับประทานยาบรรเทาปวด เพื่อลดอาการบวมและปวด นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งให้คุณทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและฟื้นฟูการเคลื่อนไหว หรือในกรณีที่อาการอยู่ในระดับรุนแรง แพทย์อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด

วิธีป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อฉีกขาด

คุณสามารถทำให้กล้ามเนื้อมีโอกาสฉีกขาดลดลง หากคุณทำตามวิธีดังนี้

  • พยายามไม่นั่งท่าเดียวเป็นเวลานาน ทางที่ดีให้คุณหาเวลาพักบ่อยๆ เพื่อเคลื่อนไหวและเปลี่ยนท่านั่งบ้าง รวมถึงใช้เก้าอี้ที่ช่วยพยุงหลังส่วนล่าง หรือคุณอาจใช้หมอน และพยายามนั่งให้หัวเข่าอยู่ในระดับเดียวกับสะโพก 
  • จัดท่ายืนและท่านั่งให้เหมาะสม หากคุณต้องนั่งท่าเดียวเป็นเวลานาน ให้คุณสลับการวางเท้า และใช้เท้าอีกฝั่งวางไว้ยังที่วางเท้าที่ต่ำกว่า การทำเช่นนี้ช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อหลัง
  • ยกสิ่งของอย่างระมัดระวังโดยให้คุณยืดหลังตรง งอเข่า และยกพร้อมกับขาเสมอ รวมถึงดึงสิ่งของให้ชิดกับลำตัว ไม่ยก และหมุนสิ่งของในเวลาเดียวกัน
  • ยกสิ่งของอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้คุณล้ม เช่น จับราวบันได หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นที่ลื่น และไม่ปล่อยให้พื้นมีสิ่งของวางระเกะระกะ
  • ลดน้ำหนัก หากคุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน
  • ใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดีกับเท้า
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อความแข็งแรงและสุขภาพที่ดีของกล้ามเนื้อ และควรยืดเส้นยืดสาย วอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายเสมอ รวมทั้งใช้เวลายืดเส้นยืดสาย หลังจากออกกำลังกายด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็ง และหากคุณเพิ่งเริ่มออกกำลังกาย ให้คุณเริ่มอย่างช้าๆ และใช้เวลาไม่นานในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ การเข้าใจขีดจำกัดของร่างกายตัวเอง หากคุณรู้สึกผิดปกติในระหว่างที่ออกกำลังกาย ให้คุณหยุดทันที

การพักฟื้นจากกล้ามเนื้อฉีกขาด

เวลาที่ใช้ฟื้นตัวขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ 

  • หากกล้ามเนื้อฉีกขาดในระดับเบา คุณอาจกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 3-6 สัปดาห์ ด้วยการดูแลตัวเองที่บ้านแบบง่ายๆ 
  • หากการฉีกขาดอยู่ในระดับรุนแรง เวลาที่ใช้พักฟื้นก็สามารถกินเวลาหลายเดือน ในกรณีนี้แพทย์อาจจำเป็นต้องผ่าตัดและอาจให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดด้วย              

หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม คนส่วนมากจะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์และกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ คุณสามารถทำให้ร่างกายฟื้นตัวดีขึ้น โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำที่เดิม ทำตามคำแนะนำของแพทย์ และไม่ออกกำลังกายหนักจนกว่ากล้ามเนื้อจะหายเป็นปกติ

ที่มา: HealthLine


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Muscle strain: Symptoms, diagnosis, treatment, and recovery. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324642)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป