กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Muscle Wasting (ภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ คือภาวะที่กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงน้อยลง เนื่องจากขาดกิจกรรมทางร่างกายซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคภัยบางชนิดที่ทำให้การเคลื่อนไหวแขนหรือขาเป็นไปได้ยาก อาการของภาวะกล้ามเนื้อฝ่อที่พบมากที่สุด คือแขนหรือขามีขนาดเล็กกว่าอีกข้างอย่างเห็นได้ชัดเจน

สาเหตุการเกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ

ภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ มักเป็นผลมากจากกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานนานจนเสื่อมสภาพลง เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุแล้วต้องใส่เฝือก ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ รวมถึงนักบินอวกาศที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพไร้น้ำหนัก แต่ไม่ว่าภาวะนี้จะเกิดขึ้นนานเพียงใด แต่ถ้าผู้ป่วยได้กลับไปออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ กล้ามเนื้อก็สามารถกลับมาแข็งแรงเช่นเดิมได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ ได้แก่

  • ภาวะทางการแพทย์บางชนิดที่ทำให้กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ หรือทำให้เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก เช่น
    • Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) ภาวะที่มีผลต่อเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้จิตใจ
    • โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ (Dermatomyositis) ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
    • โรคกิลเลน-บาร์เร่ (Guillain-Barré Syndrome) เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่ทำให้เส้นประสาทอักเสบและกล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่ร่างกายทำลายชั้นปกคลุมเส้นประสาท
    • โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • โรคประสาทอักเสบ (Neuropathy) ทำให้ความรู้สึกหรือการทำงานส่วนนั้นๆ หายไป
    • โรคข้ออักเสบ (Osteoarthritis) ทำให้การเคลื่อนไหวในข้อต่อลดลง
    • โปลิโอ (Polio) การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เนื้อเยื่อเป็นอัมพาต
    • โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis)
    • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคอักเสบเรื้อรังที่เกิดกับข้อต่อ
    • โรคกล้ามเนื้อฝ่อจากสันหลัง (Spinal Muscular Atrophy) โรคสืบทอดที่ทำให้กล้ามเนื้อแขนและขาเสื่อมสภาพลง
  • อายุที่มากขึ้น
  • มีอาการกล้ามเนื้อผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ (Alcohol-associated Myopathy) หรืออาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากการดื่มสุราปริมาณมากๆ เป็นเวลานาน
  • แผลไหม้
  • ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
  • การบาดเจ็บที่ปลายเส้นประสาทหรือไขสันหลัง
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • การบำบัดด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เป็นเวลานาน

การวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อฝ่อด้วยการสอบถามประวัติสุขภาพ และอาจจะจัดให้มีการทดสอบต่างๆ ประกอบการวินิจฉัยและกำจัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคอื่นๆ ออกไป ดังนี้

  • การตรวจเลือด
  • การเอกซเรย์
  • การสแกนคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI))
  • การสแกนคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT) Scan)
  • การตรวจกล้ามเนื้อและประสาทด้วยไฟฟ้า (Nerve Conduction Studies)
  • การเจาะตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) ประสาทหรือกล้ามเนื้อ
  • การวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography (EMG))

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ

การรักษาภาวะกล้ามเนื้อฝ่อจะขึ้นอยู่กับผลการวินิจฉัยและความรุนแรงของภาวะสูญเสียกล้ามเนื้อของผู้ป่วย โดยการรักษาส่วนมาก คือการออกกำลังกายในน้ำที่ช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้น โดยจะมีนักกายภาพบำบัดเป็นผู้ฝึกสอนการออกกำลังกายที่ถูกต้องให้ รวมถึงช่วยขยับแขนขา ในกรณีที่ไม่สามารถขยับได้ด้วยตัวเอง ซึ่งในระหว่างนี้อาจมีนักโภชนาการมาช่วยดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ด้วย

แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ก็อาจต้องรักษาด้วยการบำบัดอัลตราซาวด์ ด้วยการใช้คลื่นเสียงช่วยในการรักษา ส่วนการผ่าตัดจะเกิดขึ้นในกรณีที่เส้นเอ็น เอ็นยึด ผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อมีการรัดตัวแน่นเกินจนทำให้เคลื่อนไหวส่วนนั้น ๆ ไม่ได้เลย


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, Muscle atrophy (https://medlineplus.gov/ency/article/003188.htm)
Scott K. Powers,Gordon S.Lynch,Kate T. Murphy,Michael B. Reid, and Inge Zijdewind, Disease-Induced Skeletal Muscle Atrophy and Fatigue (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5069191/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)