กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
พญ.นันทิดา สาลักษณ
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.นันทิดา สาลักษณ

ติ่งเนื้อ (Skin tags)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 15 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ติ่งเนื้อคือ การงอกของตุ่มบนผิวหนังซึ่งเกิดได้ทั่วร่างกาย แต่ผู้ที่มีเป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะอ้วน กำลังตั้งครรภ์จะมีโอกาสเกิดติ่งเนื้อได้มากกว่า
  • ติ่งเนื้ออาจเกิดได้จากการเสียดสีของเนื้อผ้า การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ หรืออาจเกิดจากภาวะดื้ออินซูลินก็ได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อยังไม่สามารถพบได้อย่างแน่ชัด
  • การรักษาติ่งเนื้อสามารถตัดออกได้ โดยอาจมีเลือดออกบ้าง ยกเว้นแต่เป็นติ่งเนื้อขนาดใหญ่ที่แพทย์อาจต้องใช้เครื่องจี้ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อช่วยในการตัดเนื้อออกด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีติ่งเนื้อ ห้ามกำจัดติ่งเนื้อเองอย่างเด็ดขาดเพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้กระเนื้อ ติ่งเนื้อด้วยเลเซอร์

ติ่งเนื้อคือ การงอกขึ้นมาของตุ่มบนผิวหนังที่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆ ติ่ง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยมากติ่งเนื้อเหล่านี้จะมีสีเดียวกับผิวโดยรอบ หรืออาจมีสีเข้มกว่าเล็กน้อย 

ติ่งเนื้อมักเกิดจากหลอดเลือดและโปรตีนไฟเบอร์คอลลาเจนที่ทำให้ผิวหนังยื่นออกมา อาจมีขนาดเล็กมากไปจนถึงขนาดใหญ่ได้ ติ่งเนื้อหลายติ่งสามารถเกิดขึ้นบนส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่ส่วนมากจะงอกขึ้นในพื้นที่ที่มีการเสียดสีมากๆ เช่น ลำคอ เต้านม ขาหนีบ ท้อง เปลือกตา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ชายและผู้หญิงต่างมีแนวโน้มการเกิดติ่งเนื้อเท่าๆ กัน แต่ผู้ที่มีภาวะอ้วน เป็นผู้ป่วยเบาหวาน หรือกำลังตั้งครรภ์จะมีโอกาสเกิดติ่งเนื้อได้มากกว่าคนทั่วไป

บางกรณีอาจพบว่า ติ่งเนื้อที่เกิดขึ้น มีลักษณะคล้ายกับไฝ หรือจุดอื่นๆ บนผิวหนัง บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy) เพื่อยืนยันว่า ติ่งนั้นไม่เป็นเนื้อร้าย หรืออันตรายใดๆ ต่อร่างกาย

สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อหลายติ่ง

ปัจจุบันยังไม่ทราบว่า สาเหตุใดที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อขึ้น แต่ก็เชื่อกันว่า เป็นผลมาจากการเสียดสีของผิว และอาจมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการเกิดติ่งเนื้อ ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์
  • ภาวะดื้ออินซูลินที่มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวาน 
  • ภาวะอ้วน
  • พบได้ในโรค Birt–Hogg–Dub้ syndrome และ Cowden syndrome

ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นติ่งเนื้อมาก่อนก็มีโอกาสจะเกิดติ่งเนื้อได้ง่าย จึงทำให้นักวิจัยเชื่อว่า "พันธุกรรมมีส่วนในการเกิดติ่งเนื้อด้วยเช่นกัน" 

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า โรคเบาหวานและภาวะอ้วนมีส่วนทำให้เกิดติ่งเนื้อได้ ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ 

รวมทั้งตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ซึ่งมักจะมีการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับน้ำตาล ระดับไขมันต่างๆ ในเลือดร่วมด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หรือหากมีความกังวลมาก มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพอาจตรวจเบาหวานเพิ่มเติม

การกำจัดติ่งเนื้อ

ปกติแล้วมักไม่ค่อยมีการกำจัดติ่งเนื้อกันมากนัก แม้จะมีติ่งเนื้อหลายติ่งก็ตาม เว้นแต่ติ่งเนื้อจะเกิดการอักเสบ หรือระคายเคือง หรือพบว่า ติ่งเนื้อสามารถบิดตัวที่ฐานจนทำให้กดการไหลเวียนเลือดภายในติ่ง ซึ่งจะทำให้ติ่งเนื้อเปลี่ยนสีไปเป็นดำ หรือแดง 

ทั้งสองกรณีนี้สามารถขอให้แพทย์ช่วยกำจัดออกให้ได้ โดยแพทย์จะเลือกอาจเลือกใช้วิธีตัดออก หรือจี้ไฟฟ้าก็ได้ โดยก่อนทำหัตถการจะมีการทายาชา หรือฉีดยาชาระงับความเจ็บปวดเฉพาะที่ให้

ภายหลังกำจัดติ่งไปแล้วก็มีโอกาสที่ติ่งเนื้อใหม่จะงอกขึ้นมาในตำแหน่งเดิมอีกครั้ง หรือเกิดขึ้นบนตำแหน่งใหม่ก็ได้ ดังนั้นการกำจัดติ่งเนื้อจึงไม่ได้จำเป็นทางการแพทย์ หากไม่ได้คำนึงเรื่องความสวยงามก็ไม่จำเป็นต้องกำจัดติ่งเนื้อเหล่านี้ออก

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดติ่งเนื้อ

การกำจัดติ่งเนื้อเป็นหัตถกรรมความเสี่ยงต่ำ แต่ก็อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้าง หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่ หรือมีติ่งเนื้อหลายติ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน 

บางกรณีแพทย์อาจการใช้สารบางอย่าง หรือใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า (Electrocautery) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกำจัดติ่งเนื้อด้วยตนเองอย่างเด็ดขาดเพราะเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่จะนำมาตัดติ่งเนื้อมักไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี ซึ่งนั่นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงขึ้น หรือเลือดไหลไม่หยุดได้หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้กระเนื้อ ติ่งเนื้อด้วยเลเซอร์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sewon Kang, Masayuki Amagai, Anna L. Bruckner, Alexander H. Enk, David J. Margolis, Amy J. McMichael, Jeffrey S. Orringer, Fitzpatrick's Dermatology, 9th edition, McGraw-Hill Education, 2019.
University of Pennsylvania Health System | Penn Medicine, The Skinny on Skin Tags: 6 Questions and Answers ( https://www.pennmedicine.org/updates/blogs/health-and-wellness/2018/december/skin-tags), 25 October 2020.
National Center for Biotechnology Information, Skin Tags (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK547724/), 25 October 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ถ้ามีติ่งเนื้อห้อยบริเวณปากทวารจะเป็นอันตรายไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นมาเองนี่เป็นอันตรายไหมคะ และสามารถที่จะตัดออกได้หรือไม่ และมันจะไม่ขึ้นอีกใช่หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูกสาวมีติ่งตรงทวารหนักค่ะเวลาล้าก้นน้องพอโดนติ่งเนื้อน้องจะบอกเจ็บค่ะพาน้องไปหาหมอ / หมอบอกว่าต้องรอน้องโตกว่านี้ถึงจะผ่าออกได้ค่ะ อยากรู้น้องเป็นอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หูดติ่งเนื้อรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีติ่งเนื้อในท่อน้ำดี อันตรายไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)