ลักษณะของโรคมะเร็งช่องปาก

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลักษณะของโรคมะเร็งช่องปาก

มะเร็งในช่องปากเป็นสิ่งที่หลายคนละเลย เนื่องจากคิดว่าเป็นแผลเล็กน้อยในช่องปาก และจะหายไปได้เองเมื่อเวลาผ่านไป โดยไม่รับรู้ถึงอาารที่เป็นสัญญาณของมะเร็งในช่องปาก

มะเร็งในช่องปากเกิดขึ้นส่วนไหน?

มะเร็งในช่องปากนั้นสามารถเกิดขึ้นที่ส่วนใดของปากหรือช่องปากก็ได้ ซึ่งประกอบด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ริมฝีปาก
  • เนื้อเยื่อที่บุริมฝีปากและกระพุ้งแก้ม
  • ฟัน
  • 2/3 ของลิ้นด้านหน้า (ลิ้นส่วนหลังนั้นถือว่าเป็นส่วนของคอหอย)
  • เหงือก
  • ส่วนของปากที่อยู่ใต้ลิ้น
  • เพดานปาก

อาการที่อาจเป็นมะเร็งช่องปาก

ปื้นที่ผิดปกติในปาก

เซลล์แบนๆ ที่อยู่ที่ผิวของปาก ลิ้นและริมฝีปากนั้นเรียกว่า squamous cell มะเร็งในช่องปากส่วนมากนั้นเกิดในเซลล์เหล่านี้ การพบปื้นที่ลิ้น เหงือก ต่อมทอนซิล หรือเยื่อบุในช่องปากนั้นอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาที่กำลังจะตามมาได้

การมีปื้นสีแดงหรือขาวภายในปากหรือบนริมฝีปากนั้นอาจจะเป็นอาการของมะเร็งชนิด squamous cell carcinoma

มะเร็งในช่องปากนั้นสามารถมีลักษณะและทำให้เกิดอาการได้หลายแบบ ผิวหนังอาจจะรู้สึกหนาขึ้นหรืออาจจะเป็นตุ่ม หรืออาจจะเป็นแผลเรื้อรังก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือพวกมันจะไม่ยอมหายและเป็นเรื้อรัง ในขณะที่หากไม่ได้เป็นมะเร็งนั้นมักจะหายภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์

ปื้นที่มีทั้งสีแดงและขาว

การที่มีปื้นทั้งสีแดงและขาวผสมกันในปากนั้นเรียกว่า erythroleukoplakia ซึ่งเป็นการเจริญของเซลล์ที่มีแนวโน้มจะเป็นมะเร็ง หากมีปื้นดังกล่าวนานกว่า 2 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์ คุณอาจจะมองเห็นความผิดปกตินี้ก่อนที่จะรู้สึกถึงมัน ในระยะแรกๆ ของการเป็นมะเร็งในช่องปากนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ

ปื้นสีแดง

ปื้นสีแดงสดภายในปากนั้นเรียกว่า erythroplakia และมักจะเป็นภาวะก่อนที่จะเป็นมะเร็ง

ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ 75-90% นั้นพบว่าเป็นมะเร็ง ดังนั้นอย่าละเลยอาการนี้ แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปื้นสีขาว

ปื้นสีขาวที่อยู่ด้านในปากหรือบนริมฝีปากนั้นเรียกว่า leukoplakia หรือ keratosis ซึ่งอาจจะเกิดจากการระคายเคืองเช่นฟันที่แตก หรือการสูบบุหรี่ทำให้เซลล์นั้นมีการเจริญมากกว่าปกติและทำให้เกิดปื้นดังกล่าว

การเคี้ยวโดนกระพุ้งแก้มตัวเองจนเป็นนิสัยนั้นก็อาจจะทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน รวมถึงการได้รับสารก่อนมะเร็ง

ปื้นเหล่านี้มักแสดงว่าเนื้อเยื่อนั้นมีความผิดปกติและอาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามส่วนมากนั้นมักจะเป็นเนื้อดี ปื้นเหล่านี้อาจจะสาก แข็งและขูดออกได้ยาก และมักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

แผลที่ลิ้น

คุณอาจจะพบปื้นสีแดงที่บริเวณใดของปากก็ได้แต่มักจะพบที่ใต้ลิ้นหรือที่เหงือกด้านหลังฟัน ลองใช้นิ้วสะอาดเลื่อนลิ้นไปทางด้านข้างและสังเกตบริเวณใต้ลิ้น ดูด้านข้างของลิ้นและในกระพุ้งแก้ม ก่อนจะตรวจริมฝีปากทั้งด้านในและด้านนอก 

แผลร้อนใน

แผลร้อนในนั้นมักจะทำให้รู้สึกเจ็บก่อนที่จะเริ่มเห็นแผล ในขณะที่มะเร็งในช่องปากระยะแรกนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ และการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกตินั้นมักจะมีลักษณะเป็นปื้นแบนๆ

ในขณะที่แผลร้อนในนั้นมีลักษณะเหมือนแผลเปิดที่บุ๋มตรงกลางซึ่งมีสีขาว เทา หรือเหลืองและมีขอบเป็นสีแดง

แผลร้อนในนั้นมักจะทำให้เจ็บแต่ไม่ได้เป็นเนื้อร้ายและไม่เป็นมะเร็ง ส่วนมากสามารถหายได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์ ดังนั้นการที่มีแผล ตุ่มหรือปื้นใดๆ ก็ตามในปากที่นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์

การตรวจฟันเป็นประจำทุกๆ 6 เดือนนั้นเป็นการคัดกรองโรคมะเร็งที่ดี โดยจะทำให้ทันตแพทย์นั้นมองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระยะแรก การรักษาอย่างรวดเร็วนั้นจะช่วยลดโอกาสที่เซลล์ก่อนที่จะเป็นมะเร็งนั้นกลายเป็นมะเร็งได้ นอกจากนั้นยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากได้โดยการหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใบยาสูบเช่นการสูบบุหรี่ ซึ่งล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งในช่องปาก 


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mouth cancer: Symptoms, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/165331)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป