กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องพบได้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หากมีอาการผิดปกติต่อไปนี้ต้องรีบปรึกษาแพทย์
เผยแพร่ครั้งแรก 11 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้อง (Hyperemesis gravidarum (HG)) คือ อาการที่หญิงตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดยจะเป็นมากในช่วงเช้าขณะท้องว่าง (Morning sickness) ซึ่งพบได้บ่อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย

มากกว่าครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้อง (คลื่นไส้ อาเจียน) โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) อาการแพ้ท้องจะพบได้ทุกช่วงเวลาของวัน ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่าลูกของคุณป่วยและไม่เป็นอันตรายต่อคุณหรือลูกน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการแพ้ท้องมักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น โดยทั่วไปมักมีอาการไม่รุนแรง และหายไปตอนช่วงกลางๆ ของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์บางรายไม่มีอาการแพ้ท้องเลยตลอดเวลาของการตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องหากมีอาการดังต่อไปนี้ให้ปรึกษาแพทย์

  • มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเจ็บป่วย
  • รู้สึกเวียนศีรษะ หรือง่วงนอน
  • มีอาการอาเจียนรุนแรงอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นหลายครั้งต่อวัน จนไม่สามารถรับประทานอาหารได้
  • อาเจียนจนไม่สามารถรักษาของเหลวหรืออาหารไว้ในกระเพาะอาหารได้เลย และน้ำหนักตัวลดลง
  • คุณคิดว่าอาการคลื่นไส้เกิดจากการรับประทานธาตุเหล็กที่อยู่ในวิตามินบำรุงขณะตั้งครรภ์
  • คุณต้องการใช้ยารักษาอาการแพ้ท้อง หรือลองรักษาอาการแพ้ท้องด้วยวิธีอื่น เช่น การฝังเข็ม

การดูแลตัวเองช่วงแพ้ท้อง

  • รับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ อาจแบ่งเป็น 5 หรือ 6 มื้อ แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องว่าง
  • รับประทานวิตามินรวมบำรุงขณะตั้งครรภ์เสมอ ช่วยให้อาการแพ้ท้องรุนแรงน้อยลง แต่อย่ารับประทานวิตามินขณะท้องว่างเพราะจะทำให้อาการคลื่นไส้ อาเจียนแย่ลง
  • หลีกเลี่ยงกลิ่นที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
  • ก่อนลุกจากเตียงนอน ให้รับประทานแครกเกอร์ ขนมปังปิ้งแห้ง หรือซีเรียลแห้ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดและอาหารมัน
  • เมื่อรู้สึกคลื่นไส้ ให้รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าว กล้วย ซุปไก่ เจลาติน
  • ขณะมีอาการคลื่นไส้ ให้จิบน้ำเย็น น้ำชาอ่อนๆ หรือน้ำโซดา เพื่อบรรเทาอาการ

13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mayo Clinic (2014). Diseases and Conditions. Morning Sickness. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/morning-sickness/symptoms-causes/syc-20375254)
NHS Choices UK (2017). Health A-Z. Nausea and Morning Sickness. (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/morning-sickness-nausea/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม