กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มะหาดคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

รวมประโยชน์ของมะหาด ผลไม้เมืองร้อนอีกชนิดที่น่าสนใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 15 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มะหาดคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • มะหาด เป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบอินเดีย ศรีลังกา และบังกลาเทศ จากนั้นจึงเริ่มขยายพันธุ์ไปที่ประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย
  • มะหาดมีสรรพคุณทางยาหลักๆ คือ บรรเทาอาการปวดศีรษะ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ประโยชน์ของมะหาดที่มีชื่อเสียงมากๆ คือ เป็นครีม หรือเซรั่มบำรุงผิว โดยจะมีคุณสมบัติทำให้เม็ดสีเมลานินผลัดเซลล์ ทำให้ผิวกระจ่างใสมากขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำทรีตเมนต์หน้า นวดหน้า

หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อ "มะหาด" ว่าเป็นสมุนไพรชนิดใด แล้วมีประโยชน์ใดต่อสุขภาพบ้าง รวมถึงมีสรรพคุณยาอย่างไรเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น วันนี้เรามาดูคำตอบพร้อมกัน

ความหมายของมะหาด

มะหาด (Lakoocha) เป็นชื่อไม้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Artocarpus lakoocha Roxb." และมีชื่อท้องถิ่นเรียกกันอย่างหลากหลายตามแต่ละภูมิภาค เช่น ปวกหาด (จังหวัดเชียงใหม่) หาดขนุน (ภาคเหนือ) หาด (ภาคกลาง) หาดใบใหญ่ (จังหวัดตรัง) กาแย ตาแป ตาแปง (จังหวัดนราธิวาส) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถิ่นกำเนิดของมะหาดจะอยู่ในประเทศแถบอินเดีย ศรีลังกา และบังกลาเทศ ก่อนจะกระจายพันธุ์ไปเพาะปลูกยังประเทศอื่นๆ ใกล้เคียง เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย 

มะหาดเป็นไม้ยืนต้นสูงถึงประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตรง มีเปลือกต้นสีน้ำตาลอมแดง หรือเป็นสีน้ำตาลเข้ม เมื่อต้นแก่จะมีผิวหยาบ และแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ลักษณะใบจะเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายใบมน หยัก และแหลมกว้าง ด้านบนใบมีขนหยาบเล็กน้อย ด้านล่างของใบเป็นสีเขียวอมเทา

ดอกของต้นมะหาดจะเป็นดอกช่อกลม สีมีตั้งแต่สีเหลืองหม่นไปจนถึงชมพูอ่อน ลักษณะดอกจะเป็นช่อกระจุก โคนดอกเชื่อมกันเป็นหลอด มีกลีบเลี้ยง 2 พู ช่อดอกตัวเมียจะเป็นรูปไข่ มีสีเหลืองอ่อน ส่วนผลของต้นมะหาดจะมีรูปร่างไม่แน่นอน อาจเป็นผลยาว หรือออกเหลี่ยมเล็กน้อยก็ได้ มีผิวตะปุ่มตะป่ำ

ผลของต้นมะหาดเมื่อแก่แล้วจะเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีเมล็ดข้างในเป็นทรงกลม ขนาดประมาณ 1.2 เซนติเมตร เป็นสีน้ำตาลเทาอ่อนๆ

สรรพคุณทางยาของมะหาด

มะหาดมีสรรพคุณทางยาหลากหลายด้าน เช่น ลดอาการปวดศีรษะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับพยาธิ ขับพิษไข้ แก้เสมหะ บรรเทาอาการเบื่ออาหาร รวมถึงยังมีการผลิตครีมมะหาด หรือเซรั่มมะหาดสำหรับใช้บำรุงผิว และรักษาสิวด้วย

วิธีใช้มะหาดเป็นยาส่วนมากมักใช้แก่นเมล็ดมะหาดมาต้มเคี่ยวแล้วนำไปตากแห้ง จากนั้นนำมาบดเป็นผงละเอียดต้มกับน้ำร้อน แล้วนำมารับประทานกับน้ำสุกเย็นก่อนอาหารเช้า หรือคุณอาจซื้อยาแคปซูลผสมผงมะหาดมารับประทานก็ได้ แต่ควรอยู่ใต้การดูแลของแพทย์ และเภสัชกร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประโยชน์ของมะหาด

นอกจากสรรพคุณทางยาของมะหาดแล้ว มะหาดยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น

  • ลดปัญหาผมหลุดร่วง ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง
  • บำรุงผิวให้เม็ดสีเมลานินผลัดเซลล์ใหม่ ลดรอย และจุดด่างดำ และยังมีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ และสมานแผลสดได้ดี
  • ใช้สกัดเป็นสารล้างพิษในตับได้ (Liver tonic) 
  • เมล็ดของมะหาดสามารถใช้รับประทานเป็นยาระบายในเด็กเล็กได้
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และกรดฟีโนลิก (Phenolic acid) ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงสารก่อมะเร็งได้ดี

มะหาดมีชื่อเสียงมากในส่วนของการช่วยบำรุงผิวให้ขาวใสขึ้น ซึ่งก็ถือว่ามีประสิทธิภาพจริงๆ แต่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของมะหาดอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 4 สัปดาห์จึงจะเห็นผลได้ 

มะหาดมีคุณประโยชน์หลายด้านที่คุณอาจไม่รู้ เพราะไม่ได้เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากมาย และน้อยคนที่จะรู้จักผลไม้ชนิดนี้ แต่ความจริงมะหาดเป็นผลไม้เมืองร้อนอีกชนิดที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ก็ยังต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ และยังต้องไปตรวจสุขภาพทุกๆ ปีเป็นประจำด้วย

และหากคุณกำลังมองหาสมุนไพรช่วยบำรุงผิวหนังให้กระจ่างใส ก็อาจลองมองหาครีม หรือเซรั่มบำรุงที่มีส่วนผสมของมะหาดดู

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำทรีตเมนต์หน้า นวดหน้า จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มะหาด (http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=187), 15 มกราคม 2564.
ดร. จุฑามาศ เจียรนัยกุลวานิช, จริงหรือไม่? มะหาดทำให้ขาวขึ้นได้ (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/113/มะหาดทำให้ขาวขึ้นจริงหรือ/), 15 มกราคม 2564.
HealthBenefitstimes.com, Monkey Fruit Description and uses (https://www.healthbenefitstimes.com/monkey-fruit/), 15 January 2021.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 วิธีง่ายๆ ช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้า
5 วิธีง่ายๆ ช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้า

ริ้วรอยบนใบหน้าเกิดจากอะไร? แล้วจะรักษาริ้วรอยก่อนวัยได้อย่างไร สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีที่จะทำให้คุณดูดีเวลาถ่ายรูป
10 วิธีที่จะทำให้คุณดูดีเวลาถ่ายรูป

อยากถ่ายรูปให้ดูดี ต้องทำอย่างไร

อ่านเพิ่ม
คุณสมบัติของทานาคาและสูตรทานาคาพอกหน้า
คุณสมบัติของทานาคาและสูตรทานาคาพอกหน้า

แนะนำ 3 สูตรทานาคาพอกหน้า พร้อมวิธีผสมและข้อควรระวัง เพื่อผิวสวยอย่างปลอดภัย

อ่านเพิ่ม