กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หูดข้าวสุก เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสกับรอยโรค การใช้เสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
  • อาการของโรคหูดข้าวสุกคือ เป็นตุ่มสีเนื้อที่ผิวหนัง ขนาดเล็ก โดยทั่วไปไม่มีอาการเจ็บ แต่บางครั้งอาจมีอาการผื่นแดงคัน หรือบวมร่วมด้วยได้
  • ในผู้ใหญ่ทั่วไปหากติดโรคนี้จะสามารถหายได้เองภายใน 6-12 เดือน โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ในทารก และเด็กที่มีอายุระหว่าง 1-10 ปี จะได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากยังมีภูมิต้านทานโรคน้อยอยู่
  • วิธีป้องกันโรคหูดข้าวสุก คือ รักษามือให้สะอาด ละเว้นการจับ แกะ หรือถูบริเวณรอยโรค ปิดรอยโรคด้วยผ้า หรือผ้าพันแผล และอย่าใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ร่วมกับผู้อื่น 
  • เมื่อเป็นโรคหูดข้าวสุก แม้ว่าจะสามารถหายได้เอง แต่ก็ควรไปรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปยังผู้อื่น (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum) มีรอยโรคเล็กๆ คล้ายสิวบริเวณผิวหนังชั้นนอก หูดข้าวสุกพบได้ตั้งแต่ทารก เด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ 

สำหรับผู้ใหญ่โดยทั่วไปแล้วสามารถหายได้เอง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในตัวเราจะกำจัดไวรัสชนิดนี้ได้ภายใน 6-12 เดือนแม้ไม่ได้รักษา แต่สำหรับทารก และเด็กที่มีอายุระหว่าง 1-10 ปี หากติดเชื้อจะมีผลกระทบมากเนื่องจากยังมีภูมิต้านทานโรคน้อย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หูดข้าวสุกเกิดจากเชื้อไวรัสที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอก ไม่ได้เข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือด หรือประสาท คุณสามารถติดเชื้อนี้ได้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์และยังสามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับรอยโรค การใช้เสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน  โดยไม่ว่าจะผู้ใหญ่ หรือเด็กสามารถติดเชื้อหูดข้าวสุกได้

อาการของโรคหูดข้าวสุกคือ เป็นตุ่มสีเนื้อที่ผิวหนัง ขนาดเล็ก โดยทั่วไปไม่มีอาการเจ็บ แต่บางครั้งอาจมีอาการผื่นแดงคัน หรือบวมร่วมด้วยได้

สาเหตุการเกิดหูดข้าวสุก

โรคหูดข้าวสุกเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) ซึ่งเป็นไวรัสตระกูลเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้ทรพิษ โดยรายงานของสถาบันโรคผิวหนังแห่งสหรัฐอเมริกา (ACD) พบว่า ไวรัสชนิดนี้เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่อุ่นและชื้น 

หากคุณอาศัยอยู่ในภูมิอากาศร้อนชื้น แล้วเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (ประเภทของผื่นผิวหนังอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด) หรือมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ เช่น เป็น HIV หรือ AIDS คุณจะมีความเสี่ยงการเป็นโรคหูดข้าวสุกเพิ่มขึ้นกว่าคนทั่วไป

ตัวไวรัสอาศัยอยู่ในผิวหนังกำพร้า หรือชั้นผิวหนังนอกสุด หลังจากติดเชื้อประมาณ 7 สัปดาห์ มีลักษณะรอยโรค ดังนี้ 

  • เริ่มจากมีจุดสีแดง
  • กลายเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดง เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยอยู่ที่ 3 - 5 มิลลิเมตร และอาจมีตุ่มคล้ายมีสารสีขาวๆ อยู่ข้างใน
  • บางตุ่มอาจมีรอยบุ๋มตรงกลาง ถ้าหากบีบ หรือเกิดอาการระคายเคืองอาจทำให้มีน้ำหนองสีขาวเหนียว หรือเทาไหลซึมออกมา

หูดข้าวสุกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทั่วร่างกายโดยเฉพาะบนใบหน้า คอ แขน ขา ท้อง และบริเวณอวัยวะเพศ น้อยครั้งที่จะเกิดขึ้นบนฝ่ามือ หรือฝ่าเท้า โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อาจเกิดอาการคัน เจ็บ และอักเสบ (มีรอยแดงและบวม) ได้ โดยเฉพาะเมื่อเกา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หูดข้าวสุกเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

หูดข้าวสุกเป็นโรคติดต่อที่ติดได้ง่ายผ่านการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคนี้  ผู้ใหญ่หลายรายติดเชื้อนี้ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์แต่ก็สามารถติดต่อผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะการสัมผัสผิวหนังบริเวณรอยโรคโดยตรง หรือจากการสัมผัสเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือของเล่น  

นอกจากนี้โรคหูดข้าวสุกอาจกระจายไปที่บริเวณอื่นของร่างกายผ่านการเกา หรือสัมผัสได้ด้วย เด็กจะติดโรคหูดข้าวสุกได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่จากการสัมผัสรอยโรคของคนอื่น หรือการเล่นของเล่นร่วมกับเด็กที่เป็นโรค ตุ่มหูดข้าวสุกในเด็กมักขึ้นที่บริเวณท้อง แขน ขา หรือใบหน้า แต่ไม่ใช่ที่อวัยวะเพศ

การรักษาหูดข้าวสุก

แม้ว่า ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงหากเป็นหูดข้าวสุกจะสามารถหายไปเองในระยะเวลา 6-12 เดือน แต่ไม่แนะนำให้ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา 

รายงานของสถาบันโรคผิวหนังแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่า การรักษาสามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสไปยังผู้อื่นและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย รวมถึงควบคุมการแพร่เชื้อในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้

อีกทั้งรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค กล่าวว่า หากผู้ที่มีรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศเป็นหูดข้าวสุกแนะนำให้รักษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยมีแนวทางการรักษาดังนี้

  • การผ่าตัดด้วยความเย็น (ใช้ความเย็นของไนโตรเจนเหลวจี้) เป็นการรักษาหลัก แพทย์จะนัดมาทำทุกสัปดาห์จนหาย 
  • การรักษาด้วยเลเซอร์
  • การขูดเนื้อเยื่อ (ขูดเอาตุ่มออกด้วยเครื่องมือพิเศษ)
  • การใช้ยาทา ที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ หรือที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ครีมโพโดฟิลโลทอกซิน (Podophyllotoxin) ไอโอดีน และกรดซาลิกไซลิก โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxid) หรือ ยาต้านไวรัส
  • ยารับประทาน เช่น ไคเมทิดีน (Cimetidine)

ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น มักไม่ตอบสนองต่อทางเลือกการรักษาหูดข้าวสุกแบบทั่วไป สำหรับคนเหล่านี้ การรักษามักเน้นในเรื่องทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงมากกว่า เช่น กับการฉีด interferon (สารกระตุ้นภูมิ) ในการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การป้องกันหูดข้าวสุก

การรักษาสุขอนามัยที่ดี สามารถช่วยให้คุณอยู่ห่างจากการได้รับเชื้อ หรือแพร่กระจายเชื้อหูดข้าวสุกสู่ผู้อื่น

  • รักษามือให้สะอาด
  • ละเว้นการจับ แกะ หรือถูบริเวณรอยโรค
  • ปิดรอยโรคด้วยผ้า หรือผ้าพันแผล
  • อย่าใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ร่วมกับผู้อื่น
  • อย่าลงเล่นกีฬาที่ต้องใช้การสัมผัสร่างกายโดยเฉพาะมวยปล้ำถ้าคุณมีการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระ ยกเว้นถ้าคุณแปะพลาสเตอร์กันน้ำบริเวณรอยโรค
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ถ้าคุณมีรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศ
  • อย่าโกน หรือทำกระบวนการ electrolysis (กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าจากภายนอกเข้าไปในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี) ในส่วนของร่างกายที่มีรอยโรค

หูดข้าวสุก เป็นโรคติดเชื้อไวรัสทางผิวหนัง แม้ว่าในผู้ใหญ่จะสามารถหายได้เองภายใน 6-12 เดือน แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะโรคสามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Molluscum Contagiosum: Background, Etiology, Epidemiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/910570-overview)
Molluscum contagiosum. DermNet NZ. (https://dermnetnz.org/topics/molluscum-contagiosum/)
Molluscum Contagiosum: Causes, Symptoms, Treatment, and Pictures. Healthline. (https://www.healthline.com/health/molluscum-contagiosum)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ปกติแล้วหูดข้าวสุกจำเป็นต้องเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้นมั้ยครับ เช่น HIV เพราะอยู่ดีดีมันก็เป็นบริเวณหน้า และลำตัว แต่ไม่มาก สงสัยครับ รบกวนด้วยครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นหูดข้าวสุกที่อวัยวะเพศที่ขอบๆหัวฝ่ายหญิงสามารถอมได้มั้ยคับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูกชาย 6 ขวบ เป็นหูดข้าวสุก แต้ม Salicylic acid มาเดือนหนึ่งแล้วไม่หายแถมกระจาย บริเวณลำตัวประมาณ 20 เม็ดแล้วค่ะ ต้องใช้ยาตัวไหนดีค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)