ผิวชื้นชุ่มเหงื่อ

ผิวชิ้นชุ่มเหงื่อ อาจเป็นภาวะปกติที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน แต่ถ้าหากมีผิวชื้นชุ่มเหงื่อเองโดยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ และหาสาเหตุไม่ได้ ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายบางชนิด
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผิวชื้นชุ่มเหงื่อ

ผิวชื้นโดยปกติจะเกิดจากภาวะที่เหงื่อออกจนผิวชื้นชุ่มน้ำไปทั่ว ซึ่งเหงื่อจะหลั่งเพื่อตอบสนองต่อความร้อนสูงในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเย็นลงจากความชื้นที่ค่อยๆ ระบายออกจากผิวหนัง

การเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญในร่างกายของคุณจากการออกกำลัง กระบวนการที่ก่อให้เกิดความร้อนสูงสามารถกระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อ ทำให้ผิวของชุ่มเหงื่อได้ แต่ถ้าผิวหนังชื้นชุ่มเหงื่อเองโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ก็อาจเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยร้ายแรงบางชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของผิวชื้นชุ่มเหงื่อที่พบได้บ่อย

ความผิดปกติทางร่างกายหลายชนิด ส่งผลให้เกิดผิวชื้นชุ่มเหงื่อ เช่น

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์?

ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากพบอาการผิวชื้นชุ่มเหงื่อร่วมกับอาการต่อไปนี้

  • ผิวซีด
  • ผิวชื้น
  • ปวดอก หลัง หรือท้อง
  • ปวดตามแขนขา
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจอ่อน
  • ชีพจรเบา
  • สมองเบลอ
  • อาเจียนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากมีเลือดปนด้วย
  • หายใจลำบาก
  • บวมตามใบหน้า
  • อาเจียน
  • หมดสติ
  • เจ็บหน้าอก
  • เล็บและริมฝีปากคล้ำ
  • ปัสสาวะไม่ออก หรือไม่มีปัสสาวะ
  • เหงื่อออกจนเปียกชื้นไปทั้งตัว
  • หายใจหอบถี่
  • อาการปวดหรือชาลามไปตามแขน โดยมักจะเกิดขึ้นกับแขนซ้าย

ภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรง ภาวะช็อก หรืออาจเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

การวินิจฉัยโรคจากอาการผิวชื้นชุ่มเหงื่อ

เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการผิวชื้นชุ่มเหงื่อ แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์และประวัติครอบครัวรวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารและกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจ ก็อาจมีการตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจผ่านการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และอาจทำการตรวจเลือดหรือส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจระดับฮอร์โมนและตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อเพิ่มเติม

การรักษาอาการผิวชื้นชุ่มเหงื่อ

ทางเลือกการรักษาผิวชื้นชุ่มเหงื่อ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้น เช่น

  • หากเกิดจากการอ่อนเพลียจากความร้อนและการขาดน้ำ แพทย์จะให้น้ำเกลือหรือสารเหลวผ่านสายฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (IV)
  • หากเกิดจากปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง แพทย์จะให้อะดรีนาลีนเพื่อหยุดปฏิกิริยาของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้
  • หากเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนทดแทน

ที่มาของข้อมูล

Brain Wu, What’s causing my clammy skin?(https://www.healthline.com/health/skin-clammy), December 5, 2017.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Clammy skin: Causes, pictures, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322446)
6 Common Complications Of Hyperhidrosis (Excessive Sweating). WebMD. (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/common-complications-of-hyperhidrosis)
Clammy Skin: 22 Causes, Photos, and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/skin-clammy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

อ่านเพิ่ม