ชวิน รวิทิวากุล
เขียนโดย
ชวิน รวิทิวากุล
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

11 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ COVID-19

รวม 11 ความเข้าใจผิดที่มีการแชร์ต่อกันมากเกี่ยวกับ COVID-19 อ่านเพื่อป้องกันอย่างถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 27 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
11 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ COVID-19

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรค COVID-19 เป็นโรคที่เพิ่งระบาดใหม่เมื่อปลายปี 2019 จึงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้มากมาย  
  • ระดับความร้อนที่สามารถกำจัดเชื้อCOVID-19 ได้ต้องมีอุณหภูมิสูง 70-90 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 4 นาทีขึ้นไป ดังนั้นการอาบน้ำร้อนจึงไม่สามารถฆ่าเชื้อ หรือป้องกันการติดเชื้อได้
  • COVID-19 ติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ จาม ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า สามารถส่งต่อกันได้ผ่านทางเลือด หรือยุง แต่สามารถส่งต่อไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ เช่น สุนัข แมว หนู
  • มีการศึกษาในห้องทดลองว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้งเชื้อ โคโรนาไวรัส และ อินฟลูเอนซาไวรัส (ไวรัสไข้หวัดใหญ่ )ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ายับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค COVID-19 ได้
  • การป้องกันโรค COVID-19 ที่ดีที่สุดคือ การหมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 70% การสวมหน้ากากผ้า ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และการรักษาระยะห่างทางสังคม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID 19)

เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกว่า "COVID-19" เป็นโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายคนตื่นตระหนกจนหลงเชื่อข่าวลวงด้านสุขภาพ

ดังนั้น HD จึงรวบรวม 11 ความเข้าใจผิดที่หลายคนอาจยังไม่ทราบมาไว้ที่นี่ เพื่อให้ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกวิธีในช่วงวิกฤติ COVID-19

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

11 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรค COVID-19

1.COVID-19 ไม่สามารถระบาดได้ในหน้าร้อน

ไม่จริง เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายของคนปกติจะอยู่ที่ประมาณ 36.5-37 องซาเซลเซียส โดยที่อุณหภูมิจากสภาพแวดล้อมภายนอกไม่มีผลต่ออุณหภูมิร่างกาย เชื้อจึงสามารถแพร่กระจายสู่ร่างกายมนุษย์ได้เช่นเดิม

นอกจากนี้ระดับความร้อนที่จะสามารถกำจัดเชื้อ COVID-19 ได้ต้องมีอุณหภูมิสูงถึง 70-90 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 4 นาทีขึ้นไป 

ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันเชื้อแพร่ระบาดสู่ผู้อื่น จึงเป็นการล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลล้างมือบ่อยๆ

2.การอาบน้ำร้อนช่วยลดโอกาสเสี่ยงโรค COVID-19

ไม่จริง ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า ระดับความร้อนที่จะสามารถเชื้อ COVID-19 ได้จะต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 70-90 องศาเซลเซียส ซึ่งความร้อนในระดับนี้ถือว่า ร้อนเกินไปสำหรับผิวหนังคนแลัอาจทำให้ผิวไหม้ หรือพุพองได้

ดังนั้นการอาบน้ำอุณหภูมิปกติด้วยสบู่ให้ทั่วร่างกาย ก็สามารถป้องกันเชื้อที่ติดอยู่ตามผิวหนังได้แล้ว

3.โรคCOVID-19 สามารถติดต่อผ่านยุงได้

ไม่จริง COVID-19 ติดต่อกันได้ผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ จาม ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า COVID-19 สามารถส่งต่อกันได้ผ่านทางเลือด หรือยุง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม COVID-19 สามารถส่งต่อไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ เช่น สุนัข แมว หนู ดังนั้นช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสุนัขและแมวจรจัด

4.สามารถใช้ผ้าอนามัยแทนหน้ากากอนามัยได้

ไม่จริง การนำผ้าอนามัยสำหรับสุภาพสตรีมาใช้เป็นหน้ากากอนามัยถือเป็นการใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์

นอกจากนี้ผ้าอนามัยยังมีทั้งแผ่นฟิล์ม แถบกาว และสารอื่นๆ เช่น สารแต่งสี แต่งกลิ่น หรือสารให้ความเย็น (Menthol) ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและชื่อทางการค้าแต่ละราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจมากกว่าเดิม

ดังนั้นหากมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก หรือเจ็บป่วย ควรสวมหน้ากากมาตรฐานทางการแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารคัดหลั่ง หรือหากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ควรสวมหน้ากากผ้าเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้คน เนื่องจากหน้ากากผ้ามีส่วนช่วยในการป้องกัน COVID-19 ได้เช่นกัน

5.ฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกัน COVID-19 ได้

แม้จะมีการศึกษาโครงสร้างโมเลกุลของฟ้าทะลายโจรกับเชื้อ COVID-19 ในรูปแบบโครงสร้าง 3 มิติ พบว่า สารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ที่มีอยู่ในฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ 

และมีการศึกษาในห้องทดลองว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้งเชื้อ โคโรนาไวรัส และ อินฟลูเอนซาไวรัส (ไวรัสไข้หวัดใหญ่ )ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า สามารถยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค COVID-19 ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม และยังไม่มีหลักฐานยืนยันในการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วย COVID-19 ฉะนั้นการป้องกันโรคที่ดีที่สุดจึงควรดำเนินการตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลแนะนำ

6.กินกระเทียมสามารถป้องกัน COVID-19 ได้

ไม่จริง เพราะปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า กระเทียมมีส่วนช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 ได้ ซึ่งต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป

อย่างไรก็ตาม กระเทียมมีสรรพคุณมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น บรรเทาอาการหวัด ปอดบวม หอบหืด บำรุงปอด ดังนั้นสามารถรับประทานกระเทียมเพื่อเสริมความแข็งแรงของร่างกายได้ในปริมาณที่เหมาะสม

7.เครื่องสแกนความร้อนสามารถตรวจจับ COVID-19 ได้

ไม่จริง หลายคนเข้าใจผิดว่า เครื่องสแกนความร้อน (Thermoscan) สามารถตรวจจับโรค COVID-19 ได้ แต่ความจริงแล้วเครื่องสแกนความร้อนทำหน้าที่เพียงการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายที่สูงเกินกว่าปกติเท่านั้น

โดยผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ อาจไม่ได้เกิดจาก COVID-19 ก็ได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ติด COVID-19 บางรายยังอาจไม่มีไข้เลยตั้งแต่ 2-10 วันหลังได้รับเชื้อ 

ดังนั้นเครื่องสแกนความร้อนจึงไม่สามารถตรวจ COVID-19 ได้อย่างแม่นยำ

อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องสแกนความร้อน ก็เป็นมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ และสามารถช่วยให้พบผู้ป่วย COVID-19 หลายรายได้ไวขึ้นเช่นกัน

8.ยาปฏิชีวนะใช้รักษา COVID-19 ได้

ไม่จริง ยาปฏิชีวนะมักใช้เพื่อยับยั้งการติดเชื้อจากแบคทีเรีย แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้

แต่ในบางกรณี หากผู้ป่วย COVID-19 เกิดอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน

9.ใช้น้ำเกลือล้างจมูก ป้องกัน COVID-19 ได้

ไม่จริง ยังไม่มีการยืนยันจากหลักฐานใดๆ ว่า การใช้น้ำเกลือล้างจมูกสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ได้

แต่สำหรับผู้ที่เป็นหวัดธรรมดา การใช้น้ำเกลือล้างจมูกเป็นประจำอาจช่วยให้หายจากอาการหวัดเร็วขึ้น

10.รังสี UV สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาได้

ไม่จริง มีความเข้าใจผิดว่ารังสี UV จากแสงแดดสามารถฆ่าเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ ในทางกลับกัน ผลที่ได้อาจตรงกันข้าม รังสี UV อาจสร้างความระคายเคืองให้แก่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) ได้

การศึกษาบางแห่งให้ข้อมูลว่า UVC สามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้ แต่รังสี UVC ถูกชั้นบรรยากาศของโลกกรองออกไปเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นการฆ่าเชื้อ COVID-19 บนผิวหนังที่ดีที่สุดคือ การล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ราว 20 วินาทีขึ้นไป / ครั้ง และล้างให้ทั่วทั้งนิ้วมือ ข้อนิ้ว ฝ่ามือ ข้อมือ หรือใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป ล้างมือในกรณีที่ไม่มีน้ำล้าง

11.วัคซีนปอดอักเสบสามารถป้องกัน COVID-19 ได้

ไม่จริง วัคซีนนิวโมคอกคัส (Pneumococcal vaccine) หรือวัคซีนปอดอักเสบ สามารถใช้กับเชื้อแบคทีเรียและไวรัสบางชนิดได้ก็จริง แต่ไวรัส COVID-19 เป็นไวรัสชนิดใหม่ที่มีความเฉพาะตัวมากจึงไม่สามารถใช้วัคซีนที่มีอยู่ได้

อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนปอดอักเสบเป็นทางเลือกที่ดีในการลดโอกาสติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่นๆ องค์การอนามัยโลก (World health organization: WHO) สนับสนุนให้ทุกคนฉีดไว้เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่

แม้ COVID-19 จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้หลายคนสับสนกับข้อมูลที่เผยแพร่กันผ่านทางสื่อต่างๆ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันของกระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก และสื่อที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 (COVID-19) จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization, Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public: Myth busters, (https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public/myth-busters), 3 April 2020.
องค์การเภสัชกรรม, องค์การเภสัชกรรม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 หน่วยงานลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการวิจัยยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร, (https://www.gpo.or.th/view/152), 28 กุมภาพันธ์ 2563.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, อย. เตือน!! อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ผิดวัตถุประสงค์ (https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/122712/), 28 กุมภาพันธ์ 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น

มารู้จักเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่มี ณ ต้นปี 2020 พร้อมวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงติดเชื้อ ไขคำตอบ มีวัคซีนป้องกันหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?
โรค Covid-19 ต่างจากไข้หวัดใหญ่อย่างไร?

โรค Covid-19 กับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกัน ติดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แล้วทั้ง 2 โรคต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?

มาดูกันว่า Social distancing จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้จริงหรือ? แล้วต้องเว้นระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยจาก COVID-19

อ่านเพิ่ม