กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด

หมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บ (Miniscus tear)

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หมอนรองข้อเข่า เป็นโครงสร้างกระดูกที่ทำหน้าที่รับแรงกระแทกขณะคุณวิ่ง กระโดด ยืน เดิน หรือทำกิจกรรมที่มีน้ำหนักกดลงบนข้อเข่า มี 2 ชิ้นต่อข้อเข่า 1 ข้าง
  • ส่วนมากผู้ที่อาการหมองรองข้อเข่าบาดเจ็บมักมาจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล และมักพบมากในกลุ่มเด็กวัยรุ่น
  • อาการหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บมักทำให้เกิดอาการปวด บวม ข้อเข่าฝืดจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่อง
  • วิธีรักษาอาการหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บสามารถรักษาโดยไม่ผ่าตัด แต่ผ่านการออกกำลังกายให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น หรือเป็นวิธีการผ่าตัดส่วนที่ฉีกออก หรือผ่าซ่อมแซม ซึ่งในปัจจุบันสามารถผ่าได้ผ่านการส่องกล้อง
  • ผู้ที่หมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บ จะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพิ่มความสามารถในการทรงตัว เพิ่มการรับรู้ภายในข้อเข่า และฝึกการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจผ่าตัด รักษา กระดูกและข้อเข่า

ความหมายของหมอนรองข้อเข่า

หมอนรองข้อเข่า (Meniscus) เป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับแรงกระแทกของร่างกาย ขณะยืน เดิน วิ่ง หรือกิจกรรมที่มีน้ำหนักกดลงบนข้อเข่า วางตัวอยู่บริเวณระหว่างกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง 

หมอนรองข้อเข่าเป็นโครงสร้างพิเศษเพราะมี 2 ชิ้นต่อข่อเข่า 1 ข้าง โดยหมอนรองข้อเข่าด้านใน (Medial meniscus) เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ส่วนหมอนรองข้อเข่าด้านนอก (Lateral meniscus) เป็นรูปวงกลมเกือบสมบูรณ์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หมอนรองข้อเข่าทั้ง 2 ชิ้นนี้มีเลือดมาเลี้ยงประมาณ 1 ใน 3 ส่วน ไล่จากขอบด้านนอกเข้ามาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อมีอาการบาดเจ็บในบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยง ศัลยแพทย์มักจะเย็บเพื่อซ่อมแซม และหากบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บเป็นบริเวณที่ไม่มีเลือดมาเลี้ยง ศัลยแพทย์มักจะตัดส่วนนั้นออกเลย

หน้าที่ของหมอนรองข้อเข่า

หน้าที่หลักของหมอนรองกระดูกข้อเข่ามีด้วยกัน 3 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง (Shock absorber)
  2. เพิ่มความมั่นคงให้ข้อเข่า (Load transferring)
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนของข้อเข่าให้ราบรื่น (Join lubrication)

สาเหตุหลักของการบาดเจ็บมักเกิดจากการบิดหมุน งอเข่า และมีน้ำหนักกดลงมาในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักพบว่า สัมพันธ์กับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา โดยในประชากร 1,000 คน สามารถมีผู้ที่หมอนรองเข่าบาดเจ็บได้ถึง 6 คน 

นอกจากนี้ หากคุณมีอาการหมอนรองเข่าบาดเจ็บ และฝืนใช้งานเข่าซ้ำๆ แรงกระแทก และการเสียดสีกันของกระดูกทั้งสองชิ้นจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือพัฒนาไปเป็นข้อเข่าที่เสื่อมสภาพ (Osteoarthritis knee) ได้

อาการ และอาการแสดงของหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บ

อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บมีความหลากหลาย ขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ จึงขอยกตัวอย่างที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้

1. มีอาการปวด และบวม

โดยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยหลังจากประสบอุบัติเหตุ 1-2 วัน หรือไม่แสดงอาการปวดเฉียบพลันออกมา หรืออาจมีเสียงดังลั่นในข้อเข่าทันทีขณะเกิดอุบัติเหตุเหมือนเอ็นไขว้หน้าในข้อเข่า (Anterior cruciate ligament) ฉีก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา และผ่าเข่า วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,542 ลดสูงสุด 77%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ ผู้ป่วยมักจะทุเลาได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ แม้จะไม่ได้รับการรักษา จึงทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่ทราบว่า มีการบาดเจ็บเกิดขึ้น จึงไม่ได้ไปรับการรักษาอย่างถูกต้อง จนนำไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย 

ข้อสังเกตสำคัญของภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย คือ เมื่องอ หรือหมุนเข่า อาการจะดีขึ้น แต่เมื่องอ และหมุนเข่าพร้อมกันจะมีอาการปวดมากขึ้น ในผู้ป่วยบางราย การงอ และหมุนเข่าร่วมกับการลงน้ำหนัก จะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดมากขึ้น

2. ข้อเข่าฝืด 

ผู้ป่วยจะรู้สึกติดขัดเวลาเคลื่อนไหว เหยียด หรืองอข้อเข่าได้ไม่สุด ข้อเข่ามักติดอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง (True locking) ร่วมกับมีอาการปวดรุนแรง เมื่อขยับไปมาจะสามารถขยับได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว จากนั้นอาการอาการปวดจะลดลง และกลับมาติดในท่าใดท่าหนึ่งอีก 

อาการข้อเข่าฝืดจะเป็นสลับกันแบบนี้ไปเรื่อยๆ เนื่องจากหมอนรองข้อเข่ามีการฉีกขาดรุนแรง และเข้าไปขวางในข้อเข่า เมื่อขยับไปมาจึงสามารถเข้าที่ และกลับเข้าไปขวางในข้อเข่าได้ใหม่

การตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บ

การวินิจฉัยหมอนรองข้อเข่าฉีกด้วยการซักประวัติ และตรวจร่างกายทำได้ค่อยข้างยาก เนื่องจากมีอาการที่หลากหลาย และไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการให้ประวัติที่แม่นยำก็จะช่วยให้วินิจัยแยกโรคในระดับหนึ่ง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,673 บาท ลดสูงสุด 80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจร่างกายที่นิยมทำในคลินิกกายภาพบำบัดมีด้วยกันหลายวิธี แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นการเคลื่อนไหวข้อเข่าในทิศทางที่ทำให้เกิดงอ และหมุนร่วมกับให้แรงบดให้หมอนรองข้อเข่าถูกบดด้วยกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการสงสัยว่า มีการบาดเจ็บของหมอนรองข้อเข่า นักกายภาพบำบัดมักจะส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย และยืนยันผลด้วยการถ่ายภาพสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) ก่อนจะเข้ารับการรักษา และฟื้นฟูจากนักกายภาพบำบัดต่อไป

วิธีการรักษาอาการหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บ

การรักษาหมอนรองข้อเข่าฉีกในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้

1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด 

มักจะใช้เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดไม่รุนแรง และการฉีกขาดขอหมอนรองเข่าที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองเข่า (Degenerative tear) เอง 

การรักษาแบบนี้มักจะมุ่งเน้นไปที่การออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าให้แข็งแรงด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อนั้นพยุงข้อเข่า และรักษาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยไว้

2. การรักษาแบบผ่าตัด 

สามารถทำได้ 2 แบบ คือ ตัดส่วนที่ฉีกออก หรือเย็บซ่อมแซมส่วนที่ฉีก ขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการฉีกขาด 

นอกจากนี้ ในปัจจุบันเทคนิคการผ่าตัดพัฒนาไปมาก สามารถผ่าตัดส่องกล้องได้ ทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อย ผลการผ่าตัดดี และระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นลงมาก เหลือเพียง 1-2 วันเท่านั้น

วิธีการทางกายภาพบำบัดสำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเข่าบาดเจ็บ

สำหรับผู้ป่วยหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บ ทั้งในกลุ่มที่เลือกเข้ารับการผ่าตัด และเลือกไม่เข้ารับการผ่าตัด นอกจากการเลือกอุปกรณ์ช่วยเดิน ซึ่งมักจะเป็นไม้ค้ำรักแร้ (Axillar crushes) และการลดปวดด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดแล้ว 

การรักษาหลักจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายต่อไปนี้ 

  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise) รอบๆ ข้อเข่า 
  • เพิ่มความสามารถในการทรงตัว (Balance training) 
  • เพิ่มการรับรู้ความรู้สึกภายในข้อเข่า (Proprioceptive training)
  • การฝึกการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (Activity daily living training) เช่น การเดินขึ้น-ลง บันได 

การรักษาเหล่านี้ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติแล้ว ยังเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะตามมา เช่น ข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม วิธีการออกกำลังกายและท่าที่ใช้ในการออกกำลังกายจะได้รับการออกแบบสำหรับคนไข้แบบเฉพาะบุคคล

หมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในวัยรุ่น เนื่องจากอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาในประเทศไทย ผู้ป่วยหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บเกือบทั้งหมดมาจากการเล่นฟุตบอล ซึ่งหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่ข้อเข่าเสื่อมในวัยรุ่นด้วย 

อย่างไรก็ตาม อาการของหมอนรองข้อเข่าบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงนั้นอาจจะไม่รบกวนการดำรงชีวิตประจำวันมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

การสังเกต และเข้าใจความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเล่นกีฬาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก และกล้ามเนื้อ หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจผ่าตัด รักษา กระดูกและข้อเข่า จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Meniscus tears - aftercare. MedlinePlus. (Available via: https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000684.htm)
Torn Meniscus. Harvard Health. (Available via: https://www.health.harvard.edu/a_to_z/torn-meniscus-a-to-z)
Torn Meniscus. Johns Hopkins Medicine. (Available via: https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/torn-meniscus)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
คุณหมอคะ ทำไมถึงปวดในเส้นเดือดที่หลังมือคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนบ่อยๆทำอย่างไรดี
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากรู้คะว่าอาการปวดเอวจะหายได้บ้างไหมคะ เพราะว่ามันจะปวดตลอดเวลาคะ หลังจากี่ผ่าตัดคลอดลูกมาแล้ว2คนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าคนที่เรารักมากเคยเป็นมะเร็งต่อมนำ้เหลืองมาก่อนแล้วเกือบ12ปีแล้วตอนนี้มาปวดท้องบ่อยกินยาแล้วเดียวก็หาย1-2วันเดียวก็มาปวดอีกเราควรจะทำยังไงดีค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดท้องตอนมาประจำเดือนตลอด บางครั้ง3เดือนมาประจำเดือนครั้งหนึ่ง. ต้องรัษายังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหลังเป็นประจำจะเป็นโรคอะไรไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ