โรคไมเกรน อาการปวดศีรษะ ไวต่อสิ่งกระตุ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

สภาพปัจจุบันที่คนเราต้องเจอสิ่งต่าง ๆ มากมายในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ความเป็นอยู่ในชีวิตครอบครัว ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้เกิดความเครียดและมีความกังวลใจ ส่งผลทำให้บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ไม่สบาย หรือมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อน และอาจทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไมเกรนได้ โรคไมเกรนเป็นอย่างไร มีสาเหตุมาจากความเครียดอย่างเดียวหรือไม่ และมีวิธีรักษาหรือป้องกันอย่างไร มาติดตามรายละเอียดกัน

สาเหตุของโรคไมเกรน

ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคไมเกรน จากการศึกษาพบแต่ว่าทุกครั้งที่ไมเกรนมีอาการกำเริบ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดและกลไกของประสาทภายในสมอง และบริเวณใบหน้า เมื่อหลอดเลือดภายในหดตัว ในขณะที่หลอดเลือกภายนอกพองตัว มีประสาทไวต่อสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเจ็บปวด ประสาทไวต่อสิ่งกระตุ้นทำให้มีอาการปวดศีรษะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของโรคไมเกรน

ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว และปวดมากขึ้น มากขึ้นเมื่อขยับร่างกาย บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย มักทนแสงแดดจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ อย่างไรก็ตามหากพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การมีอาการปวดศีรษะและมีอาการทั้งไข้สูง ตาเหล่ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ตาเห็นภาพซ้อน ซึ่งเป็นความผิดปกติทางระบบประสาท หรือมีอาการแขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก พูดไม่ได้ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีการรักษาโรคไมเกรน

การรักษาโรคนี้มีแนวทางการรักษาอยู่ที่การรับมือกับอาการป่วยที่เกิดขึ้น โดยแพทย์จะพิจารณาอาการและความรุนแรงของอาการ หากพบว่ามีอาการปวดศีรษะบ่อยมาก จะมีการใช้ยาบรรเทาอาการและยาสำหรับป้องกันอาการ ซึ่งยาสำหรับป้องกันอาจจะต้องรับประทานทุกวัน แบ่งเป็นกลุ่มยา 4 กลุ่มคือ ยาความดันโลหิตบางตัวขนาดต่ำ ๆ ยากันชักบางตัวขนาดต่ำ ๆ ยาต้านอาการซึมเศร้า และยาต้านแคลเซียม และสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรับประทานยาทุกวัน แพทย์จะแนะนำให้ป้องกันโดยการปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติตัว

วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคไมเกรน

ผู้ป่วยสามารถดูแลปฏิบัติตัวด้วยตัวเองในการบรรเทาอาการโรคไมเกรนได้ ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นการกระตุ้นการเกิดโรคไมเกรน เช่น การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
    การรับประทานอาหารบางชนิดที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา กาแฟ ชีส และไวน์แดง
  2. การกระตุ้นทางประสาทสัมผัส เช่น กลิ่นควันบุหรี่ เสียงดัง อยู่ท่ามกลางแสงแดด
    นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนมากจนเกินไป
  3. ไม่อยู่ในบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น สิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นควัน และอากาศร้อน มีสารเคมี
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และช่วยลดความเครียดต่าง ๆ ได้

เมื่อต้องเจอกับสภาวะการเป็นโรคไมเกรน อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีความทรมานจากการอาการป่วย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความกังวลใจ หรือมีอาการปวดศีรษะเป็นระยะเวลานาน หากเรารู้จักเรียนรู้การปรับตัวและปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอแล้ว เชื่อว่า หากเจอกับไมเกรนก็จะสามารถรับมือจัดการไมเกรน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณโดยตรง


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Silent migraine: Symptoms, causes, treatment, prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323011)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป