เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบยาคุมกำเนิดเมอซิลอน และแผ่นแปะคุมกำเนิดอีฟรา

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบยาคุมกำเนิดเมอซิลอน และแผ่นแปะคุมกำเนิดอีฟรา

แผ่นแปะคุมกำเนิดมีใช้กันมานานแล้วค่ะ แต่ดูเหมือนว่ายังไม่ได้รับความนิยมหรือเป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ในวันนี้ จึงถือโอกาสนำมาเปรียบเทียบกับยาเม็ดคุมกำเนิด เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจทางเลือกใหม่ ๆ ในการคุมกำเนิดนะคะ

แต่เนื่องจากยาเม็ดคุมกำเนิดมีหลายชนิด ทั้งชนิดฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว อีกทั้งมีหลายรูปแบบ ทั้ง 21 เม็ดและ 28 เม็ด เพื่อให้ใกล้เคียงกันกับแผ่นแปะคุมกำเนิด จึงยกตัวอย่างที่เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเหมือนกันมาเปรียบเทียบ โดยเลือกเป็นยี่ห้อที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินรุ่นที่ 3 เหมือนกัน และเป็นรูปแบบ 21 เม็ด ที่ต้องเว้นว่าง 7 วันหลังใช้ครบเหมือนกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วมีหลายยี่ห้อเลยค่ะ แต่ในครั้งนี้ขอนำมาเปรียบเทียบกับยาคุม “เมอซิลอน” นะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. รูปแบบและวิธีการใช้

    ใน 1 แผงมียา 21 เม็ด ซึ่งแต่ละเม็ดประกอบด้วยตัวยา

    • Ethinylestradiol 0.020 มิลลิกรัม
    • Desogestrel 0.150 มิลลิกรัม

    ใน 1 กล่องมียา 3 แผ่น ซึ่งแต่ละแผ่นประกอบด้วยตัวยา

    • Ethinylestradiol 750 มิลลิกรัม
    • Norelgestromin 6 มิลลิกรัม

    โดยจะมีการปลดปล่อยตัวยา

    • Ethinylestradiol 0.020 มิลลิกรัม
    • Norelgestromin 0.150 มิลลิกรัม

    เข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอ

    ยา 1 แผงสำหรับ 28 วัน

    นั่นคือรับประทานยา 21 วันและเว้นว่าง 7 วัน

    ยา 1 กล่องสำหรับ 28 วัน

    นั่นคือติดแผ่นแปะสัปดาห์ละแผ่น ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ รวมเป็น 21 วัน แล้วเว้นว่าง 7 วัน

    จะเห็นได้ว่า ทั้งยาเม็ดคุมกำเนิดเมอซิลอน (ชนิด 21 เม็ด) และแผ่นแปะคุมกำเนิดอีฟรา จะมีการใช้ยา 21 วัน และมีช่วงเว้นว่าง 7 วันเหมือนกันนะคะ

    โดยถ้าใช้เมอซิลอน จะต้องรับประทานยาคุมวันละ 1 เม็ดติดต่อกัน 21 วัน ในขณะที่อีฟรา จะต้องแปะแผ่นยา 1 แผ่นนาน 1 สัปดาห์ ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ หรือรวมเป็น 21 วัน จากนั้นจึงเว้นว่าง 7 วันเพื่อให้มีประจำเดือนมาค่ะ

    แม้จะมีความยุ่งยากเล็กน้อยสำหรับผู้ที่เริ่มใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด เกี่ยวกับการเลือกบริเวณที่จะติดแผ่นยา แต่ก็สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำได้ง่ายค่ะ ในขณะที่ยาเม็ดคุมกำเนิด แม้จะใช้ได้ง่ายกว่า แต่ก็ต้องรับประทานให้ตรงเวลาสม่ำเสมอจึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการตั้งครรภ์

    ดังนั้น หากเปรียบเทียบความสะดวกในการใช้ จึงขอเทคะแนนให้อีฟราเหนือกว่า เนื่องจากไม่ต้องบริหารยาบ่อย แค่เปลี่ยนแผ่นแปะสัปดาห์ละครั้งเท่านั้นเองค่ะ

  2. ประสิทธิภาพ

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 – 9%

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 – 9%

    เมื่อพิจารณาด้านประสิทธิภาพ พบว่าทั้ง 2 วิธีไม่แตกต่างกันนะคะ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดกับการใช้ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินทั้ง 2 วิธี เนื่องจากอาจยับยั้งไข่ตกไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีโอกาสคุมกำเนิดล้มเหลวเพิ่มขึ้นค่ะ

    เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเมอซิลอนกับอีฟราในด้านของประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่เกินมาตรฐาน จึงถือว่าเสมอกันไปนะคะ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  3. ผลข้างเคียง

    • สิว หน้ามัน ขนดก : พบน้อย (และพบได้น้อยกว่าเมอซิลอน)
    • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บวมน้ำ คัดตึงเต้านม เป็นฝ้า : พบน้อย (แต่พบได้มากกว่าเมอซิลอน)
    • เลือดออกกะปริบกะปรอย : พบน้อยมาก
    • ระคายเคืองเคืองบริเวณที่ติดแผ่นยา

    แม้ว่าอีฟราจะมีการปลดปล่อย Ethinylestradiol เข้าสู่ร่างกายวันละ 20 ไมโครกรัม ซึ่งเท่ากับปริมาณที่มีในเม็ดยาเมอซิลอน แต่เนื่องจากตัวยาสามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ทันที โดยที่ไม่ต้องผ่านตับเหมือนกับยาเม็ดคุมกำเนิด ทำให้มีระดับยาในเลือดเทียบเท่ากับการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีปริมาณ Ethinylestradiol 35 ไมโครกรัม และมีผลทำให้เกิดผลข้างเคียงจากเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บวมน้ำ คัดตึงเต้านม และเป็นฝ้า ได้มากกว่าเมอซิลอน

    ฮอร์โมนโปรเจสตินในเมอซิลอนและอีฟรา เป็นโปรเจสตินรุ่นใหม่เช่นเดียวกันค่ะ ทำให้มีผลข้างเคียงจากฤทธิ์แอนโดรเจนน้อยกว่ายาคุมที่ใช้โปรเจสตินรุ่นเก่า จึงไม่ค่อยพบปัญหาสิว หน้ามัน และขนดก อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบปริมาณและความแรงกันแล้ว อีฟรามีฤทธิ์แอนโดรเจนต่ำกว่าเมอซิลอนค่ะ จึงพบผลข้างเคียงดังกล่าวได้น้อยกว่า

    การที่เมอซิลอนมีปริมาณเอสโตรเจนอยู่ในกลุ่ม “ต่ำมาก” นั่นคือ ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม/เม็ด ทำให้พบปัญหาเลือดกะปริบกะปรอยได้ง่ายหากรับประทานยาคุมไม่ตรงเวลา ส่วนอีฟรา เนื่องจากมีการปลดปล่อยยาออกมาเท่า ๆ กันในแต่ละวัน ทำให้ระดับฮอร์โมนค่อนข้างคงที่สม่ำเสมอ จึงไม่ค่อยพบการเกิดเลือดออกกะปริบกะปรอยค่ะ

    แต่ผู้ที่ใช้อีฟราอาจรู้สึกระคายเคืองหรือคันเล็กน้อยบริเวณที่ติดแผ่นยาได้นะคะ ซึ่งควรมีการติดบริเวณใหม่เสมอเมื่อเปลี่ยนแผ่นตามกำหนด เพื่อลดการระคายเคืองดังกล่าว 

    อย่างไรก็ตาม การที่ทั้งเมอซิลอนและอีฟรามีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ทำให้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ที่มีข้อจำกัดหรือทนผลข้างเคียงจากเอสโตรเจนไม่ได้เช่นเดียวกันค่ะ

    เมื่อเปรียบเทียบแล้ว จึงถือว่าผลข้างเคียงจากเมอซิลอนและอีฟราไม่แตกต่างกันมากนะคะ จึงขอตัดสินให้เสมอกันไปอีกเช่นเคย

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  4. ราคา

    แผงละ 155 – 185 บาท

    กล่องละ 450 – 580 บาท

    เห็นความต่างของราคาขนาดนี้ ไม่ต้องเสียเวลาคิด ก็รู้ตัวเลือกไหนไม่เป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์ค่ะ (ฮ่า) ยกนี้ตัดสินให้เมอซิลอนเหนือกว่าอีฟราในแง่ของราคาที่น่าคบนะคะ (ฮ่า)

    แม้จะดูว่าอีฟรามีความสะดวกในการใช้มากกว่า แต่เมื่อพิจารณาในด้านราคาที่สูงกว่ากันมาก นั่นคือคิดเป็น 3 เท่าของเมอซิลอน อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อีฟราไม่เป็นที่นิยมเท่ากับการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด

    อย่างไรก็ตามการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาลืมรับประทานยาคุมบ่อย ๆ และต้องการใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเพื่อให้มีประจำเดือนมาตามรอบปกติ มีประสิทธิภาพและผลข้างเคียงไม่แตกต่างกัน แต่สามารถบริหารยาน้อยครั้งกว่าเดิมค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Migraine and the Contraceptive Pill or the Contraceptive Patch. Patient. (https://patient.info/brain-nerves/migraine-leaflet/migraine-and-combined-hormonal-contraception)
Ortho Evra, a new contraceptive patch. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12680477)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาคุมที่ใช้แทนกันได้
ยาคุมที่ใช้แทนกันได้

ยาเม็ดคุมกำเนิดสูตรเดียวกัน มียี่ห้อใดบ้าง

อ่านเพิ่ม